วิธีช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเมื่อยามฉุกเฉิน
เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นและภาวะหยุดหายใจขึ้นแล้ว ประชาชนผู้ให้การช่วยเหลือสามารถใช้หลักการจำขั้นตอนที่สำคัญ 4 หลักการสั้นๆ
1. ประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยว่ามีสติหรือไม่ โดยการปลุกเรียกและดูการเคลื่อนไหวที่หน้าอกว่าหายใจหรือไม่
2. ขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์ฉุกเฉินตามเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ: เครื่องเออีดี (Automated External Defibrillator: AED)
3. ปฏิบัติตามขั้นตอน
- การช่วยกดหน้าอก
- การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
- การช่วยหายใจ
4. การช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติโดยใช้เครื่องเออีดี
ทั้ง 4 หลักการที่สำคัญนี้ มีขั้นตอนย่อยๆ ที่สามารถทำให้การปฏิบัติการช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
ขั้นที่ 1 เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่
ควรมองดูสภาพรอบตัวที่ผู้หมดสติว่าบริเวณนั้นปลอดภัยก่อน แล้วจึงเข้าไปยังข้างตัวผู้หมดสติ ทำการกระตุ้นโดยการตบแรงๆ ที่บริเวณไหล่ทั้งสองข้างของผุ้หมดสติ พร้อมกับตะโกนถามว่า “คุณๆ..เป็นอย่างไรบ้าง?”
ขั้นที่ 2 เรียกหาความช่วยเหลือ หากหมดสติ หรือหายใจเฮือก (เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ไม่ใช่หายใจตามปกติ) ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นและขอให้คนใดคนหนึ่งโทรศัพท์หมายเลข 1669 ซึ่งสามารถเรียกรถพยาบาลได้ทุกจังหวัด หรืออาจเรียกรถพยาบาล หรือทีมงานของโรงพยาบาลที่เคยใช้อยู่ประจำก็ได้
หมายเหตุ - ผู้ที่ทำหน้าที่โทรศัพท์เรียกรถพยาบาลต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนดังนี้ เหตุเกิดที่ไหน (ชื่อบริษัท ชื่อหมู่บ้าน ชื่อถนน ชื่อซอย ใกล้กับสถานที่สำคัญ) หมายเลขโทรศัพท์ที่กำลังใช้พูดอยู่ เกิดอะไรขึ้น (อุบัติเหตุรถยนต์ หัวใจวาย จมน้ำ) มีคนต้องการความช่วยเหลือกี่คน เช่น คนจมน้ำ 3 คน หรือ คนถูกไฟฟ้าชอร์ต 2 คน สภาพของผู้หมดสติเป็นอย่างไรบ้าง มีการให้ความช่วยเหลืออะไรอยู่บ้าง มีเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เครื่อง AED) อยู่หรือไม่ ข้อมูลอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น อย่าวางหูโทรศัพท์ ให้แจ้งเบอร์โทรกลับและทบทวนให้ถูกต้องก่อน หรือเปิดลำโพงเสียง (speakerphone) ไว้ถ้าเป็นไปได้
- ถ้าผู้หมดสติเป็นผู้ใหญ่ ให้โทรศัพท์เรียกความช่วยเหลือทันทีก่อนลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต (Phone first) เพราะผู้ใหญ่ที่หมดสติมักเกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว (VF, ventricular fibrillation) ซึ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดหากได้รับการช็อกไฟฟ้าจากทีมงานช่วยชีวิตขั้นสูงโดยเร็ว (3-5 นาที)
