รู้ทันอาการปวดคอ
การนั่งทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ ในท่าที่ไม่เหมาะสม จะทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนัก ส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า สะบัก หลัง และบางครั้งมีอาการปวดร้าวไปศีรษะ ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปล่อยไว้นานๆ อาจส่งผลให้มีอาการปวดเรื้อรัง
การทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนิ่งๆ นานๆ เป็นประจำ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ ทำงานบ้าน และอื่นๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า สะบัก หลัง และบางครั้งมีอาการปวดร้าวไปศีรษะ ท้ายทอย ขมับ หน้าผาก หรือกระบอกตา บางครั้งปวดร้าวไปต้นแขน บางครั้งมีอาการเหน็บชาที่บริเวณนิ้วมือร่วมด้วย อาการเป็นๆ หายๆ โดยอาการเหล่านี้ในช่วงแรกจะยังไม่ปวดขณะทำงาน เริ่มปวดเมื่อยเมื่อเลิกงาน หลังจากพักผ่อนวันรุ่งขึ้นก็หายปวดทำงานต่อได้ ต่อมาจะเริ่มปวดขณะทำงานแต่ยังหายได้เมื่อพักผ่อน ต่อมาอาการมากขึ้นทำงานก็ปวด พักแล้วก็ไม่หายปวด เริ่มรู้สึกปวดตลอดเวลาและถ้ายังทำงานต่อเหมือนเดิม อาการก็จะมากขึ้นๆ จนรู้สึกทรมาน บางคนอาจจะไปหาหมอนวดฝีมือดีๆ นวดให้ก็สบายขึ้น แต่เมื่อกลับไปทำงานก็ปวดอีกเหมือนเดิม บางคนอาจกินยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอาการดีขึ้น พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีกจนรู้สึกเบื่อหน่าย ยิ่งเครียดยิ่งกังวลก็ยิ่งปวดมากขึ้น แถมนอนไม่ค่อยหลับอีกต่างหาก
สาเหตุของอาการปวดดังกล่าวอาจเป็นจากปัญหาที่กระดูกคอก็ได้ แต่ที่พบบ่อยกว่ามักจะเกิดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์จะต้องซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจให้เอกซเรย์กระดูกคอ เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค โดยอาการที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่เรียกว่า myofascial pain syndrome ซึ่งแพทย์มักจะบอกผู้ป่วยว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ
เนื่องจากการทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ในท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากเกินไป นานเกินไป กล้ามเนื้อต้องหดเกร็งนานเกินไปจนคลายตัวไม่ได้ กลายเป็นลำแข็งๆ ตึงๆ ปวดและเจ็บมาก นอกจากปวดบริเวณกล้ามเนื้อนั้นแล้ว ยังมีอาการปวดร้าวไปตามตำแหน่งปวดร้าวของกล้ามเนื้อแต่ละมัด เช่น กล้ามเนื้อที่บ่าจะปวดร้าวขึ้นไปท้ายทอยและด้านข้างศีรษะ กล้ามเนื้อที่สะบักจะปวดร้าวไปที่ต้นแขน กล้ามเนื้อต้นคอจะปวดร้าวไปบริเวณขมับ และกระบอกตาทำให้คลื่นไส้ได้ด้วย กล้ามเนื้อสะบักบางมัดจะปวดร้าวและเป็นเหน็บชาไปที่นิ้วมือด้วย
การรักษาจะได้ผลดีนั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง รู้ตำแหน่งจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ จึงจะรักษาได้ถูกจุด การรักษาที่สำคัญ คือ การยืดเพื่อคลายกล้ามเนื้อซึ่งจะเจ็บปวดมาก ถ้าให้ยืดในขณะที่มีอาการปวด จึงจำเป็นต้องลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งมีหลายวิธีการให้เลือกใช้ ดังนี้
• การให้ยาลดอักเสบ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อและยานวด
• กายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนหรือความเย็น การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
• การฉีดยาลดอักเสบหรือยาชาที่จุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ
• การแทงเข็ม (คล้ายๆ ฝังเข็มแต่ไม่คาเข็มไว้) ที่จุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ
หลังจากนั้นจึงเริ่มยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจทำโดยนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ที่รักษา และจะสอนให้ผู้ป่วยหัดยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเองวันละ 2-3 รอบ
สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาให้หายก็คือ การแก้ไขต้นเหตุที่ทำให้ปวด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีก หากไม่แก้ไขอาการปวดก็จะกลับมาเป็นอีกได้เสมอ ทำให้รู้สึกว่าโรคนี้รักษาไม่หาย แต่ความจริงหายได้เพียงแต่ก็เป็นใหม่ได้อีก ถ้ายังคงทำงานในท่าเดิมนานๆ ที่พบบ่อยๆ คือ การใช้คอมพิวเตอร์
การใช้งานคอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะนั่งในท่าก้มหลัง ก้มคอ และหัวยื่นไปข้างหน้า โดยปรับคอของตัวเองให้สายตามองเห็นภาพในจอได้ชัดเจนแทนที่จะนั่งหลังพิงพนัก หลังตรง คอตรง ในท่าธรรมชาติที่สบายแล้วปรับจอภาพ ให้เข้ากับสายตาของตัวเอง การก้มคอนานๆ ทำให้ปวดบริเวณต้นคอ ส่วนแป้นพิมพ์และเมาส์ควรจะวางบนลิ้นชักโต๊ะคอมพิวเตอร์ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก ไม่ต้องยกมือขึ้นมาบนโต๊ะ การยกมือขึ้นมาวางบนโต๊ะนานๆ เพื่อใช้งานแป้นพิมพ์และเมาส์ที่วางบนโต๊ะทำให้กล้ามเนื้อที่บ่าและสะบักต้องเกร็งอยู่นานทำให้ปวดบ่าและสะบักได้
สำหรับโน๊ตบุ๊ค ถ้าต้องใช้งานนานๆ เป็นประจำ ควรจะวางโน๊ตบุ๊คให้จออยู่สูงระดับสายตา แล้วต่อแป้นพิมพ์และเมาส์ลงมาวางที่ลิ้นชักเช่นเดียวกัน
ถึงแม้จะจัดท่าทางการใช้งานให้เหมาะสมและรู้สึกสบายแล้ว การใช้งานนานๆ ก็ยังทำให้ปวดเมื่อยได้ จึงควรหยุดพักและยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า เป็นระยะๆ ท่ายืดที่ทำได้ง่ายๆ คือ เอามือ 2 ข้างเกาะขอบเก้าอี้ที่นั่ง แล้วเอนตัวไปด้านหลัง ก้มคอและยืดตัวขึ้นบน ให้รู้สึกตึงที่บ่า 2 ข้าง ยืดนิ่งๆ นาน 20 วินาที พัก 2 วินาที แล้วทำซ้ำ 3 รอบ ให้ทำทุก 1 ชั่วโมงที่ทำงานอยู่ จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้มากเลยทีเดียว ถ้ารู้สึกเมื่อยคอก็ให้เคลื่อนไหวคอไปมาในขณะที่ยืดบ่าด้วยก็ได้
ถ้าทำอย่างนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจหาสาเหตุของอาการปวด และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนิ่งๆ นานๆ เป็นประจำ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ ทำงานบ้าน และอื่นๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า สะบัก หลัง และบางครั้งมีอาการปวดร้าวไปศีรษะ ท้ายทอย ขมับ หน้าผาก หรือกระบอกตา บางครั้งปวดร้าวไปต้นแขน บางครั้งมีอาการเหน็บชาที่บริเวณนิ้วมือร่วมด้วย อาการเป็นๆ หายๆ โดยอาการเหล่านี้ในช่วงแรกจะยังไม่ปวดขณะทำงาน เริ่มปวดเมื่อยเมื่อเลิกงาน หลังจากพักผ่อนวันรุ่งขึ้นก็หายปวดทำงานต่อได้ ต่อมาจะเริ่มปวดขณะทำงานแต่ยังหายได้เมื่อพักผ่อน ต่อมาอาการมากขึ้นทำงานก็ปวด พักแล้วก็ไม่หายปวด เริ่มรู้สึกปวดตลอดเวลาและถ้ายังทำงานต่อเหมือนเดิม อาการก็จะมากขึ้นๆ จนรู้สึกทรมาน บางคนอาจจะไปหาหมอนวดฝีมือดีๆ นวดให้ก็สบายขึ้น แต่เมื่อกลับไปทำงานก็ปวดอีกเหมือนเดิม บางคนอาจกินยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอาการดีขึ้น พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีกจนรู้สึกเบื่อหน่าย ยิ่งเครียดยิ่งกังวลก็ยิ่งปวดมากขึ้น แถมนอนไม่ค่อยหลับอีกต่างหาก
สาเหตุของอาการปวดดังกล่าวอาจเป็นจากปัญหาที่กระดูกคอก็ได้ แต่ที่พบบ่อยกว่ามักจะเกิดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์จะต้องซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจให้เอกซเรย์กระดูกคอ เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค โดยอาการที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่เรียกว่า myofascial pain syndrome ซึ่งแพทย์มักจะบอกผู้ป่วยว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ
เนื่องจากการทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ในท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากเกินไป นานเกินไป กล้ามเนื้อต้องหดเกร็งนานเกินไปจนคลายตัวไม่ได้ กลายเป็นลำแข็งๆ ตึงๆ ปวดและเจ็บมาก นอกจากปวดบริเวณกล้ามเนื้อนั้นแล้ว ยังมีอาการปวดร้าวไปตามตำแหน่งปวดร้าวของกล้ามเนื้อแต่ละมัด เช่น กล้ามเนื้อที่บ่าจะปวดร้าวขึ้นไปท้ายทอยและด้านข้างศีรษะ กล้ามเนื้อที่สะบักจะปวดร้าวไปที่ต้นแขน กล้ามเนื้อต้นคอจะปวดร้าวไปบริเวณขมับ และกระบอกตาทำให้คลื่นไส้ได้ด้วย กล้ามเนื้อสะบักบางมัดจะปวดร้าวและเป็นเหน็บชาไปที่นิ้วมือด้วย
การรักษาจะได้ผลดีนั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง รู้ตำแหน่งจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ จึงจะรักษาได้ถูกจุด การรักษาที่สำคัญ คือ การยืดเพื่อคลายกล้ามเนื้อซึ่งจะเจ็บปวดมาก ถ้าให้ยืดในขณะที่มีอาการปวด จึงจำเป็นต้องลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งมีหลายวิธีการให้เลือกใช้ ดังนี้
• การให้ยาลดอักเสบ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อและยานวด
• กายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนหรือความเย็น การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
• การฉีดยาลดอักเสบหรือยาชาที่จุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ
• การแทงเข็ม (คล้ายๆ ฝังเข็มแต่ไม่คาเข็มไว้) ที่จุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ
หลังจากนั้นจึงเริ่มยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจทำโดยนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ที่รักษา และจะสอนให้ผู้ป่วยหัดยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเองวันละ 2-3 รอบ
สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาให้หายก็คือ การแก้ไขต้นเหตุที่ทำให้ปวด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีก หากไม่แก้ไขอาการปวดก็จะกลับมาเป็นอีกได้เสมอ ทำให้รู้สึกว่าโรคนี้รักษาไม่หาย แต่ความจริงหายได้เพียงแต่ก็เป็นใหม่ได้อีก ถ้ายังคงทำงานในท่าเดิมนานๆ ที่พบบ่อยๆ คือ การใช้คอมพิวเตอร์
การใช้งานคอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะนั่งในท่าก้มหลัง ก้มคอ และหัวยื่นไปข้างหน้า โดยปรับคอของตัวเองให้สายตามองเห็นภาพในจอได้ชัดเจนแทนที่จะนั่งหลังพิงพนัก หลังตรง คอตรง ในท่าธรรมชาติที่สบายแล้วปรับจอภาพ ให้เข้ากับสายตาของตัวเอง การก้มคอนานๆ ทำให้ปวดบริเวณต้นคอ ส่วนแป้นพิมพ์และเมาส์ควรจะวางบนลิ้นชักโต๊ะคอมพิวเตอร์ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก ไม่ต้องยกมือขึ้นมาบนโต๊ะ การยกมือขึ้นมาวางบนโต๊ะนานๆ เพื่อใช้งานแป้นพิมพ์และเมาส์ที่วางบนโต๊ะทำให้กล้ามเนื้อที่บ่าและสะบักต้องเกร็งอยู่นานทำให้ปวดบ่าและสะบักได้
สำหรับโน๊ตบุ๊ค ถ้าต้องใช้งานนานๆ เป็นประจำ ควรจะวางโน๊ตบุ๊คให้จออยู่สูงระดับสายตา แล้วต่อแป้นพิมพ์และเมาส์ลงมาวางที่ลิ้นชักเช่นเดียวกัน
ถึงแม้จะจัดท่าทางการใช้งานให้เหมาะสมและรู้สึกสบายแล้ว การใช้งานนานๆ ก็ยังทำให้ปวดเมื่อยได้ จึงควรหยุดพักและยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า เป็นระยะๆ ท่ายืดที่ทำได้ง่ายๆ คือ เอามือ 2 ข้างเกาะขอบเก้าอี้ที่นั่ง แล้วเอนตัวไปด้านหลัง ก้มคอและยืดตัวขึ้นบน ให้รู้สึกตึงที่บ่า 2 ข้าง ยืดนิ่งๆ นาน 20 วินาที พัก 2 วินาที แล้วทำซ้ำ 3 รอบ ให้ทำทุก 1 ชั่วโมงที่ทำงานอยู่ จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้มากเลยทีเดียว ถ้ารู้สึกเมื่อยคอก็ให้เคลื่อนไหวคอไปมาในขณะที่ยืดบ่าด้วยก็ได้
ถ้าทำอย่างนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจหาสาเหตุของอาการปวด และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 15/07/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. นลินทิพย์ ตำนานทอง
ความถนัดเฉพาะทาง
เวชศาสตร์ฟื้นฟู