โรคมาลาเรีย ภัยร้ายที่มาจากยุง
โรคมาลาเรีย เป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต โดยเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงก้นปล่องเพศเมีย โดยยุงก้นปล่องอาศัยได้หลายที่ เช่น บ้านเรือน ป่า ภูเขา จึงพบมากในชนบทที่อยู่แถวชายป่า ชอบวางไข่ในแหล่งน้ำใสไหลริน แอ่งน้ำสะอาด ธารน้ำไหล หรือน้ำตก มักพบการติดเชื้อในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย
อาการ
ผู้ที่ได้รับเชื้อมาลาเรียโดยถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัด ประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มไม่สบาย 2-3 วันแรกอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัวเมื่อยหลัง คล้ายไข้หวัดใหญ่ ต่อมาจะมีอาการ “ไข้จับสั่น” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย การจับไข้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะหนาว เริ่มด้วยมีไข้ขึ้นหนาว ต่อมาสั่น ผิวหนังมักจะซีด
2. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยจะรู้สึกร้อน ปวดศีรษะมาก กระสับกระส่าย เพ้อ เด็กมักชัก ผิวหนังแห้ง แดง ร้อนผ่าว กระหายน้ำ
3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะเริ่มเหงื่อออก ไข้ค่อยๆ ลดลงจนผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียอาจหลับไป
การรักษามาลาเรีย
มาลาเรียรักษาได้ หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที แพทย์จะรักษาด้วยการดูแลประคับประคองอาการ รวมทั้งบำบัดรักษาภาวะแทรกซ้อน และให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย (Antimalarial) ซึ่งการเลือกชนิดของยาหรือรูปแบบการให้ยาจะประกอบไปด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ชนิดของโปรโตซัว ความรุนแรงของอาการ อายุของผู้ป่วย การตั้งครรภ์ รวมไปถึงการดื้อยา
การป้องกันโรค
- หากจำเป็นต้องเข้าไปค้างแรมในป่า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยากินป้องกันโรคและปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ใช้ยาจุดรมควันเพื่อไล่ยุงเวลานอนในป่า เพื่อช่วยลดการถูกยุงกัดได้
- ควรนอนในมุ้งเวลานอนในป่า
- วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการทายากันยุง โดยเฉพาะชนิดที่ป้องกันได้นาน ๆ
- ภายหลังกลับจากค้างแรมในป่าในระยะหนึ่งเดือน หากมีไข้ควรรีบปรึกษาแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
อาการ
ผู้ที่ได้รับเชื้อมาลาเรียโดยถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัด ประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มไม่สบาย 2-3 วันแรกอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัวเมื่อยหลัง คล้ายไข้หวัดใหญ่ ต่อมาจะมีอาการ “ไข้จับสั่น” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย การจับไข้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะหนาว เริ่มด้วยมีไข้ขึ้นหนาว ต่อมาสั่น ผิวหนังมักจะซีด
2. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยจะรู้สึกร้อน ปวดศีรษะมาก กระสับกระส่าย เพ้อ เด็กมักชัก ผิวหนังแห้ง แดง ร้อนผ่าว กระหายน้ำ
3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะเริ่มเหงื่อออก ไข้ค่อยๆ ลดลงจนผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียอาจหลับไป
การรักษามาลาเรีย
มาลาเรียรักษาได้ หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที แพทย์จะรักษาด้วยการดูแลประคับประคองอาการ รวมทั้งบำบัดรักษาภาวะแทรกซ้อน และให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย (Antimalarial) ซึ่งการเลือกชนิดของยาหรือรูปแบบการให้ยาจะประกอบไปด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ชนิดของโปรโตซัว ความรุนแรงของอาการ อายุของผู้ป่วย การตั้งครรภ์ รวมไปถึงการดื้อยา
การป้องกันโรค
- หากจำเป็นต้องเข้าไปค้างแรมในป่า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยากินป้องกันโรคและปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ใช้ยาจุดรมควันเพื่อไล่ยุงเวลานอนในป่า เพื่อช่วยลดการถูกยุงกัดได้
- ควรนอนในมุ้งเวลานอนในป่า
- วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการทายากันยุง โดยเฉพาะชนิดที่ป้องกันได้นาน ๆ
- ภายหลังกลับจากค้างแรมในป่าในระยะหนึ่งเดือน หากมีไข้ควรรีบปรึกษาแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์อายุรกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 25/04/2020
แพทย์ผู้เขียน
พญ. พัณณวดี อุปถัมภ์นรากร
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคติดเชื้อและโรคเขตร้อน