- ถ้าผู้หมดสติเป็นเด็ก หากท่านอยู่ในเหตุการณ์เพียงคนเดียว ให้ลงมือช่วยชีวิตก่อนแล้วค่อยไปโทรศัพท์ภายหลัง (CPR first) เพราะสาเหตุการหมดสติในเด็กมักเกิดจากทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ซึ่งแก้ไขได้โดยการลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อนโดยการดหน้าอก 30 ครั้ง และการช่วยหายใจ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที (5 รอบ) แล้วจึงละจากผู้ป่วยไปโทรศัพท์ ขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นกรณีที่รู้แน่ชัดอยู่ก่อนแล้วว่าเด็กผู้หมดสติเป็นโรคหัวใจ หรือมีผู้ช่วยเหลือมากกว่า 1 คน ควรรีบโทรศัพท์ก่อนเพราะผู้หมดสติจะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าถ้าได้รับการรีบช็อกไฟฟ้า - การติดต่อขอความช่วยเหลือ ควรมีเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อ เช่น เบอร์โรงพยาบาล เบอร์สถานีตำรวจ และเบอร์ที่จำเป็นไว้ข้างๆโทรศัพท์ มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือไม่ทันต่อเหตุการณ์จึงควรโทรขอความช่วยเหลือ เช่น ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อย หายใจไม่ออก แขนขาอ่อนแรง ซึงท่านไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรในกรณีฉุกเฉินนั้น ควรขอความช่วยเหลือทันที
ขั้นที่ 3 จัดท่าให้พร้อมสำหรับการช่วยชีวิต จัดท่าให้ผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนสองข้างเหยียดอย่างลำตัว
ขั้นที่ 4 การหาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก
4.1 กรณีผู้ใหญ่ ถ้ามีผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกายให้ถือว่า หัวใจหยุดเต้นไม่มีสัญญาณชีพต้องช่วยกดหน้าอกทันที ให้หาตำแหน่งการวางมือที่ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกเพื่อกดหน้าอก โดยใช้ส้นมือข้างหนึ่งวางบนบริเวณครึ่งล่างกระดูกหน้าอก แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งวางทาบหรือปะสานไปบนมือแรก
4.2 กรณีเด็ก (ยังไม่เป็นวัยรุ่น) วางส้นมือของมือหนึ่งไว้บนครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ใช้มือเดียว หรือใช้สองมือ ขึ้นอยู่กับรูปร่างเด็ก ตัวเล็กหรือตัวโต)
4.3 กรณีทารก (อายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี) กดหน้าอกด้วยนิ้วมือสองนิ้ว ที่กึ่งกลางหน้าอกเด็ก โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง หรือใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกดหน้าอก
ขั้นที่ 5 การกดหน้าอก 30 ครั้ง การกดหน้าอกเป็นการทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตคงอยู่ได้แม้หัวใจจะหยุดเต้น สามารถทำได้โดย กดหน้าอกแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 30 ครั้งให้ได้ความถี่ของการกด 100-120 ครั้งต่อนาที โดยนับ “หนึ่ง และสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด และแปด และเก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่..สิบเก้า ยี่สิบ ยีบเอ็ด ยีบสอง ยีบสาม..ยีบเก้า สามสิบ” ให้ฝึกนับและจับเวลา หนึ่งและสองและสามไปจนถึงสามสิบ จะใช้เวลา 15-18 วินาที จึงจะได้ความเร็วในการกด 100-120 วินาที
เทคนิคในการกดหน้าอก
1. วางมือบนลงตำแหน่งที่ถูกต้อง ระวังอย่ากดลงบนกระดูกซี่โครง เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหัก
2. แขนเหยียดตรงอย่างอแขนโน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ โดยทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก
3. กรณีผู้ใหญ่ กดหน้าอกให้ยุบลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. (แต่ไม่ควรเกิน 2.4 นิ้ว หรือ 6 ซม.)
4. กรณีเด็ก กดหน้าอกให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือ 2 นิ้ว (5 ซม.)
5. กรณีทารก กดหน้าอกให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือ 1.5 นิ้ว (4 ซม.)
6. ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือขึ้นมาให้สุด เพื่อให้หน้าอกคืนตัวกลับมาสู่ตำแหน่งปกติก่อนแล้วจึงทำการกดครั้งต่อไป อย่ากดทิ้งน้ำหนักไว้เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ ห้ามปล่อยจนมือหลุดจากหน้าอก เพราะจะทำให้ตำแหน่งของมือเปลี่ยนไป
7. การกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพต้อง กดลึก ปล่อยสุด อย่าหยุด กดบ่อย
ขั้นที่ 6 เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินหายใจ การเปิดทางเดินหายใจทำโดยวิธีดันหน้าผากและยกคาง โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผากลง นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งยกคางขึ้นไป ใช้นิ้วมือยกเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่างโดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คางให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้น
ขั้นที่ 7 ช่วยหายใจ เมื่อเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจหรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้ ให้เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 วินาที และให้เห็นผนังทรวงอกขยับขึ้น วิธีช่วยหายใจแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและยกคาง ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบจมูกผู้หมดสติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าตามปกติแล้วครอบปากผู้ช่วยเหลือเข้ากับปากของผู้หมดสติ ตาชำเลืองมองหน้าอกผุ้หมดสติพร้อมกับเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติขยับขึ้น เป่านาน 1 วินาที แล้วถอนปากออก ให้ลมหายใจของผู้หมดสติผ่านกลับออกมาทางปาก ถ้าเป่าลมเข้าปอดครั้งแรกแล้วทรวงอกไม่ขยับขึ้น (ลมไม่เข้าปอด) ให้จัดท่าโดย ทำการดันหน้าผาก ยกคางขึ้นใหม่ (พยายามเปิดทางเดินหายใจให้โล่งที่สุด) ก่อนจะทำการเป่าลมเข้าปอดครั้งต่อไป
การช่วยชีวิตเด็กและทารก มีประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากการช่วยชีวิตในผู้ใหญ่บางประการ คือ ในกรณีที่ปากเด็กเล็กมาก การเป่าปากควรอ้าปากให้ครอบทั้งปากและจมูกของเด็กและทารก
ขั้นที่ 8 กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง เมื่อผ่านขั้นตอนการช่วยเหลือมาตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 8 แล้ว ผู้หมดสติจะได้รับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 30 ครั้ง (นับเป็น 1 รอบ) ให้ทำต่อไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ไอ หรือหายใจ หรือเครื่องเออีดีมาถึง หรือมีบุคลากรทางการแพทย์รับช่วงต่อไป ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการเป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้ ให้ทำการช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกอย่างเดียว
ขั้นที่ 9 การจัดท่าให้อยู่ในท่าพักฟื้น ถ้าผู้หมดสติรู้ตัว หรือหายใจเองได้แล้ว ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าพักฟื้น โดยจัดให้นอนตะแคงเอามือของแขนด้านบนมารองแก้มไม่ให้คว่ำหน้ามากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักหรือลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจ
หมายเหตุ ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของศีรษะ หรือคอ ไม่ควรขยับหรือจัดท่าใด ๆ
ขั้นตอนสำคัญ 4 ประการของการใช้เครื่องเออีดี
1. เปิดเครื่อง ในเครื่องเออีดีบางรุ่น ท่านต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง ในขณะที่เครื่องบางรุ่นจะทำงานทันทีที่เปิดฝาครอบออก เมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงบอกให้รู้ว่าท่านต้องทำอย่างไรต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
2. ติดแผ่นนำไฟฟ้า โดยติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่น เข้ากับหน้าอกของผู้ป่วยให้เรียบร้อย (ในกรณี (กระเป๋าเออีดีอยู่แล้ว)ต้องให้แน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกน้ำ แผ่นนำไฟฟ้าของเครื่องเออีดีต้องติดแนบสนิทกับหน้าอกจริงๆ ตำแหน่งติดแผ่นนำไฟฟ้าดูตามรูปที่แสดงไว้ เครื่องบางรุ่นมีรูปแสดงที่ตัวนำแผ่นไฟฟ้า บางรุ่นก็มีรูปแสดงที่ตัวเครื่อง
3. ให้เครื่องเออีดีวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยโดยเด็ดขาด ให้ท่านร้องเตือนดังๆ ว่า “เครื่องกำลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย” เครื่องเออีดีส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ติดแผ่นนำไฟฟ้าเสร็จ เครื่องบางรุ่นต้องให้กดปุ่ม “ANALYZE” ก่อน
4. ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย ถ้าเครื่องเออีดีพบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้เรากดปุ่ม “SHOCK” และก่อนที่เราจะกดปุ่ม “SHOCK” ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสถูกตัวของผู้ป่วย ร้องบอกดังๆ ว่า “ผมถอย คุณถอย และทุกคนถอย” ให้มองซ้ำอีกครั้งเป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้าย ก่อนกดปุ่ม “SHOCK”
หลังจากเครื่องเออีดี บอกว่าปลอดภัยที่จะสัมผัสผู้ป่วยได้แล้วให้ทำการกดหน้าอกต่อทันที หรือหากเครื่องเออีดีมีปัญหาในการทำงาน ให้ทำการกดหน้าอกต่อไปจนกว่าเครื่องจะพร้อมใช้งาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
ขั้นที่ 1 เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่
ควรมองดูสภาพรอบตัวที่ผู้หมดสติว่าบริเวณนั้นปลอดภัยก่อน แล้วจึงเข้าไปยังข้างตัวผู้หมดสติ ทำการกระตุ้นโดยการตบแรงๆ ที่บริเวณไหล่ทั้งสองข้างของผุ้หมดสติ พร้อมกับตะโกนถามว่า “คุณๆ..เป็นอย่างไรบ้าง?”
ขั้นที่ 2 เรียกหาความช่วยเหลือ หากหมดสติ หรือหายใจเฮือก (เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ไม่ใช่หายใจตามปกติ) ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นและขอให้คนใดคนหนึ่งโทรศัพท์หมายเลข 1669 ซึ่งสามารถเรียกรถพยาบาลได้ทุกจังหวัด หรืออาจเรียกรถพยาบาล หรือทีมงานของโรงพยาบาลที่เคยใช้อยู่ประจำก็ได้
หมายเหตุ - ผู้ที่ทำหน้าที่โทรศัพท์เรียกรถพยาบาลต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนดังนี้ เหตุเกิดที่ไหน (ชื่อบริษัท ชื่อหมู่บ้าน ชื่อถนน ชื่อซอย ใกล้กับสถานที่สำคัญ) หมายเลขโทรศัพท์ที่กำลังใช้พูดอยู่ เกิดอะไรขึ้น (อุบัติเหตุรถยนต์ หัวใจวาย จมน้ำ) มีคนต้องการความช่วยเหลือกี่คน เช่น คนจมน้ำ 3 คน หรือ คนถูกไฟฟ้าชอร์ต 2 คน สภาพของผู้หมดสติเป็นอย่างไรบ้าง มีการให้ความช่วยเหลืออะไรอยู่บ้าง มีเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เครื่อง AED) อยู่หรือไม่ ข้อมูลอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น อย่าวางหูโทรศัพท์ ให้แจ้งเบอร์โทรกลับและทบทวนให้ถูกต้องก่อน หรือเปิดลำโพงเสียง (speakerphone) ไว้ถ้าเป็นไปได้
- ถ้าผู้หมดสติเป็นผู้ใหญ่ ให้โทรศัพท์เรียกความช่วยเหลือทันทีก่อนลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต (Phone first) เพราะผู้ใหญ่ที่หมดสติมักเกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว (VF, ventricular fibrillation) ซึ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดหากได้รับการช็อกไฟฟ้าจากทีมงานช่วยชีวิตขั้นสูงโดยเร็ว (3-5 นาที)
- ถ้าผู้หมดสติเป็นเด็ก หากท่านอยู่ในเหตุการณ์เพียงคนเดียว ให้ลงมือช่วยชีวิตก่อนแล้วค่อยไปโทรศัพท์ภายหลัง (CPR first) เพราะสาเหตุการหมดสติในเด็กมักเกิดจากทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ซึ่งแก้ไขได้โดยการลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อนโดยการดหน้าอก 30 ครั้ง และการช่วยหายใจ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที (5 รอบ) แล้วจึงละจากผู้ป่วยไปโทรศัพท์ ขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นกรณีที่รู้แน่ชัดอยู่ก่อนแล้วว่าเด็กผู้หมดสติเป็นโรคหัวใจ หรือมีผู้ช่วยเหลือมากกว่า 1 คน ควรรีบโทรศัพท์ก่อนเพราะผู้หมดสติจะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าถ้าได้รับการรีบช็อกไฟฟ้า - การติดต่อขอความช่วยเหลือ ควรมีเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อ เช่น เบอร์โรงพยาบาล เบอร์สถานีตำรวจ และเบอร์ที่จำเป็นไว้ข้างๆโทรศัพท์ มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือไม่ทันต่อเหตุการณ์จึงควรโทรขอความช่วยเหลือ เช่น ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อย หายใจไม่ออก แขนขาอ่อนแรง ซึงท่านไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรในกรณีฉุกเฉินนั้น ควรขอความช่วยเหลือทันที
