เตรียมสุขภาพให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง ซึ่งสามารถเตรียมการและวางแผนล่วงหน้าได้ สำหรับคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีบุตร มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
เตรียมตัวสำหรับตั้งครรภ์ทำอย่างไรบ้าง?
• วางแผนการมีบุตร เช่น จะมีกี่คน ห่างกันกี่ปี หลังจากนั้นจะคุมกำเนิดอย่างไร เป็นต้น
• พบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพและรับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคประจำตัว ความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม ตรวจโรคติดต่อต่าง ๆ ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย และรับการตรวจอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็นในการตรวจหาโรคที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์
• ฉีดวัคซีนป้องกันโรค นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์จะมีการตรวจภูมิคุ้มกันต่าง ๆ และฉีดวัคซีนที่สำคัญก่อนที่จะตั้งครรภ์ให้กับฝ่ายหญิง เช่น หัดเยอรมัน สุกใส เป็นต้น
• รับประทานอาหารเสริม เสริมกรดโฟลิกควรเริ่มทันทีที่วางแผนมีบุตรเพื่อสะสมระดับโฟเลตในร่างกายให้เพียงพอและทันต่อการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ไปจนถึงระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความพิการทางสมองของทารก ซึ่งเป็นภาวะพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมองและไขสันหลังของเด็ก
• เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีอันตราย หรือสารพิษทั้งหลาย เช่น สารเคมีสังเคราะห์ สารผสมโลหะ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง รวมถึงมูลสัตว์อย่างหนูและแมว
• รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
• หมั่นดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ของตัวเอง ไม่เครียด หรือกังวลมากจนเกินไป
• ตรวจสุขภาพฟัน การมีฟันผุ โรคเหงือกติดเชื้อ สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ (คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย) คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันก่อนหน้าประมาณ 5 เดือนเพื่อเผื่อเวลาในการรักษาฟันที่มีปัญหาด้วย
การเตรียมสุขภาพให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงเป็นการเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์แล้วเท่านั้น แต่ควรมีการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หรือเมื่อพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ เพราะคู่แต่งงานอาจมีโรคที่ซ่อนอยู่และอาจมีผลต่อลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนเตรียมตัวมีลูกน้อย ควรมีการเตรียมสุขภาพร่างกาย สภาวะจิตใจ และอารมณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
เตรียมตัวสำหรับตั้งครรภ์ทำอย่างไรบ้าง?
• วางแผนการมีบุตร เช่น จะมีกี่คน ห่างกันกี่ปี หลังจากนั้นจะคุมกำเนิดอย่างไร เป็นต้น
• พบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพและรับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคประจำตัว ความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม ตรวจโรคติดต่อต่าง ๆ ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย และรับการตรวจอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็นในการตรวจหาโรคที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์
• ฉีดวัคซีนป้องกันโรค นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์จะมีการตรวจภูมิคุ้มกันต่าง ๆ และฉีดวัคซีนที่สำคัญก่อนที่จะตั้งครรภ์ให้กับฝ่ายหญิง เช่น หัดเยอรมัน สุกใส เป็นต้น
• รับประทานอาหารเสริม เสริมกรดโฟลิกควรเริ่มทันทีที่วางแผนมีบุตรเพื่อสะสมระดับโฟเลตในร่างกายให้เพียงพอและทันต่อการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ไปจนถึงระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความพิการทางสมองของทารก ซึ่งเป็นภาวะพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมองและไขสันหลังของเด็ก
• เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีอันตราย หรือสารพิษทั้งหลาย เช่น สารเคมีสังเคราะห์ สารผสมโลหะ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง รวมถึงมูลสัตว์อย่างหนูและแมว
• รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
• หมั่นดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ของตัวเอง ไม่เครียด หรือกังวลมากจนเกินไป
• ตรวจสุขภาพฟัน การมีฟันผุ โรคเหงือกติดเชื้อ สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ (คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย) คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันก่อนหน้าประมาณ 5 เดือนเพื่อเผื่อเวลาในการรักษาฟันที่มีปัญหาด้วย
การเตรียมสุขภาพให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงเป็นการเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์แล้วเท่านั้น แต่ควรมีการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หรือเมื่อพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ เพราะคู่แต่งงานอาจมีโรคที่ซ่อนอยู่และอาจมีผลต่อลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนเตรียมตัวมีลูกน้อย ควรมีการเตรียมสุขภาพร่างกาย สภาวะจิตใจ และอารมณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 02/05/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. พิมพ์อร คงประยูร
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์