“เศร้า”...ปกติ แค่เข้า(ถึง)ใจ
ห้วงเวลาแห่งความโศกเศร้าของคนไทย นับจากวันที่ได้ทราบข่าวการเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้พสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศและที่อยู่ในต่างแดนยังตกอยู่ในอารมณ์ที่หม่นหมอง ซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
“เนื่องจากพระองค์ท่านทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ จึงเป็นสภาวะปกติที่คนไทยจะมีความรู้สึกเศร้า ทุกคนต่างมีความรัก ความผูกพันและจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านมาเป็นเวลายาวนาน การร้องไห้ และการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น การมารวมตัวกันเฝ้าส่งเสด็จในการเคลื่อนพระบรมศพ การทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เป็นการแสดงความรู้สึกภายในของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าบรรยากาศจะมีส่วนเหนี่ยวนำให้รู้สึกเศร้าเพิ่มมากขึ้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีการระบายความเสียใจ ความคิดถึง หรือความเครียดที่อยู่ในใจออกมาได้อีกทางหนึ่ง” พญ. เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม จิตแพทย์โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กล่าว
ปกติมนุษย์จะมีกระบวนการตอบสนองทางจิตใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อยู่ในห้วงเวลา 3 เดือน หรือประมาณ 100 วัน โดยทฤษฎีของ Dr. Elisabeth Kubler-Ross และนักจิตวิทยาอีกหลายท่านได้สรุปถึงขั้นตอนการตอบสนองต่อการสูญเสียไว้ 5 ขั้นตอนของช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่
เมื่อผู้สูญเสียเข้าสู่ขั้นตอนการยอมรับการสูญเสีย สามารถอยู่กับปัจจุบัน ใช้ชีวิตประจำวัน ปรับตัวอย่างมีสติ มีสุขตามอัตภาพ และมองโลกตามความเป็นจริงได้แล้วนั้น ก็นับได้ว่าผู้สูญเสียได้เกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความสูญเสียครั้งนั้นได้อย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้าม หากยังไม่สามารถปรับตัวกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ให้สังเกตอาการที่อาจพัฒนาไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิต อย่างเช่น มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ไปทำงานไม่ได้ มีความรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ ไม่อยากอยู่ร่วมสังคมกับคนอื่นๆ มีความรู้สึกอยากตาย ที่อาจจะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อหาทางป้องกันและรักษาต่อไป นอกจากนี้ คุณหมอยังได้แนะแนวคิดให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับห้วงเวลาแห่งความสูญเสียนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยสติ ดังนี้
สำหรับผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยทางจิตอยู่เดิม จำเป็นต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษในช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้านี้ เนื่องจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะมีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ และยังรวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ที่ต้องระวังไม่ให้มีเรื่องมากระทบจิตใจหรือความเครียด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพทางกายได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์โศกเศร้ามากระทบจิตใจ ทุกคนสามารถปรับความคิด มองโลกในแง่ดีและให้กำลังใจกันและกัน การร่วมสานต่อพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อจากนี้ไปก็เป็นอีกวิธีที่จะเปลี่ยนความเศร้าเป็นพลังได้ ดังพระบรมราโชวาท ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2513 ดังความว่า “ถ้าถูกแดดถูกฝน อนามัยแข็งแรงก็ไม่เป็นอะไร ทำให้แข็งแกร่ง จิตใจก็เหมือนกัน เมื่อประสบอุปสรรคและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เราก็ขุ่นหมอง แต่ถ้าจิตใจเราแข็งแรง แข็งแกร่งดี อุปสรรคนั้นจะทำให้สามารถที่จะทำให้มีอำนาจจิตดีขึ้น มีกำลังใจมากขึ้น สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจ ไม่เป็นผลร้ายต่อตัวเรา กลับทำให้เราแข็งแกร่ง แข็งแรง”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
- การตกใจรุนแรง (shock) และปฏิเสธ (denial) มีอาการชา ขาดความรู้สึกไปชั่วขณะ รู้สึกตัวเองไม่ใช่ตัวเอง และไม่สามารถที่จะตั้งสติเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ อาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะเวลาสั้นๆ ภายใน 24 ชั่วโมง ก็จะเริ่มดีขึ้นหรือแย่ลงขึ้นอยู่กับว่าการสูญเสียนั้นว่าจะมากน้อยขนาดไหน
- โกรธ (anger) “ทำไมต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับตนเอง” “ทำไมไม่เกิดกับคนอื่น” พยายามโทษว่าเป็นความผิดของคนใดคนหนึ่ง เช่น หมอตรวจผิดหรือไม่ มีคนอื่นทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้ รวมถึงการกล่าวโทษสิ่งที่ไม่แน่ใจว่ามีจริงหรือไม่ เช่น พระเจ้าหรือสวรรค์ และที่พบได้บ่อยก็คือความโกรธต่อตนเอง ความโกรธดังกล่าวมิใช่เรื่องที่มองว่าไม่ดีหรือน่าตำหนิ หากเป็นเพียงปฏิกิริยาของมนุษย์ทั่วไปที่พึงจะรู้สึกได้เมื่อเกิดเหตุการณ์การสูญเสียเท่านั้น
- ต่อรอง (bargaining) เพื่อปลอบใจในการที่ยังไม่สามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เช่น ยังไม่สมควรที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ขอให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปก่อนจะได้หรือไม่ รวมถึงการพยายามหาที่ย้ำความมั่นใจที่ใหม่ เช่น กรณีที่คิดว่าหมอวินิจฉัยผิด หรือรักษาไม่ดี ในความเป็นจริงการสูญเสียดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขหรือหาอะไรมาทดแทนได้ เนื่องจากต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรมของโลกมนุษย์
- ซึมเศร้า (depression) เกิดขึ้นเนื่องจากคิดว่าไม่สามารถจัดการแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้แล้ว สิ้นหวังต่อปัญหา ซึ่งเป็นความรู้สึกปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ และยังไม่ถือว่าเป็นความเจ็บป่วยแต่อย่างใด แต่ให้พึงระวังไว้ว่าอาจจะเป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการที่ผู้เสียใจจะกระทำการใดๆ อันเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น เช่น การทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- ยอมรับ (acceptance) เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกและอารมณ์เศร้าคลี่คลาย รวมถึงสติค่อยๆ ฟื้นกลับมา ร่วมกับการได้รับข้อมูลที่ทำให้ทราบว่าอย่างไรเสียก็คงไม่สามารถจะแก้ไขการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้แล้ว การยอมรับจะค่อยๆเกิดขึ้นในที่สุด กระบวนการที่เกิดขึ้นทั้ง 5 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นอกจากจะเป็นการอธิบายกระบวนการสูญเสียต่อบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว ทุกคนยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการสูญเสียอื่นๆ เช่น สิ่งของอันเป็นที่รัก ความสัมพันธ์ต่อบุคคล หน้าที่การงาน ชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง สุขภาพร่างกาย หรือแม้แต่คุณสมบัติภายใน และภาพลักษณ์ของตนเอง
เมื่อผู้สูญเสียเข้าสู่ขั้นตอนการยอมรับการสูญเสีย สามารถอยู่กับปัจจุบัน ใช้ชีวิตประจำวัน ปรับตัวอย่างมีสติ มีสุขตามอัตภาพ และมองโลกตามความเป็นจริงได้แล้วนั้น ก็นับได้ว่าผู้สูญเสียได้เกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความสูญเสียครั้งนั้นได้อย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้าม หากยังไม่สามารถปรับตัวกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ให้สังเกตอาการที่อาจพัฒนาไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิต อย่างเช่น มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ไปทำงานไม่ได้ มีความรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ ไม่อยากอยู่ร่วมสังคมกับคนอื่นๆ มีความรู้สึกอยากตาย ที่อาจจะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อหาทางป้องกันและรักษาต่อไป นอกจากนี้ คุณหมอยังได้แนะแนวคิดให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับห้วงเวลาแห่งความสูญเสียนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยสติ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ทีจะกระตุ้นให้เกิดความโศกเศร้าเสียใจจนเกินไป
- ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ
- ออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย หรือหากิจกรรมอื่นๆที่ช่วยให้จิตใจสงบ และ/หรือเกิดความสุข
- เสพสื่อต่างๆ อย่างพอประมาณ และรับสื่ออย่างมีสติ
สำหรับผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยทางจิตอยู่เดิม จำเป็นต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษในช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้านี้ เนื่องจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะมีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ และยังรวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ที่ต้องระวังไม่ให้มีเรื่องมากระทบจิตใจหรือความเครียด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพทางกายได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์โศกเศร้ามากระทบจิตใจ ทุกคนสามารถปรับความคิด มองโลกในแง่ดีและให้กำลังใจกันและกัน การร่วมสานต่อพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อจากนี้ไปก็เป็นอีกวิธีที่จะเปลี่ยนความเศร้าเป็นพลังได้ ดังพระบรมราโชวาท ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2513 ดังความว่า “ถ้าถูกแดดถูกฝน อนามัยแข็งแรงก็ไม่เป็นอะไร ทำให้แข็งแกร่ง จิตใจก็เหมือนกัน เมื่อประสบอุปสรรคและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เราก็ขุ่นหมอง แต่ถ้าจิตใจเราแข็งแรง แข็งแกร่งดี อุปสรรคนั้นจะทำให้สามารถที่จะทำให้มีอำนาจจิตดีขึ้น มีกำลังใจมากขึ้น สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจ ไม่เป็นผลร้ายต่อตัวเรา กลับทำให้เราแข็งแกร่ง แข็งแรง”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพจิต
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
พญ. เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ความถนัดเฉพาะทาง
จิตเวชเด็กและวัยรุ่น