รักหัวใจใส่ใจคอเลสเตอรอล
เมื่อพูดถึงเรื่องคอเลสเตอรอล หากมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองได้นะคะ วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกียวกับเรื่องของคอเลสเตอรอลว่าส่งผลต่อระบบหัวใจอย่างไรบ้างมาฝากค่ะ
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง พบได้ในอาหารและพบได้ในเซลล์ทั่วไปของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมาเองได้ เช่น สมอง ไขสันหลัง ตับ และผนังหลอดเลือดแดง เป็นต้น นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังอาจจะได้รับมาจากการทานอาหารเข้าไปได้อีกด้วย แต่หากเราไม่ดูแลและควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น เนื่องจากคอเลสเตอรอลจะไปเกาะตัวกันบนผนังหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
ภาวะคอเลสเตอรอลสูงไม่ส่งผลให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน แต่จะค่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากคอเลสเตอรอลไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดจนหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น และทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงจนกลายเป็นสาเหตุของอาการที่ตามมาคือ
ไขมันสูง สูงเท่าไร จึงเป็นอันตราย
จากข้อมูลการศึกษาต่าง ๆ พบว่าระดับไขมันคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแน่นอน และหากไขมันคอเลสเตอรอล (รวม) มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อัตราเสี่ยงนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะต้องมีระดับไขมัน ดังนี้
คอเลสเตอรอล (รวม) (Total cholesterol)
- ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- เริ่มสูง คือ 200-239 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูง คือ มากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
แอล-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol)
- ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 115 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูง คือ มากกว่า 116-190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูงมาก คือ มากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
สำหรับ แอล-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol) ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ควรให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานาน จะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้
เอช-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (HDL- Cholesterol)
- ระดับที่เหมาะสม มากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูง (เป็นผลดี) มากกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)
- ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
การป้องกันคอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอลสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้นะคะ ซึ่งสามารถทำได้ตามนี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง พบได้ในอาหารและพบได้ในเซลล์ทั่วไปของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมาเองได้ เช่น สมอง ไขสันหลัง ตับ และผนังหลอดเลือดแดง เป็นต้น นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังอาจจะได้รับมาจากการทานอาหารเข้าไปได้อีกด้วย แต่หากเราไม่ดูแลและควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น เนื่องจากคอเลสเตอรอลจะไปเกาะตัวกันบนผนังหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
ภาวะคอเลสเตอรอลสูงไม่ส่งผลให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน แต่จะค่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากคอเลสเตอรอลไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดจนหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น และทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงจนกลายเป็นสาเหตุของอาการที่ตามมาคือ
- หัวใจขาดเลือด มีอาการแน่น หรือเจ็บหน้าอก และหายใจลำบาก เนื่องจากไขมันในเส้นเลือดสะสมอยู่ภายในหลอดเลือดทำให้เลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง
- หลอดเลือดสมอง เป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้
ไขมันสูง สูงเท่าไร จึงเป็นอันตราย
จากข้อมูลการศึกษาต่าง ๆ พบว่าระดับไขมันคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแน่นอน และหากไขมันคอเลสเตอรอล (รวม) มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อัตราเสี่ยงนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะต้องมีระดับไขมัน ดังนี้
คอเลสเตอรอล (รวม) (Total cholesterol)
- ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- เริ่มสูง คือ 200-239 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูง คือ มากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
แอล-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol)
- ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 115 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูง คือ มากกว่า 116-190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูงมาก คือ มากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
สำหรับ แอล-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol) ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ควรให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานาน จะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้
เอช-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (HDL- Cholesterol)
- ระดับที่เหมาะสม มากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- สูง (เป็นผลดี) มากกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)
- ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
การป้องกันคอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอลสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้นะคะ ซึ่งสามารถทำได้ตามนี้
- รับประทานไขมันดีในปริมาณที่พอเหมาะ
- รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชให้มากขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนลงพุง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 09/09/2020
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคหัวใจ