รู้เท่าทันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด เป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดดำของขาหลุดไปอุดตันที่ปอด อาการที่น่าสงสัยคือเหนื่อยหอบในระดับที่มากกว่าปกติ อาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) มักเกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดขา ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจข้างขวาและปอด หลุดไปอุดกั้นหลอดเลือดปอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการเหนื่อย ซึ่งระดับความเหนื่อยของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงของอาการหรือปริมาณลิ่มเลือดที่อุดตันว่ามากหรือน้อยแค่ไหน และมักมีอาการเหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ แม้เป็นกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำทุกวัน บางรายอาจมีอาการบวมที่ขาร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันบริเวณหลอดเลือดขา
อาการ
• เหนื่อยง่าย หายใจไม่ออก
• เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
• ไอแห้งๆ ไอแล้วมีเลือดปนมากับเสมหะ หรือไอเป็นเลือด
• หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
• มีไข้ เวียนศีรษะ ร่วมด้วย
ใครบ้างที่เสี่ยง
• ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด
• ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่น หลังได้รับการผ่าตัดที่ต้องนอนติดเตียง
• การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเอสโตรเจน
• โรคทางพันธุกรรม
• ผู้สูงอายุ
• หญิงตั้งครรภ์
• ผู้ที่มีภาวะอ้วน
• ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
• ผู้ที่ได้รับการใส่สายสวนที่หลอดเลือด
การรักษา
ในการรักษาแพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ หากเกิดขึ้นฉับพลับ ระดับสัญญาณชีพไม่คงที่ แพทย์จะใช้ยาละลายลิ่มเลือดในการรักษา ในบางรายหากมีอาการแต่ภาวะยังไม่เข้าขั้นวิกฤต จะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในการรักษา หรือยาฉีดตามอาการ แล้วนัดติดตามอาการต่อไป ในกรณีผู้ป่วยอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอาการช็อก ไม่สามารถใช้ยาละลายลิ่มเลือดได้ หรือรักษาด้วยการใช้ยาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) มักเกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดขา ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจข้างขวาและปอด หลุดไปอุดกั้นหลอดเลือดปอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการเหนื่อย ซึ่งระดับความเหนื่อยของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงของอาการหรือปริมาณลิ่มเลือดที่อุดตันว่ามากหรือน้อยแค่ไหน และมักมีอาการเหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ แม้เป็นกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำทุกวัน บางรายอาจมีอาการบวมที่ขาร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันบริเวณหลอดเลือดขา
อาการ
• เหนื่อยง่าย หายใจไม่ออก
• เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
• ไอแห้งๆ ไอแล้วมีเลือดปนมากับเสมหะ หรือไอเป็นเลือด
• หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
• มีไข้ เวียนศีรษะ ร่วมด้วย
ใครบ้างที่เสี่ยง
• ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด
• ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่น หลังได้รับการผ่าตัดที่ต้องนอนติดเตียง
• การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเอสโตรเจน
• โรคทางพันธุกรรม
• ผู้สูงอายุ
• หญิงตั้งครรภ์
• ผู้ที่มีภาวะอ้วน
• ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
• ผู้ที่ได้รับการใส่สายสวนที่หลอดเลือด
การรักษา
ในการรักษาแพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ หากเกิดขึ้นฉับพลับ ระดับสัญญาณชีพไม่คงที่ แพทย์จะใช้ยาละลายลิ่มเลือดในการรักษา ในบางรายหากมีอาการแต่ภาวะยังไม่เข้าขั้นวิกฤต จะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในการรักษา หรือยาฉีดตามอาการ แล้วนัดติดตามอาการต่อไป ในกรณีผู้ป่วยอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอาการช็อก ไม่สามารถใช้ยาละลายลิ่มเลือดได้ หรือรักษาด้วยการใช้ยาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์อายุรกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 28/08/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. มนูญ ลีเชวงวงศ์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ-ผู้ป่วยอาการหนัก-ผู้สูงอายุ-โรคปอด-โรคระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อ