ทำอย่างไรเมื่อใจมัน“สั่น”
ใครเคยเกิดอาการแบบนี้กันบ้างไหมคะ ที่อยู่ ๆ หัวใจของเราเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว กระตุก สะดุด เป็นอาการที่รู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่เป็นปกติ เป็นบ่อยหรือเป็นตลอดเวลา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีอาการใจสั่นแล้วก็เป็นได้
ใจสั่นคืออะไร
ใจสั่นคือความรู้สึกที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะช้า เร็ว กระตุก หรือสะดุด ผลของใจสั่นเป็นได้ตั้งแต่มีอาการรำคาญ เหนื่อยง่าย อัมพาต ไปจนถึงเสียชีวิตกะทันหัน อาการใจสั่นพบได้บ่อยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ อาการใจสั่นอาจพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ หรือหมดสติ เป็นต้น
การเต้นของหัวใจในภาวะปกติ
หัวใจเต้นได้โดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วหัวใจห้องบนจะเริ่มเต้นก่อน แล้วจึงส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจห้องล่าง อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นกับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่ทำ เช่น เวลานอนหลับหัวใจจะเต้นช้ากว่าเวลาที่ออกกำลังหรือภาวะไข้สูง หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติจะอยู่ในช่วง 50-100 ครั้งต่อนาที
ทำไมถึงใจสั่น
โรคหัวใจหลาย ๆ ชนิด ทำให้เกิดใจสั่นได้จากการที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจโตหรือในผู้ป่วยบางคนเกิดจากความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากโรคหัวใจแล้ว มีอีกหลายภาวะที่อาจทำให้เกิดใจสั่นได้ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง หรือในบุคคลที่ใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้าหรือยาอี เป็นต้น อาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามตำแหน่งที่เกิดขึ้น คือ
การวินิจฉัย
นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์แล้ว การตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในเรื่องการวินิจฉัยอาจรวมถึง
การรักษา
การรักษาภาวะใจสั่นขึ้นกับตัวโรคที่เป็นซึ่งแพทย์จะพิจารณาไปตามผู้ป่วยแต่ละราย วิธีการรักษาอาจรวมถึง
ทำอย่างไรเมื่อใจสั่น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ใจสั่นคืออะไร
ใจสั่นคือความรู้สึกที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะช้า เร็ว กระตุก หรือสะดุด ผลของใจสั่นเป็นได้ตั้งแต่มีอาการรำคาญ เหนื่อยง่าย อัมพาต ไปจนถึงเสียชีวิตกะทันหัน อาการใจสั่นพบได้บ่อยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ อาการใจสั่นอาจพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ หรือหมดสติ เป็นต้น
การเต้นของหัวใจในภาวะปกติ
หัวใจเต้นได้โดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วหัวใจห้องบนจะเริ่มเต้นก่อน แล้วจึงส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจห้องล่าง อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นกับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่ทำ เช่น เวลานอนหลับหัวใจจะเต้นช้ากว่าเวลาที่ออกกำลังหรือภาวะไข้สูง หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติจะอยู่ในช่วง 50-100 ครั้งต่อนาที
ทำไมถึงใจสั่น
โรคหัวใจหลาย ๆ ชนิด ทำให้เกิดใจสั่นได้จากการที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจโตหรือในผู้ป่วยบางคนเกิดจากความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากโรคหัวใจแล้ว มีอีกหลายภาวะที่อาจทำให้เกิดใจสั่นได้ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง หรือในบุคคลที่ใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้าหรือยาอี เป็นต้น อาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามตำแหน่งที่เกิดขึ้น คือ
- หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว เมื่อหัวใจเต้นเร็วเกินไปจะทำให้มีเวลารับเลือดไม่พอ และถ้าเต้นไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหัวใจห้องล่างทำหน้าที่หลักในการบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายทั้งหมด เมื่อหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติจึงอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกาย โดยเฉพาะสมองไม่เพียงพอ ทำให้เป็นลมหมดสติ สมองตาย และเสียชีวิตเฉียบพลันได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีกลุ่มเสี่ยงของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว ได้แก่ ผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หรือผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไหลตาย เป็นต้น
- หัวใจห้องบนเต้นเร็ว หัวใจห้องบนเต้นเร็วชนิดที่พบมากที่สุด และเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบมากที่สุดด้วย คือ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว ภาวะนี้พบมากในคนสูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจบางชนิด เป็นต้น ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการและตรวจพบภาวะนี้โดยบังเอิญ สำหรับอาการที่พบได้แก่ ใจสั่น เหนื่อยง่าย เป็นต้น ภาวะนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น น้ำท่วมปอด กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หรือาจทำให้เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ได้ เนื่องจากภาวะนี้อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบน ซึ่งอาจไปอุดตันที่เส้เลือดในสมอง ดังนั้นผู้ป่วยในภาวะนี้อาจต้องได้ยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะเสี่ยงของคนไข้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ห้วใจห้องบนเต้นเร็วชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วเป็นครั้งคราวจากการที่มีสายไฟฟ้าเกินในหัวใจ ภาวะนี้เป็นมาแต่กำเนิด แต่อาจมีอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ในผู้ป่วยบางคน สายไฟฟ้าที่เกินนี้สามารถนำไฟฟ้าได้เร็วมากและสามารถกระตุ้นให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
การวินิจฉัย
นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์แล้ว การตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในเรื่องการวินิจฉัยอาจรวมถึง
- คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram-ECG)
- เครื่องบันทึกการทำงานของหัวใจใน 24 ชั่วโมง (Holter Monitoring)
- อัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) การตรวจข้อ 1-3 เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บตัว ไม่มีการเจาะเลือด ผ่าตัด หรือโดนรังสี
- การเจาะเลือดดูการทำงานของต่อมไทรอยด์
- การสวนหัวใจเพื่อดูหลอดเลือด หรือวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าในหัวใจ
การรักษา
การรักษาภาวะใจสั่นขึ้นกับตัวโรคที่เป็นซึ่งแพทย์จะพิจารณาไปตามผู้ป่วยแต่ละราย วิธีการรักษาอาจรวมถึง
- งดเหล้า บุหรี่ กาแฟและสารเสพติด
- รักษาต้นเหตุของใจสั่น เช่น ไทรอยด์ อาการไข้ โรควิตกกังวล
- การรักษาด้วยาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ
- การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
- การช็อคด้วยไฟฟ้า
- การจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง
- การใส่เครื่องกระตุ้น หรือกระตุ้นหัวใจ
ทำอย่างไรเมื่อใจสั่น
- หยุดพัก
- พบแพทย์ด่วน ถ้ามีอาการเหล่านี้ ได้แก่ เจ็บหน้าอก เหนื่อย เป็นลม
- งดชา กาแฟ บุหรี่ เหล้า สารเสพติด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 08/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
รศ.พญ. สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคหัวใจ