รู้จักโรคย้ำคิดย้ำทำ
เคยสังเกตตัวเองบ้างไหมว่า การทำกิจกรรมนั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น ปิดแอร์หรือยัง ปิดน้ำหรือยัง ปิดไฟหรือยัง ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความกังวลลง โดยตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล เสียเวลา และผู้อื่นมองว่าแปลกกว่าปกติ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความคิดและการกระทำได้ ซึ่งอาการนี้อาจเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำได้
โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคของคนที่มีความกังวล และความไม่มั่นใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมอย่างชัดเจน คือ มีอาการย้ำคิดและย้ำทำ โดยผู้ป่วยจะทำพฤติกรรมซ้ำไป ซ้ำมา เพื่อคลายความกังวล แม้รู้ว่าไม่สมเหตุสมผลก็ตาม พฤติกรรมแบบนี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้
สาเหตุ
• พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
• สารสื่อประสาทหรือสารเคมีในสมอง เสียความสมดุลของสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะเซโรโทนิน
• ปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น เคยพบเจอเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อชีวิตทั้งทางกาย และทางใจ
อาการ จะเกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ
• อาการย้ำคิด เป็นความคิด ความรู้สึก หรือจินตนาการที่ผุดขึ้นมาซ้ำๆ เช่น ลืมล็อคประตู กลัวอันตรายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ทำให้เกิดความกังวลใจ
• อาการย้ำทำ ทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่น ล้างมือซ้ำๆ พูดขอโทษซ้ำๆ หรือการตรวจสอบซ้ำเพื่อให้ความคิดนั้นสงบลง
การรักษา
• การใช้ยาจิตเวช คือ การใช้ยาต้านเศร้า ประกอบด้วยยากลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) และ Clomipramine ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ทั้งนี้ต้องระวังผลข้างเคียงด้วย
• การทำจิตบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) เป็นการบำบัดที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีจัดการกับความคิดซ้ำๆ และพฤติกรรมย้ำทำ ซึ่งการปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคมากขึ้นและควบคุมอาการได้ดีขึ้น
โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาเองได้ และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคของคนที่มีความกังวล และความไม่มั่นใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมอย่างชัดเจน คือ มีอาการย้ำคิดและย้ำทำ โดยผู้ป่วยจะทำพฤติกรรมซ้ำไป ซ้ำมา เพื่อคลายความกังวล แม้รู้ว่าไม่สมเหตุสมผลก็ตาม พฤติกรรมแบบนี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้
สาเหตุ
• พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
• สารสื่อประสาทหรือสารเคมีในสมอง เสียความสมดุลของสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะเซโรโทนิน
• ปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น เคยพบเจอเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อชีวิตทั้งทางกาย และทางใจ
อาการ จะเกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ
• อาการย้ำคิด เป็นความคิด ความรู้สึก หรือจินตนาการที่ผุดขึ้นมาซ้ำๆ เช่น ลืมล็อคประตู กลัวอันตรายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ทำให้เกิดความกังวลใจ
• อาการย้ำทำ ทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่น ล้างมือซ้ำๆ พูดขอโทษซ้ำๆ หรือการตรวจสอบซ้ำเพื่อให้ความคิดนั้นสงบลง
การรักษา
• การใช้ยาจิตเวช คือ การใช้ยาต้านเศร้า ประกอบด้วยยากลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) และ Clomipramine ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ทั้งนี้ต้องระวังผลข้างเคียงด้วย
• การทำจิตบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) เป็นการบำบัดที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีจัดการกับความคิดซ้ำๆ และพฤติกรรมย้ำทำ ซึ่งการปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคมากขึ้นและควบคุมอาการได้ดีขึ้น
โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาเองได้ และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพจิต
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 10/01/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. พงศธร เนตราคม
ความถนัดเฉพาะทาง
จิตแพทย์