• banner

ฟื้นฟูสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ด้วยดนตรีบำบัด (Music Therapy)

ดนตรีบำบัดคืออะไร?
ดนตรีบำบัด คือ ศาสตร์การบำบัดที่ผ่านการวิจัย ที่มุ้งเน้นการใช้ประสบการณ์ดนตรีเพื่อดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งด้านกายและจิตใจ โดยมีนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาเฉพาะทางเป็นผู้ทำการประเมินและ ออกแบบประสบการณ์กิจกรรมทางดนตรี ตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิต ของผู้เข้ารับบริการ

ดนตรีบำบัดมีประโยชน์อย่างไร? 
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดครอบคลุมในหลายด้าน อาทิเช่น
ทางด้านร่างกาย
        ◦ บรรเทาความเจ็บปวด
        ◦ ส่งเสริมทักษะและฟื้นฟูการเคลื่อนไหว
        ◦ ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและสมอง
ทางด้านจิตใจ
        ◦ บรรเทาความทุกข์ การจัดการกับความเครียด การจัดการกับอารมณ์
        ◦ ลดความกังวล และอาการซึมเศร้า
        ◦ ส่งเสริมการแสดงออกความรู้สึก ความมั่นใจ ลดความเหงา
        ◦ สร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า หรือสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของผู้รับบริการ
ทางด้านกระบวนการความคิด
        ◦ กระตุ้นความทรงจำ ชะลอการเสื่อมถอยของโรคสมองเสื่อม
        ◦ ส่งเสริมการเรียนรู้ สติปัญญา และความคิด
ทางด้านสังคม
        ◦ พัฒนาทักษะทางสังคม พัฒนาการทางอารมณ์
        ◦ พัฒนาทักษะการสื่อสาร
ทางด้านจิตวิญญาน
        ◦ ส่งเสริมการเชื่อมโยงกับความรู้สึกและอารณ์ลึกๆภายในตนเอง
        ◦ ส่งเสริมความเชื่อมั่น การเยียวยา และการค้นพบมุมมองใหม่ๆในชีวิต

โดยในกิจกรรมดนตรีบำบัดนั้น นักดนตรีบำบัดจะมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการและนักดนตรีบำบัด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ

ใครบ้างที่สามารถรับบริการดนตรีบำบัด
ทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับความสามารถ สามารถเข้ารับบริการและได้ประโยชน์จากดนตรีบำบัด โดยผู้รับบริการดนตรีบำบัดไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางดนตรี เพียงมีความสนใจในการใช้ประสบการณ์ดนตรีร่วมกับนักดนตรีบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูดูแลสุขภาพกายใจ

ปัจจุบันโรงพยาบาลวิชัยยุทธมีบริการดนตรีบำบัดสำหรับ:
• ด้านจิตใจ (เช่น เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า แพนิก)
• ด้านสมอง และสมองเสื่อม (เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดสมอง)  
• ด้านพัฒนาการ (เช่น ออทิสติก, สมาธิสั้น, ความบกพร่องในการเรียนรู้, ความบกพร่องทางสติปัญญา)

กิจกรรมทางดนตรีที่ใช้ในดนตรีบำบัด
• การฟังเพลง
• การเล่นเครื่องดนตรี หรือร้องเพลง ที่รู้จัก
• การเล่นเครื่องดนตรี หรือร้องเพลงแบบด้นสด
• การพูดคุยเรื่องดนตรีหรือเพลงเพื่อสะท้อนตนเอง
• การวิเคราะห์เนื้อเพลง
• การแต่งเพลง
• การเคลื่อนไหวร่างกายตามเสียงดนตรี
• ดนตรีและจินตภาพ
• การระลึกถึงความหลังผ่านบทเพลง

ขั้นตอนในการเข้ารับบริการดนตรีบำบัด
1. พบแพทย์ เพื่อประเมิน แนะนำแนวทางการรักษา ควบคู่กับดนตรีบำบัด
2. พบนักดนตรีบำบัด นักดนตรีบำบัดประเมินการ และกำหนดเป้าหมายเพื่อวางแผนกิจกรรมดนตรีบำบัด
3. เข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยกิจกรรมดนตรีบำบัดต่างๆ
4. นักดนตรีบำบัดทำการวัดผล ประสิทธิผลการใช้ดนตรีบำบัด

ผู้เขียน: คุณพริมา สิทธิอำนวย ที่ปรึกษาด้านดนตรีบำบัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพจิต
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 15/10/2024

โปรแกรมอื่นๆ