โรครูมาตอยด์ อย่าปล่อยทิ้งไว้
อาการปวดข้อบริเวณต่างๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า หากปวดนานเป็นสัปดาห์ อาจไม่ใช่เป็นการปวดข้อธรรมดา แต่เป็นสัญญาณเตือนจากโรครูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง ถ้าเป็นแล้วจะต้องรักษาอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องนี้มาบอกค่ะ
อาการแบบไหนน่าสงสัยโรครูมาตอยด์
หากมีอาการปวดข้อ ข้อบวม ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเป็นโรครูมาตอยด์ได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง ที่มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายข้อ และเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อย มักเป็นบริเวณข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อศอก ส่วนใหญ่มีอาการข้อติดในตอนเช้า บางรายมีอาการนอกข้อร่วมด้วย เช่น มีไข้ น้ำหนักลด ตาแห้ง ชามือหรือเท้า
4 ขั้นตอนสำคัญในการรักษา
ยาต้านอักเสบมี 2 กลุ่ม คือ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และยาสเตียรอยด์ขนาดต่ำ ๆ ยากลุ่มนี้ใช้ลดอาการปวดข้อและข้ออักเสบเป็นหลัก แต่ไม่สามารถทำให้รูมาตอยด์สงบระยะยาวได้ มักใช้คู่ไปในช่วงแรกเพื่อรอให้ยารักษารูมาตอยด์ (DMARD) ออกฤทธิ์เต็มที่
การรักษาต่อเนื่องมีความสำคัญมาก ในปัจจุบันมีกลยุทธ์การใช้ยารักษารูมาตอยด์ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะภายใน 3 เดือนหลังเริ่มต้นอาการ และผู้ป่วยติดตามการรักษาต่อเนื่อง ไม่ขาดยา มีการดูแลตนเองที่ดี ดูแลข้อได้ดี ปฎิบัติเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ จะมีโอกาสรักษาหายขาดสูงขึ้น และบางรายมีโอกาสหยุดยาในอนาคตได้
สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องคุมกำเนิดระหว่างรักษา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อพิจารณาพักยาหรือปรับยาบางตัวก่อนวางแผนตั้งครรภ์
การดูแลตนเองที่สำคัญ ได้แก่ หยุดสูบบุหรี่ การดูแลฟันและช่องปากให้สะอาด ประคบอุ่นบริเวณที่ข้ออักเสบ บำบัดออกกำลังกายข้อเบาๆ เพื่อป้องกันข้อติด พักผ่อนนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง รับประทานอาหารปรุงสุกผ่านความร้อนใหม่ๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
อาการแบบไหนน่าสงสัยโรครูมาตอยด์
หากมีอาการปวดข้อ ข้อบวม ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเป็นโรครูมาตอยด์ได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง ที่มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายข้อ และเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อย มักเป็นบริเวณข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อศอก ส่วนใหญ่มีอาการข้อติดในตอนเช้า บางรายมีอาการนอกข้อร่วมด้วย เช่น มีไข้ น้ำหนักลด ตาแห้ง ชามือหรือเท้า
4 ขั้นตอนสำคัญในการรักษา
- การวินิจฉัยโรค แนะนำให้ตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม (Rheumatologist) เพื่อซักประวัติ ตรวจข้ออย่างละเอียด ตรวจหาข้อบวม ข้อกดเจ็บ ข้อผิดรูป การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ รวมถึงอาการนอกข้อต่างๆ เช่น ตาแห้ง อาการทางปอด ผื่น โดยต้องมองหาอาการของโรคอื่นๆ ที่มีอาการมาคล้ายรูมาตอยด์ได้ และส่งตรวจเลือดเพิ่มเติมในรายที่สงสัยรูมาตอยด์ มีการตรวจค่าการอักเสบ (ESR, CRP) การตรวจพบสารรูมาตอยด์ (Rheumatoid factor) หรือ Anti-Cyclic Citrullinated Peptides (Anti-CCP) อาจส่งตรวจเอกซเรย์มือสองข้าง (กรณีเป็นมานานหลายเดือน) ปัจจุบันการวินิจฉัยโรครูมาตอยด์รวดเร็วขึ้นหลังมีเกณฑ์ ACR/EULAR 2010
