Lifestyle แบบนี้ ไม่ดีต่อชีวิตคู่
Lifestyle การใช้ชีวิตคู่ นอกจากจะมีผลต่อความยืนยาวของชีวิตคู่แล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพอีกด้วย โดยเฉพาะคู่รักที่อยากมีลูก ต้องทำอย่างไร Lifestyle แบบไหน ถึงเรียกว่าใช่ทั้งความสนุกในการใช้ชีวิต และปลอดภัยกับชีวิตคู่
เป็นความผิดปกติจากการที่เรามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานเกินความต้องการจนสะสมในรูปแบบของไขมัน โดยจากสถิติองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ประชากรมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกอยู่ในสภาวะอ้วนและประเทศไทยมีสภาวะนี้มากกว่า 16 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียและส่วนมากอยู่ในวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่เหมาะสมแก่การสร้างครอบครัวพอดิบพอดี
ผลจากความอ้วนที่เกิดขึ้นกับชีวิตคู่ หากเป็นในชีวิตประจำวันแล้ว หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “มีความสุขเลยทานได้เต็มที่” แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คู่ของคุณหมดความมั่นใจในการออกไปไหนมาไหนกับคุณได้จนหลงปันใจไปได้
หากพูดถึงปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย หรือทั้งคู่นั้น ความอ้วนจะทำให้คุณประสบปัญหาโรคภัย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง รวมถึงเบาหวานที่เป็นของคู่กัน ในกรณีที่ต้องการมีบุตร คู่รักคนอ้วนมักประสบภาวะมีบุตรยาก อีกด้วย
“วัดอย่างไรว่านํ้าหนักเกินหรือไม่ ?”
หากยังไม่แน่ใจว่านํ้าหนักของตนเองนั้นอยู่ในระดับที่ดีแล้วหรือยัง เราสามารถวัดได้จากการคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งระดับที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 18.5 - 24.9
ผู้ชายที่มีนํ้าหนักตัวมากจะทำให้อสุจิอ่อนแอ ซึ่งมีสาเหตุมากจากระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างอสุจิผิดปกติและมีชั้นไขมันที่โอบล้อมถุงอัณฑะมากขึ้น ทำให้ถุงอัณฑะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนทำลายตัวอสุจิและทำให้ความรู้สึกทางเพศตํ่าลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ในขณะที่ผู้หญิงความอ้วนจะทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ ซึ่งสารนี้จะส่งผลให้การตกไข่ผิดปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรค Polycystic Ovary Syndrome หรือภาวะที่รังไข่มีถุงนํ้าเล็กๆ หลายใบ โดยสิ่งนี้เองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีบุตรยากแ ละหากเกิดการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติได้บ่อย
อย่างไรก็ดี ความอ้วนใช่ว่าจะไม่มีผลต่อชีวิตคู่เลย และการมีบุตรยาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนํ้าหนักตัวเพียงอย่างเดียวแต่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะต้องทำการตรวจและศึกษาต่อไป
"ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาใหญ่ในวัย 30 ปลายๆ"
ปัญหาของชีวิตคู่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องสรีระ อารมณ์ หรือน้ำหนักตามที่กล่าวไปเท่านั้น แต่อายุก็มีผลต่อชีวิตคู่เช่นกัน สำหรับชีวิตคู่ในวัย 30 ปลายๆ ถือเป็นวัยที่มีฐานะ การงานมั่นคงเหมาะสม มีเหตุมีผล โตเป็นผู้ใหญ่ แต่ใช่ว่าจะดีไปทุกเรื่อง เพราะหากคุณคิดว่าจะใช้ชีวิตคู่ มีลูก มีครอบครัวที่อบอุ่น พร้อมหน้าพร้อมตา พ่อ แม่ ลูก แล้วละก็ คงจะยากขึ้นตามอายุ ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ว่ากันว่าเมื่อก้าวผ่านอายุเลข 3 การตั้งครรภ์อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่คิด คุณพ่ออายุมากยังไม่ค่อยมีปัญหา แต่หากคุณแม่อายุมาก จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เด็กไม่สมบูรณ์ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของคุณแม่ ที่มีผลจากข้อจำกัดทางร่างกายที่เสื่อมลง
แม้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ที่ได้เก็บข้อมูลจากคุณเเม่จำนวน 1,800 คน จะบอกว่าอายุ 34 ปี เป็นช่วงที่เหมาะต่อการมีลูกคนแรก เนื่องจากความพร้อมทั้งเสถียรภาพทางการเงินและวุฒิภาวะ แต่จากความเห็นของคุณหมอหลายๆ ท่าน หลายๆ สำนัก กลับมีความเห็นว่า วัยที่มีความเหมาะสมกับการมีลูกของฝ่ายหญิง คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี เพราะร่างกายมีความสมบูรณ์เต็มที่ มีภาวะเจริญพันธุ์สูง มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าคู่รักที่มีอายุเยอะกว่านี้
ในผู้หญิงที่มีอายุมาก นอกจากจะต้องเผชิญกับภาวะ “มีบุตรยากแล้ว” ยังมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ ภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิงที่มีอายุมาก อาจเกิดจากอัตราการตกไข่ที่น้อยลง หากตั้งครรภ์ก็มีความเสี่ยงต่อภาวะโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ในผู้หญิง ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome) และมีภาวะออทิสติค (Autistic) เพิ่มขึ้น
แต่อายุน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เพราะในวัยที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ลูกในท้องรวมถึงตัวผู้เป็นแม่เองอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในขณะตั้งครรภ์ และยังมีโอกาสผ่าคลอดสูง เนื่องจากกระดูกเชิงกรานของฝ่ายหญิงยังมีขนาดเล็ก ทำให้คลอดธรรมชาติได้ยาก แล้วช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดควรแค่ไหน ?
ถึงอย่างนั้น คู่รักวัย 30 ปลายๆ ที่อยากมีลูก ก็ยังไม่ถือว่าหมดหวังซะทีเดียว เพราะถ้าคุณทั้งคู่มีสุขภาพที่ดี มีร่างกายที่พร้อม ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ยังสามารถมีลูกอย่างปลอดภัยได้เช่นกัน
"ใช้ชีวิตฮาร์ดคอร์แบบนี้ มีลูกยากไหม ?"
ทั้งหมดทั้งมวลนั้น จะบอกว่าไม่ใช่แค่ความอ้วนและอายุเท่านั้น พฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็มีส่วน คิดจะมีลูกตอนอายุมากว่ายากแล้ว ถ้าคุณเป็นสายปาร์ตี้ กินเหล้า สูบบุหรี่ ยิ่งทำให้มีลูกยากเข้าไปใหญ่ เริ่มจากคนที่สูบบุหรี่ เข้าใจว่าชีวิตวัยรุ่น ก็อาจจะต้องมีบ้างสำหรับสายปาร์ตี้ ที่จะต้องสูบบุหรี่บ้างเป็นครั้งคราว หรือบางคนอาจจะติดเป็นนิสัยกับการสูบบุหรี่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ส่วนประกอบของควันบุหรี่เมื่อสูบเข้าไปแล้วนั้น จะไปฝังตัวเองกับเซลล์ในโครงสร้างรังไข่ และหยุดกระบวนการทำให้ไข่สุก ทำให้ไข่ต้องติดอยู่ในถุงไข่ที่ไม่ทำงาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ คุณจะยิ่งมีลูกยากเป็นทวีคูน เนื่องจากบุหรี่นั้นไปหยุดการตกไข่อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้เราก็ขอเตือนกับผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เช่นกัน เพราะแอลกอฮอล์นั้นจะไปรบกวนการทำงานตามปกติของฮอร์โมนในแต่ละรอบเดือน จนทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตก จนทำให้มีลูกยาก
คิดง่ายๆ คือ สิ่งเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัว ส่งผลให้อวัยวะภายในทำงานได้ไม่ดี นำไปสู่ “ภาวะมีบุตรยาก” นั่นเอง
อีกหนึ่งสาเหตุการมีบุตรยาก ที่คู่รักอายุมากไม่ควรละเลย นั่นก็คือ ความเครียด เพราะความเครียดจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้ฝ่ายหญิงเกิดภาวะไม่ตกไข่ ทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวได้ยาก และยังทำให้อสุจิในเพศชายลดจำนวนลง ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ต่ำลง จนถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่ออายุมากแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพกายควบคู่ไปกับสุขภาพจิต เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงมีลูกยากได้แล้ว ทั้งนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาการทางการแพทย์ สามารถช่วยให้มีบุตรง่ายขึ้นได้ ที่ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคลินิคผู้มีบุตรยากคอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาสำหรับผู้มีบุตรยากในทุกกรณี ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า “มีบุตรยาก รักษาได้”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
"คู่รักนักกิน อ้วนแล้วมีผลอย่างไรต่อชีวิตคู่ ?"โรคอ้วน (Obesity)
เป็นความผิดปกติจากการที่เรามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานเกินความต้องการจนสะสมในรูปแบบของไขมัน โดยจากสถิติองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ประชากรมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกอยู่ในสภาวะอ้วนและประเทศไทยมีสภาวะนี้มากกว่า 16 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียและส่วนมากอยู่ในวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่เหมาะสมแก่การสร้างครอบครัวพอดิบพอดี
ผลจากความอ้วนที่เกิดขึ้นกับชีวิตคู่ หากเป็นในชีวิตประจำวันแล้ว หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “มีความสุขเลยทานได้เต็มที่” แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คู่ของคุณหมดความมั่นใจในการออกไปไหนมาไหนกับคุณได้จนหลงปันใจไปได้
หากพูดถึงปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย หรือทั้งคู่นั้น ความอ้วนจะทำให้คุณประสบปัญหาโรคภัย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง รวมถึงเบาหวานที่เป็นของคู่กัน ในกรณีที่ต้องการมีบุตร คู่รักคนอ้วนมักประสบภาวะมีบุตรยาก อีกด้วย
“วัดอย่างไรว่านํ้าหนักเกินหรือไม่ ?”
หากยังไม่แน่ใจว่านํ้าหนักของตนเองนั้นอยู่ในระดับที่ดีแล้วหรือยัง เราสามารถวัดได้จากการคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งระดับที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 18.5 - 24.9
ผู้ชายที่มีนํ้าหนักตัวมากจะทำให้อสุจิอ่อนแอ ซึ่งมีสาเหตุมากจากระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างอสุจิผิดปกติและมีชั้นไขมันที่โอบล้อมถุงอัณฑะมากขึ้น ทำให้ถุงอัณฑะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนทำลายตัวอสุจิและทำให้ความรู้สึกทางเพศตํ่าลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ในขณะที่ผู้หญิงความอ้วนจะทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ ซึ่งสารนี้จะส่งผลให้การตกไข่ผิดปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรค Polycystic Ovary Syndrome หรือภาวะที่รังไข่มีถุงนํ้าเล็กๆ หลายใบ โดยสิ่งนี้เองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีบุตรยากแ ละหากเกิดการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติได้บ่อย
อย่างไรก็ดี ความอ้วนใช่ว่าจะไม่มีผลต่อชีวิตคู่เลย และการมีบุตรยาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนํ้าหนักตัวเพียงอย่างเดียวแต่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะต้องทำการตรวจและศึกษาต่อไป
"ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาใหญ่ในวัย 30 ปลายๆ"
ปัญหาของชีวิตคู่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องสรีระ อารมณ์ หรือน้ำหนักตามที่กล่าวไปเท่านั้น แต่อายุก็มีผลต่อชีวิตคู่เช่นกัน สำหรับชีวิตคู่ในวัย 30 ปลายๆ ถือเป็นวัยที่มีฐานะ การงานมั่นคงเหมาะสม มีเหตุมีผล โตเป็นผู้ใหญ่ แต่ใช่ว่าจะดีไปทุกเรื่อง เพราะหากคุณคิดว่าจะใช้ชีวิตคู่ มีลูก มีครอบครัวที่อบอุ่น พร้อมหน้าพร้อมตา พ่อ แม่ ลูก แล้วละก็ คงจะยากขึ้นตามอายุ ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ว่ากันว่าเมื่อก้าวผ่านอายุเลข 3 การตั้งครรภ์อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่คิด คุณพ่ออายุมากยังไม่ค่อยมีปัญหา แต่หากคุณแม่อายุมาก จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เด็กไม่สมบูรณ์ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของคุณแม่ ที่มีผลจากข้อจำกัดทางร่างกายที่เสื่อมลง
แม้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ที่ได้เก็บข้อมูลจากคุณเเม่จำนวน 1,800 คน จะบอกว่าอายุ 34 ปี เป็นช่วงที่เหมาะต่อการมีลูกคนแรก เนื่องจากความพร้อมทั้งเสถียรภาพทางการเงินและวุฒิภาวะ แต่จากความเห็นของคุณหมอหลายๆ ท่าน หลายๆ สำนัก กลับมีความเห็นว่า วัยที่มีความเหมาะสมกับการมีลูกของฝ่ายหญิง คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี เพราะร่างกายมีความสมบูรณ์เต็มที่ มีภาวะเจริญพันธุ์สูง มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าคู่รักที่มีอายุเยอะกว่านี้
ในผู้หญิงที่มีอายุมาก นอกจากจะต้องเผชิญกับภาวะ “มีบุตรยากแล้ว” ยังมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ ภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิงที่มีอายุมาก อาจเกิดจากอัตราการตกไข่ที่น้อยลง หากตั้งครรภ์ก็มีความเสี่ยงต่อภาวะโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ในผู้หญิง ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome) และมีภาวะออทิสติค (Autistic) เพิ่มขึ้น
แต่อายุน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เพราะในวัยที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ลูกในท้องรวมถึงตัวผู้เป็นแม่เองอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในขณะตั้งครรภ์ และยังมีโอกาสผ่าคลอดสูง เนื่องจากกระดูกเชิงกรานของฝ่ายหญิงยังมีขนาดเล็ก ทำให้คลอดธรรมชาติได้ยาก แล้วช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดควรแค่ไหน ?
