"ฝีดาษลิง" โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ต้องระวัง
อีกหนึ่งโรคที่กำลังแพร่ระบาดในสหราชอาณาจักรและแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในยุโรบ สำหรับโรคฝีดาษลิง หลังจากพบผู้ป่วยที่ประเทศอังกฤษ ก่อนพบผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศอื่นๆ ของยุโรป กระทั่งมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ราย ในยุโรปนั้น ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบในประเทศไทยก็ตาม วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องของโรคฝีดาษลิง เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังมาบอกค่ะ
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น โรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง แคเมอรูน คองโก ไลบีเรีย ไนจีเรีย เซียร์ราลีโอน และกาบอง
โรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้ โดยคนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ถึงแม้ว่าการแพร่เชื้อจากคนสู่คนจะมีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
อาการของโรคฝีดาษลิง
เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจเกิดขึ้นบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ก่อนจะกลายเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการจะปรากฏราววันที่ 7-14 วัน หลังได้รับเชื้อ อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก
วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น โรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง แคเมอรูน คองโก ไลบีเรีย ไนจีเรีย เซียร์ราลีโอน และกาบอง
โรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้ โดยคนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ถึงแม้ว่าการแพร่เชื้อจากคนสู่คนจะมีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
อาการของโรคฝีดาษลิง
เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจเกิดขึ้นบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ก่อนจะกลายเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการจะปรากฏราววันที่ 7-14 วัน หลังได้รับเชื้อ อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก
วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติ มาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
- หลีกเลี่ยงการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
- กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์อายุรกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 25/05/2022
แพทย์ผู้เขียน
พญ. พัณณวดี อุปถัมภ์นรากร
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคติดเชื้อและโรคเขตร้อน