- การประเมิน 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ประเมินความรุนแรงของโรครูมาตอยด์ ประเมินอาการนอกข้อ (ตา ปอด เส้นประสาท ผิวหนัง) และประเมินโรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อการรักษา เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ เบาหวาน
- การรักษา เป้าหมายการรักษาเพื่อให้โรคสงบหรืออักเสบระดับต่ำ มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติ ป้องกันหรือชะลอการทำลายข้อ ยารักษารูมาตอยด์ต้องใช้ยากลุ่มปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค โดยเริ่มต้นจากยารับประทาน 1 ชนิดหรืออาจใช้ 2 ชนิดขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ยาหลักตัวแรก คือ ยาเมโธเทรกเสท กินสัปดาห์ละครั้ง กรณีมีข้อห้ามหรือเกิดอาการข้างเคียงหรือไม่ตอบสนอง อาจปรับใช้ยาเลฟลูโนไมด์ นอกจากนี้มียาอื่น เช่น ยาไฮดรอกซีคลอโรควีน ยาซาลาโซไพริน เป็นต้น ยากลุ่มนี้มักออกฤทธิ์ช้า เริ่มได้ผลที่ 6-12 สัปดาห์ และยาออกฤทธิ์เต็มที่ใน 6 เดือน ผู้ป่วยไม่ควรปรับยาเอง จำเป็นต้องติดตามการใช้ยากับแพทย์เฉพาะทาง กรณีไม่ตอบสนองต่อยาข้างต้นมาแล้ว 3-6 เดือน แพทย์จะปรับยาหรือแนะนำกลุ่มยาชีววัตถุ (ยาฉีด) หรือกลุ่มยาสังเคราะห์มุ่งเป้า ซึ่งยากลุ่มหลังมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องตรวจคัดกรองเพิ่มเติม
ยาต้านอักเสบมี 2 กลุ่ม คือ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และยาสเตียรอยด์ขนาดต่ำ ๆ ยากลุ่มนี้ใช้ลดอาการปวดข้อและข้ออักเสบเป็นหลัก แต่ไม่สามารถทำให้รูมาตอยด์สงบระยะยาวได้ มักใช้คู่ไปในช่วงแรกเพื่อรอให้ยารักษารูมาตอยด์ (DMARD) ออกฤทธิ์เต็มที่
การรักษาต่อเนื่องมีความสำคัญมาก ในปัจจุบันมีกลยุทธ์การใช้ยารักษารูมาตอยด์ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะภายใน 3 เดือนหลังเริ่มต้นอาการ และผู้ป่วยติดตามการรักษาต่อเนื่อง ไม่ขาดยา มีการดูแลตนเองที่ดี ดูแลข้อได้ดี ปฎิบัติเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ จะมีโอกาสรักษาหายขาดสูงขึ้น และบางรายมีโอกาสหยุดยาในอนาคตได้
สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องคุมกำเนิดระหว่างรักษา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อพิจารณาพักยาหรือปรับยาบางตัวก่อนวางแผนตั้งครรภ์
- การติดตามต่อเนื่อง ในช่วงแรกแพทย์จะนัดติดตามทุก 2-4 สัปดาห์ เพื่อปรับการรักษา ติดตามภาวะแทรกซ้อน และตรวจเลือดเป็นระยะ เมื่อยารักษารูมาตอยด์ออกฤทธิ์เต็มที่และผู้ป่วยตอบสนองไปในทางที่ดี จนสามารถปรับลดยาต้านอักเสบลงได้ จะนัดติดตามห่างขึ้นเป็นทุก 2-3 เดือน ที่สำคัญผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น
การดูแลตนเองที่สำคัญ ได้แก่ หยุดสูบบุหรี่ การดูแลฟันและช่องปากให้สะอาด ประคบอุ่นบริเวณที่ข้ออักเสบ บำบัดออกกำลังกายข้อเบาๆ เพื่อป้องกันข้อติด พักผ่อนนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง รับประทานอาหารปรุงสุกผ่านความร้อนใหม่ๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 17/03/2025
แพทย์ผู้เขียน
พญ. บุญจริง ศิริไพฑูรย์

ความถนัดเฉพาะทาง
อายุรแพทย์ทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม