ภาวะฉุกเฉินของการตั้งครรภ์
มีคนถามผมมาเรื่องนี้ครับ ถามว่าอะไรที่เป็น “ ภาวะฉุกเฉิน ” ของสตรีตั้งครรภ์ เดี๋ยวผมจะเริ่มคุยให้ฟัง แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าที่ผมจะคุยให้ฟังมันคงจะไม่วิชาการมากมายนัก เราคุยกันไปแบบเรื่อย ๆ ละกันนะครับ ผมจำได้ดีเลยครับว่าอาจารย์ทางสูติศาสตร์สอนไว้เลยว่า “ หมอต้องบอกคนไข้ท้องไว้เลยนะว่า ถ้าเค้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่อย่างนี้ เค้าต้องมาสถานพยาบาลไว้ก่อน ... ” 4 อาการที่ว่านี้ก็คือ
4 ข้อนี้ครับ ... แค่ 4 ข้อนี้เท่านั้น !! ที่หมอสูติกรรมจะขอให้สตรีตั้งครรภ์พึงระลึกไว้เสมอว่า หากมีอาการอันใดอันหนึ่งเหล่านี้แล้วขอจงให้เร่งรีบมาสถานพยาบาลไว้ก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลังครับ
อาการ “ เลือดออก ” ในสตรีตั้งครรภ์ไม่ว่าจะยังไงเราก็เรียกว่าอาการ “ แท้ง ” ครับ แต่การแท้งนั้นก็มีหลายระดับ ระดับต้น ๆ ที่เรียกว่า “ แท้งคุกคาม ” เรายังพอมีโอกาสพยุงครรภ์ไว้ได้ สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรมีเลือดออกครับ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ เลือดล้างหน้า ” และหลายคนจะบอกว่าไม่เป็นไร ... ไม่เป็นไร เวลาท้องอ่อนมีเลือดล้างหน้าออกได้เพราะตัวอ่อนกำลังฝังตัว ก็เลยต้องมีการชะล้างสิ่งสกปรกออกมาบ้าง นั่น ... ก็ถูกแค่บางส่วนครับ !! ตัวอ่อนกำลังฝังตัว น่ะ ใช่ แต่หากการฝังตัวมันมีประสิทธิภาพดีมันก็ไม่ควรมีเลือดออก การที่เลือดออกแสดงว่ามันฝังตัวได้ยาก และการฝังนั้นมีวี่แววว่าจะไม่สำเร็จ
อาการ “ เจ็บท้อง หรือ ท้อง ( มดลูก ) แข็งตึง ” ในส่วนของอาการอันนี้ ... พอทำงานมานาน ๆ ผมได้เปลี่ยนแปลงการบอกกับผู้ป่วยใหม่ โดยย้ำให้ผู้ป่วยรู้ว่าถ้าเพียงแค่รู้สึกได้ถึงการแข็ง ตึงตัวของผนังหน้าท้องหรือที่มดลูก มันก็มีความสำคัญ ควรค่าแก่การมาเช็คประเมินอาการที่โรงพยาบาลได้แล้ว หรือหากรู้สึกได้ถึงอาการหน่วง ๆ ถ่วง ๆ เหมือนมีอะไรลงมาอยู่ในช่องคลอดก็ต้องรีบมา ไม่ต้องรอจนกระทั่งเกิดความรู้สึกเจ็บท้อง
อาการ “ ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น ” ... สิ่งนี้สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งเดียวที่สตรีตั้งครรภ์จะใช้ตรวจเช็คสุขภาพของทารกในครรภ์ได้เองตอนอยู่ที่บ้าน การขยับตัวดิ้นของทารกเริ่มมีตั้งแต่สมัยที่เป็นตัวอ่อนจิ๋ว ๆ แล้ว หากได้ตรวจอัลตร้าซาวด์ในอายุครรภ์ประมาณ 8 สัปดาห์ ก็จะสามารถเห็นการขยับตัวของตัวอ่อนทารกได้ การที่สตรีตั้งครรภ์จะรับรู้การดิ้น ขยับตัวของทารกได้นั้นต้องอายุครรภ์เข้าสู่ 20 สัปดาห์ เนื่องจากในระยะนั้นขนาดตัวของทารกจะใหญ่เพียงพอที่ทำให้เกิดแรงกระทบเวลาขยับตัว จนทำให้มารดารู้สึกถึงการดิ้นขยับตัวของทารกในครรภ์ได้
อาการ “ มีบางสิ่งบางอย่างเหล่านี้ออกมาจากช่องคลอด ได้แก่ มูก เลือด หรือ น้ำไหลออกมา ( น้ำเดิน ) ” อาการนี้เป็นอาการที่เห็นเด่นชัดได้จากตัวสตรีตั้งครรภ์เอง
ผมจะบอกคนไข้บ่อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องมูกจากช่องคลอดว่า ทั้งในภาวะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และในภาวะตั้งครรภ์นั้น มูกจากช่องคลอดที่ถือว่าเป็นลักษณะปกติ จะมีได้แค่สองลักษณะเท่านั้น คือ มูกใส หรือไม่ก็ ขาวขุ่นแบบกาว / แป้งเปียก ปริมาณเยอะหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้สีเป็นแบบแค่สองอย่างที่บอกก็ถือว่าโอเค แต่หากมูกของเรามีลักษณะผิดไปจากสองอย่างนี้ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าผิดปกติครับ
ว่าด้วยเรื่องมูก หรือที่บางคนก็เรียกว่า “ ตกขาว ” ที่อาจเป็นลักษณะของการอักเสบติดเชื้อก่อน มันเกิดขึ้นได้ทั้งตอนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และตั้งครรภ์ แน่นอนว่าหากมาเกิดตอนตั้งครรภ์มันย่อมมีผลต่อภาวะครรภ์แน่ ๆ แม้ว่าจะมีหลายรายงานบอกว่าไม่เกี่ยวกันแบบมีนัยสำคัญก็ตาม
มูกขาวทั่วไปก็จะมีความเหนียวลื่นในระดับหนึ่ง แต่ในสตรีตั้งครรภ์หากพบว่ามูกนั้นมีความเหนียวยืดมาก มีลักษณะเกาะติดกันเป็นยวงลักษณะคล้าย ๆ แบบแป้งในขนมเต้าส่วน ... นั่น มันเป็นลักษณะของมูกที่ออกมาจากรูปากมดลูกที่เริ่มมีการเปิดครับ ถ้ามีมูกแบบนี้ก็ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพราะมันเสี่ยงต่อการคลอดมาก
ในส่วนของอาการน้ำเดินซึ่งหมายถึงการที่ถุงน้ำคร่ำมันอาจเกิดการรั่วหรือแตกนั้น ลักษณะของน้ำที่ออกมามันจะเป็นลักษณะคล้าย ๆ เราปัสสาวะราด หากมันรั่วน้อย ๆ บางทีจะสังเกตยากมาก ๆ ความสำคัญของมันก็คือ ... หากมันไหลออกมาเรื่อย ๆ ไม่หยุดโอกาสคลอดก่อนกำหนดก็สูงมากครับ และจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกและตัวทารกในครรภ์ด้วย
มีอีกอาการหนึ่งที่ผมจะขอเพิ่มเติมคือ “ อาการน้ำนมไหล ” เมื่อเราตั้งครรภ์ต่อมน้ำนมก็จะเริ่มสร้างน้ำนมสะสมไปเรื่อย ๆ ครับ แต่ตอนตั้งครรภ์มันยังไม่ควรมีน้ำนมไหลออกมา เพราะรกจะสร้างสารบางอย่างออกมายับยั้งการหลั่งน้ำนม แต่เมื่อไรก็ตามที่รกเริ่มทำงานได้ลดลงสารตัวนี้ก็อาจลดปริมาณลงด้วย จึงทำให้มีน้ำนมไหลออกมาจากหัวนมได้ อาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ก็ยังไม่เป็นไร เพราะนั่นใกล้ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่หากอาการน้ำนมไหลมันมาเกิดขึ้นเอาตอนอายุครรภ์ก่อนครบกำหนดมาก ๆ ก็เสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือการแท้งได้นะครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
- เลือดออก
- เจ็บท้อง หรือ ท้อง ( มดลูก ) แข็งตึง
- ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น
- มีบางสิ่งบางอย่างเหล่านี้ออกมาจากช่องคลอด ได้แก่ มูก เลือด หรือ น้ำไหลออกมา ( น้ำเดิน )
4 ข้อนี้ครับ ... แค่ 4 ข้อนี้เท่านั้น !! ที่หมอสูติกรรมจะขอให้สตรีตั้งครรภ์พึงระลึกไว้เสมอว่า หากมีอาการอันใดอันหนึ่งเหล่านี้แล้วขอจงให้เร่งรีบมาสถานพยาบาลไว้ก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลังครับ
อาการ “ เลือดออก ” ในสตรีตั้งครรภ์ไม่ว่าจะยังไงเราก็เรียกว่าอาการ “ แท้ง ” ครับ แต่การแท้งนั้นก็มีหลายระดับ ระดับต้น ๆ ที่เรียกว่า “ แท้งคุกคาม ” เรายังพอมีโอกาสพยุงครรภ์ไว้ได้ สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรมีเลือดออกครับ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ เลือดล้างหน้า ” และหลายคนจะบอกว่าไม่เป็นไร ... ไม่เป็นไร เวลาท้องอ่อนมีเลือดล้างหน้าออกได้เพราะตัวอ่อนกำลังฝังตัว ก็เลยต้องมีการชะล้างสิ่งสกปรกออกมาบ้าง นั่น ... ก็ถูกแค่บางส่วนครับ !! ตัวอ่อนกำลังฝังตัว น่ะ ใช่ แต่หากการฝังตัวมันมีประสิทธิภาพดีมันก็ไม่ควรมีเลือดออก การที่เลือดออกแสดงว่ามันฝังตัวได้ยาก และการฝังนั้นมีวี่แววว่าจะไม่สำเร็จ
อาการ “ เจ็บท้อง หรือ ท้อง ( มดลูก ) แข็งตึง ” ในส่วนของอาการอันนี้ ... พอทำงานมานาน ๆ ผมได้เปลี่ยนแปลงการบอกกับผู้ป่วยใหม่ โดยย้ำให้ผู้ป่วยรู้ว่าถ้าเพียงแค่รู้สึกได้ถึงการแข็ง ตึงตัวของผนังหน้าท้องหรือที่มดลูก มันก็มีความสำคัญ ควรค่าแก่การมาเช็คประเมินอาการที่โรงพยาบาลได้แล้ว หรือหากรู้สึกได้ถึงอาการหน่วง ๆ ถ่วง ๆ เหมือนมีอะไรลงมาอยู่ในช่องคลอดก็ต้องรีบมา ไม่ต้องรอจนกระทั่งเกิดความรู้สึกเจ็บท้อง
อาการ “ ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น ” ... สิ่งนี้สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งเดียวที่สตรีตั้งครรภ์จะใช้ตรวจเช็คสุขภาพของทารกในครรภ์ได้เองตอนอยู่ที่บ้าน การขยับตัวดิ้นของทารกเริ่มมีตั้งแต่สมัยที่เป็นตัวอ่อนจิ๋ว ๆ แล้ว หากได้ตรวจอัลตร้าซาวด์ในอายุครรภ์ประมาณ 8 สัปดาห์ ก็จะสามารถเห็นการขยับตัวของตัวอ่อนทารกได้ การที่สตรีตั้งครรภ์จะรับรู้การดิ้น ขยับตัวของทารกได้นั้นต้องอายุครรภ์เข้าสู่ 20 สัปดาห์ เนื่องจากในระยะนั้นขนาดตัวของทารกจะใหญ่เพียงพอที่ทำให้เกิดแรงกระทบเวลาขยับตัว จนทำให้มารดารู้สึกถึงการดิ้นขยับตัวของทารกในครรภ์ได้
อาการ “ มีบางสิ่งบางอย่างเหล่านี้ออกมาจากช่องคลอด ได้แก่ มูก เลือด หรือ น้ำไหลออกมา ( น้ำเดิน ) ” อาการนี้เป็นอาการที่เห็นเด่นชัดได้จากตัวสตรีตั้งครรภ์เอง