ขั้นที่ 3 จัดท่าให้พร้อมสำหรับการช่วยชีวิต จัดท่าให้ผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนสองข้างเหยียดอย่างลำตัว
ขั้นที่ 4 การหาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก
4.1 กรณีผู้ใหญ่ ถ้ามีผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกายให้ถือว่า หัวใจหยุดเต้นไม่มีสัญญาณชีพต้องช่วยกดหน้าอกทันที ให้หาตำแหน่งการวางมือที่ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกเพื่อกดหน้าอก โดยใช้ส้นมือข้างหนึ่งวางบนบริเวณครึ่งล่างกระดูกหน้าอก แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งวางทาบหรือปะสานไปบนมือแรก
4.2 กรณีเด็ก (ยังไม่เป็นวัยรุ่น) วางส้นมือของมือหนึ่งไว้บนครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ใช้มือเดียว หรือใช้สองมือ ขึ้นอยู่กับรูปร่างเด็ก ตัวเล็กหรือตัวโต)
4.3 กรณีทารก (อายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี) กดหน้าอกด้วยนิ้วมือสองนิ้ว ที่กึ่งกลางหน้าอกเด็ก โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง หรือใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกดหน้าอก
ขั้นที่ 5 การกดหน้าอก 30 ครั้ง การกดหน้าอกเป็นการทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตคงอยู่ได้แม้หัวใจจะหยุดเต้น สามารถทำได้โดย กดหน้าอกแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 30 ครั้งให้ได้ความถี่ของการกด 100-120 ครั้งต่อนาที โดยนับ “หนึ่ง และสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด และแปด และเก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่..สิบเก้า ยี่สิบ ยีบเอ็ด ยีบสอง ยีบสาม..ยีบเก้า สามสิบ” ให้ฝึกนับและจับเวลา หนึ่งและสองและสามไปจนถึงสามสิบ จะใช้เวลา 15-18 วินาที จึงจะได้ความเร็วในการกด 100-120 วินาที
เทคนิคในการกดหน้าอก
1. วางมือบนลงตำแหน่งที่ถูกต้อง ระวังอย่ากดลงบนกระดูกซี่โครง เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหัก
2. แขนเหยียดตรงอย่างอแขนโน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ โดยทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก
3. กรณีผู้ใหญ่ กดหน้าอกให้ยุบลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. (แต่ไม่ควรเกิน 2.4 นิ้ว หรือ 6 ซม.)
4. กรณีเด็ก กดหน้าอกให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือ 2 นิ้ว (5 ซม.)
5. กรณีทารก กดหน้าอกให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือ 1.5 นิ้ว (4 ซม.)
6. ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือขึ้นมาให้สุด เพื่อให้หน้าอกคืนตัวกลับมาสู่ตำแหน่งปกติก่อนแล้วจึงทำการกดครั้งต่อไป อย่ากดทิ้งน้ำหนักไว้เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ ห้ามปล่อยจนมือหลุดจากหน้าอก เพราะจะทำให้ตำแหน่งของมือเปลี่ยนไป
7. การกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพต้อง กดลึก ปล่อยสุด อย่าหยุด กดบ่อย
ขั้นที่ 6 เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินหายใจ การเปิดทางเดินหายใจทำโดยวิธีดันหน้าผากและยกคาง โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผากลง นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งยกคางขึ้นไป ใช้นิ้วมือยกเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่างโดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คางให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้น
ขั้นที่ 7 ช่วยหายใจ เมื่อเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจหรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้ ให้เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 วินาที และให้เห็นผนังทรวงอกขยับขึ้น วิธีช่วยหายใจแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและยกคาง ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบจมูกผู้หมดสติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าตามปกติแล้วครอบปากผู้ช่วยเหลือเข้ากับปากของผู้หมดสติ ตาชำเลืองมองหน้าอกผุ้หมดสติพร้อมกับเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติขยับขึ้น เป่านาน 1 วินาที แล้วถอนปากออก ให้ลมหายใจของผู้หมดสติผ่านกลับออกมาทางปาก ถ้าเป่าลมเข้าปอดครั้งแรกแล้วทรวงอกไม่ขยับขึ้น (ลมไม่เข้าปอด) ให้จัดท่าโดย ทำการดันหน้าผาก ยกคางขึ้นใหม่ (พยายามเปิดทางเดินหายใจให้โล่งที่สุด) ก่อนจะทำการเป่าลมเข้าปอดครั้งต่อไป
การช่วยชีวิตเด็กและทารก มีประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากการช่วยชีวิตในผู้ใหญ่บางประการ คือ ในกรณีที่ปากเด็กเล็กมาก การเป่าปากควรอ้าปากให้ครอบทั้งปากและจมูกของเด็กและทารก
ขั้นที่ 8 กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง เมื่อผ่านขั้นตอนการช่วยเหลือมาตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 8 แล้ว ผู้หมดสติจะได้รับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 30 ครั้ง (นับเป็น 1 รอบ) ให้ทำต่อไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ไอ หรือหายใจ หรือเครื่องเออีดีมาถึง หรือมีบุคลากรทางการแพทย์รับช่วงต่อไป ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการเป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้ ให้ทำการช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกอย่างเดียว
ขั้นที่ 9 การจัดท่าให้อยู่ในท่าพักฟื้น ถ้าผู้หมดสติรู้ตัว หรือหายใจเองได้แล้ว ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าพักฟื้น โดยจัดให้นอนตะแคงเอามือของแขนด้านบนมารองแก้มไม่ให้คว่ำหน้ามากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักหรือลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจ
หมายเหตุ ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของศีรษะ หรือคอ ไม่ควรขยับหรือจัดท่าใด ๆ
ขั้นตอนสำคัญ 4 ประการของการใช้เครื่องเออีดี
1. เปิดเครื่อง ในเครื่องเออีดีบางรุ่น ท่านต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง ในขณะที่เครื่องบางรุ่นจะทำงานทันทีที่เปิดฝาครอบออก เมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงบอกให้รู้ว่าท่านต้องทำอย่างไรต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
2. ติดแผ่นนำไฟฟ้า โดยติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่น เข้ากับหน้าอกของผู้ป่วยให้เรียบร้อย (ในกรณี (กระเป๋าเออีดีอยู่แล้ว)ต้องให้แน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกน้ำ แผ่นนำไฟฟ้าของเครื่องเออีดีต้องติดแนบสนิทกับหน้าอกจริงๆ ตำแหน่งติดแผ่นนำไฟฟ้าดูตามรูปที่แสดงไว้ เครื่องบางรุ่นมีรูปแสดงที่ตัวนำแผ่นไฟฟ้า บางรุ่นก็มีรูปแสดงที่ตัวเครื่อง
3. ให้เครื่องเออีดีวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยโดยเด็ดขาด ให้ท่านร้องเตือนดังๆ ว่า “เครื่องกำลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย” เครื่องเออีดีส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ติดแผ่นนำไฟฟ้าเสร็จ เครื่องบางรุ่นต้องให้กดปุ่ม “ANALYZE” ก่อน
4. ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย ถ้าเครื่องเออีดีพบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้เรากดปุ่ม “SHOCK” และก่อนที่เราจะกดปุ่ม “SHOCK” ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสถูกตัวของผู้ป่วย ร้องบอกดังๆ ว่า “ผมถอย คุณถอย และทุกคนถอย” ให้มองซ้ำอีกครั้งเป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้าย ก่อนกดปุ่ม “SHOCK”
หลังจากเครื่องเออีดี บอกว่าปลอดภัยที่จะสัมผัสผู้ป่วยได้แล้วให้ทำการกดหน้าอกต่อทันที หรือหากเครื่องเออีดีมีปัญหาในการทำงาน ให้ทำการกดหน้าอกต่อไปจนกว่าเครื่องจะพร้อมใช้งาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 08/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
นพ. สรายุทธ วิบูลชุติกุล
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคหัวใจ