เวชศาสตร์ฟื้นฟูกับภาวะเอ็นรอบข้อไหล่อักเสบ
การใช้งานหัวไหล่ที่หนักซ้ำๆ เกินไป เป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะจากการเล่นกีฬา การยกของหนักก็ตาม อาจทำให้เกิดภาวะเอ็นรอบข้อไหล่อักเสบได้ หากมีภาวะปวดไหล่ ควรรีบปรึกษาแพทย์และรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน ก่อนจะเกิดภาวะข้อไหล่ติด
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายท่านกำลังเผชิญกับอาการปวดไหล่เรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุจากการใช้งานข้อไหล่ การยกของหนัก การเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ เช่น การหกล้มกระแทกที่ข้อไหล่ หรือการถูกกระชากแขนอย่างรุนแรง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เอ็นรอบข้อไหล่ถูกดึงยืด หรือถูกกระดูกบริเวณข้อไหล่กดเบียดซ้ำๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บข้อไหล่ โดยเฉพาะเวลายกหรือกางแขนเหนือศีรษะ มีอาการปวดหน่วงเวลากลางคืน นอนตะแคงทับไหล่ข้างที่มีอาการไม่ได้ นานไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เอ็นไหล่ฉีกขาด ภาวะข้อไหล่ติด กล้ามเนื้อบ่าสะบักต้นแขนรอบข้อไหล่ตึงอักเสบ ซึ่งจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เอี้ยวหยิบของลำบาก ถอดใส่เสื้อลำบาก มีอาการปวดเรื้อรัง
ดังนั้นหากมีภาวะปวดไหล่ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจประเมินและให้การรักษาโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะก่อนจะเกิดภาวะข้อไหล่ติด เนื่องจากจะทำให้ใช้เวลารักษานานขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลา 1-2 ปีในการฟื้นฟู
การรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่อักเสบแบบเฉียบพลัน แนะนำให้ลดการใช้งานข้อไหล่ข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงการยกหรือกางแขนเกิน 90 องศา เลี่ยงการยกแขนเหนือศีรษะ เช่น การเอื้อมหยิบของ การโหนจับราวรถเมล์ การเล่นกีฬาที่ต้องมีการเหวี่ยงแขน เช่น ว่ายน้ำ แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ห้ามยกของหนัก ห้ามหมุนแขนหรือเหวี่ยงแขนเล่น หลีกเลี่ยงการกดบีบนวดหรือดึงดัดบริเวณข้อไหล่ เพราะจะทำให้เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบมากขึ้นได้ แนะนำการประคบเย็นบริเวณข้อไหล่ครั้งละ 15 นาที อย่างน้อยสองครั้งต่อวัน การใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการควรเป็นยาระงับปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งควรรับการปรึกษาการใช้ยาที่เหมาะสมจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
หากอาการยังไม่ทุเลาภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อเข้ารับโปรแกรมกายภาพบำบัดควบคู่ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปัจจุบันมีเครื่องมือหลากหลายที่สามารถใช้ลดการอักเสบของเอ็นข้อไหล่ได้ เช่น ultrasound, high power laser, shockwave therapy การออกกำลังกายบริหารข้อไหล่ซึ่งต้องทำโดยไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำต่อข้อไหล่ ทั้งนี้ โปรแกรมกายภาพบำบัดจะถูกปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เมื่อประเมินการรักษาที่ 6-8 สัปดาห์หลังเข้ารับการกายภาพบำบัด หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำ MRI shoulder หรือการพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อไหล่ภายใต้การอัลตราซาวน์ (ultrasound guided steroid injection) เพื่อลดการอักเสบ
กล่าวโดยสรุป ภาวะเอ็นรอบข้อไหล่อักเสบ สามารถรักษาหายได้หากเข้ารับการรักษาและฟื้นฟู ไม่ควรปล่อยให้อาการปวดเป็นต่อเนื่องเรื้อรังจนเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะภาวะไหล่ติดซึ่งต้องใช้ระยะเวลาการฟื้นฟูที่นานขึ้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายท่านกำลังเผชิญกับอาการปวดไหล่เรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุจากการใช้งานข้อไหล่ การยกของหนัก การเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ เช่น การหกล้มกระแทกที่ข้อไหล่ หรือการถูกกระชากแขนอย่างรุนแรง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เอ็นรอบข้อไหล่ถูกดึงยืด หรือถูกกระดูกบริเวณข้อไหล่กดเบียดซ้ำๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บข้อไหล่ โดยเฉพาะเวลายกหรือกางแขนเหนือศีรษะ มีอาการปวดหน่วงเวลากลางคืน นอนตะแคงทับไหล่ข้างที่มีอาการไม่ได้ นานไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เอ็นไหล่ฉีกขาด ภาวะข้อไหล่ติด กล้ามเนื้อบ่าสะบักต้นแขนรอบข้อไหล่ตึงอักเสบ ซึ่งจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เอี้ยวหยิบของลำบาก ถอดใส่เสื้อลำบาก มีอาการปวดเรื้อรัง
ดังนั้นหากมีภาวะปวดไหล่ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจประเมินและให้การรักษาโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะก่อนจะเกิดภาวะข้อไหล่ติด เนื่องจากจะทำให้ใช้เวลารักษานานขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลา 1-2 ปีในการฟื้นฟู
การรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่อักเสบแบบเฉียบพลัน แนะนำให้ลดการใช้งานข้อไหล่ข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงการยกหรือกางแขนเกิน 90 องศา เลี่ยงการยกแขนเหนือศีรษะ เช่น การเอื้อมหยิบของ การโหนจับราวรถเมล์ การเล่นกีฬาที่ต้องมีการเหวี่ยงแขน เช่น ว่ายน้ำ แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ห้ามยกของหนัก ห้ามหมุนแขนหรือเหวี่ยงแขนเล่น หลีกเลี่ยงการกดบีบนวดหรือดึงดัดบริเวณข้อไหล่ เพราะจะทำให้เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบมากขึ้นได้ แนะนำการประคบเย็นบริเวณข้อไหล่ครั้งละ 15 นาที อย่างน้อยสองครั้งต่อวัน การใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการควรเป็นยาระงับปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งควรรับการปรึกษาการใช้ยาที่เหมาะสมจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
หากอาการยังไม่ทุเลาภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อเข้ารับโปรแกรมกายภาพบำบัดควบคู่ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปัจจุบันมีเครื่องมือหลากหลายที่สามารถใช้ลดการอักเสบของเอ็นข้อไหล่ได้ เช่น ultrasound, high power laser, shockwave therapy การออกกำลังกายบริหารข้อไหล่ซึ่งต้องทำโดยไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำต่อข้อไหล่ ทั้งนี้ โปรแกรมกายภาพบำบัดจะถูกปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เมื่อประเมินการรักษาที่ 6-8 สัปดาห์หลังเข้ารับการกายภาพบำบัด หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำ MRI shoulder หรือการพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อไหล่ภายใต้การอัลตราซาวน์ (ultrasound guided steroid injection) เพื่อลดการอักเสบ
กล่าวโดยสรุป ภาวะเอ็นรอบข้อไหล่อักเสบ สามารถรักษาหายได้หากเข้ารับการรักษาและฟื้นฟู ไม่ควรปล่อยให้อาการปวดเป็นต่อเนื่องเรื้อรังจนเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะภาวะไหล่ติดซึ่งต้องใช้ระยะเวลาการฟื้นฟูที่นานขึ้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 13/01/2025
แพทย์ผู้เขียน
พญ. ปวีณา ตันธรรมจาริก
ความถนัดเฉพาะทาง
เวชศาสตร์ฟื้นฟู