ทำความรู้จักมะเร็งซาร์โคมา
มะเร็งซาร์โคมา (Sarcomas) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่ออ่อน (กล้ามเนื้อ ไขมัน เส้นประสาท เส้นเลือด) และมะเร็งที่เกิดภายในกระดูก ซาร์โคมาเป็นมะเร็งที่เจอไม่บ่อย แต่มีความอันตรายรุนแรง หากปล่อยทิ้งไว้สามารถลุกลามไปอวัยวะอื่นได้
สาเหตุ
เกิดจากเซลล์ในร่างกายแบ่งตัวผิดปกติอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดเป็นก้อนมะเร็งที่โตขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาที่คาดว่าการได้รับสารเคมีบางชนิดรวมถึงรังสีในปริมาณสูง และความผิดปกติทางพันธุกรรม อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกตินี้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
อาการ
หากเป็นมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue Sarcoma) ผู้ป่วยจะคลำพบก้อน แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ จึงอาจละเลยปล่อยทิ้งไว้จนก้อนขนาดใหญ่แล้วค่อยมาพบแพทย์ แต่หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งกระดูก (Bone Sarcoma) ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด
การประเมินโดยแพทย์
ส่วนใหญ่ก้อนเนื้องอกมักจะเป็นชนิดไม่ร้าย (Benign) มากกว่ามะเร็ง (Malignant) อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดกระดูก หรือก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเลือด เอกซเรย์ CT scan MRI และผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)
การดูแลด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team)
เนื่องจากโรคมะเร็งซาร์โคมามีความซับซ้อน การรักษาจำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาเพื่อร่วมมือรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์รังสีวิทยา ศัลยแพทย์เส้นเลือดและตกแต่ง อายุรแพทย์ด้านมะเร็ง แพทย์รังสีรักษา และพยาธิแพทย์
การรักษา
การผ่าตัดด้วยเทคนิคเฉพาะ (Wide Resection) ที่นำเนื้องอกออกทั้งหมดโดยไม่มีเซลล์มะเร็งปนเปื้อนเป็นสิ่งสำคัญต่อผลลัพธ์การรักษา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัด และฉายรังสีรักษาร่วมด้วย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมา
การติดตามอาการ
มะเร็งซาร์โคมาแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะและตอบสนองต่อการรักษาแตกต่างกัน หลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องมาพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ เพื่อประเมินการกลับมาของเนื้องอกบริเวณที่ผ่าตัดไป (Local Recurrence) และประเมินว่ามีการแพร่กระจายของตัวโรคไปอวัยวะอื่น (Metastasis) หรือไม่ เช่น ปอด ตับ
หากพบก้อนผิดปกติตามตัว หรือมีอาการปวดที่กระดูก สามารถมาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวิเคราะห์ หากตรวจพบมะเร็งซาร์โคมาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ยังไม่แพร่กระจาย การรักษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดี น่าพอใจและมีโอกาสหายขาดเหมือนคนปกติได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
สาเหตุ
เกิดจากเซลล์ในร่างกายแบ่งตัวผิดปกติอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดเป็นก้อนมะเร็งที่โตขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาที่คาดว่าการได้รับสารเคมีบางชนิดรวมถึงรังสีในปริมาณสูง และความผิดปกติทางพันธุกรรม อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกตินี้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
อาการ
หากเป็นมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue Sarcoma) ผู้ป่วยจะคลำพบก้อน แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ จึงอาจละเลยปล่อยทิ้งไว้จนก้อนขนาดใหญ่แล้วค่อยมาพบแพทย์ แต่หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งกระดูก (Bone Sarcoma) ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด
การประเมินโดยแพทย์
ส่วนใหญ่ก้อนเนื้องอกมักจะเป็นชนิดไม่ร้าย (Benign) มากกว่ามะเร็ง (Malignant) อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดกระดูก หรือก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเลือด เอกซเรย์ CT scan MRI และผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)
การดูแลด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team)
เนื่องจากโรคมะเร็งซาร์โคมามีความซับซ้อน การรักษาจำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาเพื่อร่วมมือรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์รังสีวิทยา ศัลยแพทย์เส้นเลือดและตกแต่ง อายุรแพทย์ด้านมะเร็ง แพทย์รังสีรักษา และพยาธิแพทย์
การรักษา
การผ่าตัดด้วยเทคนิคเฉพาะ (Wide Resection) ที่นำเนื้องอกออกทั้งหมดโดยไม่มีเซลล์มะเร็งปนเปื้อนเป็นสิ่งสำคัญต่อผลลัพธ์การรักษา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัด และฉายรังสีรักษาร่วมด้วย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมา
การติดตามอาการ
มะเร็งซาร์โคมาแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะและตอบสนองต่อการรักษาแตกต่างกัน หลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องมาพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ เพื่อประเมินการกลับมาของเนื้องอกบริเวณที่ผ่าตัดไป (Local Recurrence) และประเมินว่ามีการแพร่กระจายของตัวโรคไปอวัยวะอื่น (Metastasis) หรือไม่ เช่น ปอด ตับ
หากพบก้อนผิดปกติตามตัว หรือมีอาการปวดที่กระดูก สามารถมาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวิเคราะห์ หากตรวจพบมะเร็งซาร์โคมาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ยังไม่แพร่กระจาย การรักษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดี น่าพอใจและมีโอกาสหายขาดเหมือนคนปกติได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 10/02/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. สุทธิพัฒน์ ไพโรจน์บริบูรณ์

ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยแพทย์ทางด้านโรคกระดูกและข้อ