ผมจะบอกคนไข้บ่อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องมูกจากช่องคลอดว่า ทั้งในภาวะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และในภาวะตั้งครรภ์นั้น มูกจากช่องคลอดที่ถือว่าเป็นลักษณะปกติ จะมีได้แค่สองลักษณะเท่านั้น คือ มูกใส หรือไม่ก็ ขาวขุ่นแบบกาว / แป้งเปียก ปริมาณเยอะหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้สีเป็นแบบแค่สองอย่างที่บอกก็ถือว่าโอเค แต่หากมูกของเรามีลักษณะผิดไปจากสองอย่างนี้ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าผิดปกติครับ
ว่าด้วยเรื่องมูก หรือที่บางคนก็เรียกว่า “ ตกขาว ” ที่อาจเป็นลักษณะของการอักเสบติดเชื้อก่อน มันเกิดขึ้นได้ทั้งตอนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และตั้งครรภ์ แน่นอนว่าหากมาเกิดตอนตั้งครรภ์มันย่อมมีผลต่อภาวะครรภ์แน่ ๆ แม้ว่าจะมีหลายรายงานบอกว่าไม่เกี่ยวกันแบบมีนัยสำคัญก็ตาม
มูกขาวทั่วไปก็จะมีความเหนียวลื่นในระดับหนึ่ง แต่ในสตรีตั้งครรภ์หากพบว่ามูกนั้นมีความเหนียวยืดมาก มีลักษณะเกาะติดกันเป็นยวงลักษณะคล้าย ๆ แบบแป้งในขนมเต้าส่วน ... นั่น มันเป็นลักษณะของมูกที่ออกมาจากรูปากมดลูกที่เริ่มมีการเปิดครับ ถ้ามีมูกแบบนี้ก็ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพราะมันเสี่ยงต่อการคลอดมาก
ในส่วนของอาการน้ำเดินซึ่งหมายถึงการที่ถุงน้ำคร่ำมันอาจเกิดการรั่วหรือแตกนั้น ลักษณะของน้ำที่ออกมามันจะเป็นลักษณะคล้าย ๆ เราปัสสาวะราด หากมันรั่วน้อย ๆ บางทีจะสังเกตยากมาก ๆ ความสำคัญของมันก็คือ ... หากมันไหลออกมาเรื่อย ๆ ไม่หยุดโอกาสคลอดก่อนกำหนดก็สูงมากครับ และจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกและตัวทารกในครรภ์ด้วย
มีอีกอาการหนึ่งที่ผมจะขอเพิ่มเติมคือ “ อาการน้ำนมไหล ” เมื่อเราตั้งครรภ์ต่อมน้ำนมก็จะเริ่มสร้างน้ำนมสะสมไปเรื่อย ๆ ครับ แต่ตอนตั้งครรภ์มันยังไม่ควรมีน้ำนมไหลออกมา เพราะรกจะสร้างสารบางอย่างออกมายับยั้งการหลั่งน้ำนม แต่เมื่อไรก็ตามที่รกเริ่มทำงานได้ลดลงสารตัวนี้ก็อาจลดปริมาณลงด้วย จึงทำให้มีน้ำนมไหลออกมาจากหัวนมได้ อาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ก็ยังไม่เป็นไร เพราะนั่นใกล้ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่หากอาการน้ำนมไหลมันมาเกิดขึ้นเอาตอนอายุครรภ์ก่อนครบกำหนดมาก ๆ ก็เสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือการแท้งได้นะครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
นพ. วิริยะ เล็กประเสริฐ
ความถนัดเฉพาะทาง
สูติ-นรีแพทย์ทั่วไป