ถึงอย่างนั้น คู่รักวัย 30 ปลายๆ ที่อยากมีลูก ก็ยังไม่ถือว่าหมดหวังซะทีเดียว เพราะถ้าคุณทั้งคู่มีสุขภาพที่ดี มีร่างกายที่พร้อม ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ยังสามารถมีลูกอย่างปลอดภัยได้เช่นกัน
"ใช้ชีวิตฮาร์ดคอร์แบบนี้ มีลูกยากไหม ?"
ทั้งหมดทั้งมวลนั้น จะบอกว่าไม่ใช่แค่ความอ้วนและอายุเท่านั้น พฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็มีส่วน คิดจะมีลูกตอนอายุมากว่ายากแล้ว ถ้าคุณเป็นสายปาร์ตี้ กินเหล้า สูบบุหรี่ ยิ่งทำให้มีลูกยากเข้าไปใหญ่ เริ่มจากคนที่สูบบุหรี่ เข้าใจว่าชีวิตวัยรุ่น ก็อาจจะต้องมีบ้างสำหรับสายปาร์ตี้ ที่จะต้องสูบบุหรี่บ้างเป็นครั้งคราว หรือบางคนอาจจะติดเป็นนิสัยกับการสูบบุหรี่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ส่วนประกอบของควันบุหรี่เมื่อสูบเข้าไปแล้วนั้น จะไปฝังตัวเองกับเซลล์ในโครงสร้างรังไข่ และหยุดกระบวนการทำให้ไข่สุก ทำให้ไข่ต้องติดอยู่ในถุงไข่ที่ไม่ทำงาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ คุณจะยิ่งมีลูกยากเป็นทวีคูน เนื่องจากบุหรี่นั้นไปหยุดการตกไข่อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้เราก็ขอเตือนกับผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เช่นกัน เพราะแอลกอฮอล์นั้นจะไปรบกวนการทำงานตามปกติของฮอร์โมนในแต่ละรอบเดือน จนทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตก จนทำให้มีลูกยาก
คิดง่ายๆ คือ สิ่งเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัว ส่งผลให้อวัยวะภายในทำงานได้ไม่ดี นำไปสู่ “ภาวะมีบุตรยาก” นั่นเอง
อีกหนึ่งสาเหตุการมีบุตรยาก ที่คู่รักอายุมากไม่ควรละเลย นั่นก็คือ ความเครียด เพราะความเครียดจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้ฝ่ายหญิงเกิดภาวะไม่ตกไข่ ทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวได้ยาก และยังทำให้อสุจิในเพศชายลดจำนวนลง ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ต่ำลง จนถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่ออายุมากแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพกายควบคู่ไปกับสุขภาพจิต เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงมีลูกยากได้แล้ว ทั้งนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาการทางการแพทย์ สามารถช่วยให้มีบุตรง่ายขึ้นได้ ที่ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคลินิคผู้มีบุตรยากคอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาสำหรับผู้มีบุตรยากในทุกกรณี ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า “มีบุตรยาก รักษาได้”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 15/02/2018
แพทย์ผู้เขียน
พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านรักษาผู้มีบุตรยาก