ระดับขั้นความร้ายแรงของการมีบุตรยาก
ปัญหาการมีบุตรยาก สังเกตุอาการได้ง่าย ๆ จากคู่ที่อยู่ร่วมกันและมีเพศสัมพันธ์กันตามปกติ โดยไม่ป้องกันเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่พบว่าเกิดทั้งจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง คิดเป็นอัตราส่วน ฝ่ายหญิงประมาณ 40% ฝ่ายชายประมาณ 25% ทั้ง 2 ฝ่าย 20% และไม่ทราบสาเหตุประมาณ 15 % ซึ่งสิ่งนี้มีหลากหลายความคิดเห็นและข้อสงสัยของการมีบุตรยาก ยังคงต้องค้นหากันต่อไป แต่อย่างไรก็ขอยกตัวอย่าง ลำดับขั้นความรุนแรงสัก 3 ลำดับ ดังนี้
"ความรุนแรงของการมีบุตรยาก ระดับที่ 1 "
ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไม่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาก่อน พูดง่ายว่าร่างกายอาจพร้อมมีบุตรแต่เพียงรุกไม่ถูกวิธี ซึ่งคนเดี๋ยวนี้แต่งงานเร็ว แต่มักรีรอ จนกลายเป็นลูกช้า โดยช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมกับการมีลูกอยู่ในช่วง 20-30 ปี ทั้งนี้หากอยากเปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เรามีเทคนิคมาบอกกัน
"ความรุนแรงของการมีบุตรยาก ระดับที่ 2 "
การหาสาเหตุของการมีบุตรยาก มีความจำเป็นต้องตรวจทั้ง 2 ฝ่าย อันพบสาเหตุจากฝ่ายหญิง คือ อายุมากภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน เนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และสาเหตุจากฝ่ายชาย เช่น อสุจิน้อย ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เป็นต้น สำหรับปัญหาที่ถือเป็นขั้นแรกของการมีบุตรยาก และมีแนวทางการรักษาได้ง่าย สัดส่วนที่ทำให้เกิดภาวะนี้มักจะมีส่วนทั้งหญิงและชายคนละ 30% ส่วนที่เหลืออีก 40% อาจเป็นปัญหาที่มีร่วมกันหรือที่ไม่ทราบสาเหตุ
ในผู้หญิง เกิดจาก อายุ ที่อายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ 35 ปีไปแล้ว หรือโรคประจำตัว เช่น ปัญหาการตกไข่ พังผืดในอุ้งเชิงกราน หรือท่อนำไข่อุดตัน จากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ในผู้ชาย เกิดจากพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อัณฑะค้าง เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ (หลอดเลือดอัณฑะขอด)
หากเป็นเพียงระดับที่ 1 ให้ลองปฏิบัติตนตามนี้
โดยไม่ควรหักโหมในการมีเพศสัมพันธ์บ่อยเกินกว่าที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากอาจส่งผลให้จำนวนอสุจิน้อยลง แต่ในทางกลับกันการมีเพศสัมพันธ์น้อยเกินไป เช่น น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง ก็สามารถทำให้อสุจิไม่เคลื่อนไหวได้
"ความรุนแรงของการมีบุตรยาก ระดับที่ 3 "
ความรุนแรงขั้นสุดท้ายที่เราอยากนำเสนอเกี่ยวกับการมีบุตรยาก อาจไม่ใช้ความรุนแรงในเรื่องของสภาพร่างกาย จิตใจ หรือเงินทอง แต่เป็นการที่ เราไม่สามารถหาสาเหตุในการมีบุตรยากของคุณและคู่ได้ สิ่งนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันอีกนาน และคงต้องลองผิดลองถูกเพื่อให้คู่ที่ประสบปัญหาการมีบุตรยาก ได้มีลูกอย่างสมใจ ซึ่งวิธีรักษาก็มีมากมาย คุณสามารถเลือกที่เหมาะสมกับตัวคุณ คู่ของคุณ และเงินกระเป๋าของคุณได้ โดยสิ่งนี้คุณสามารถศึกษาได้ ในบาทความ “ทางเลือกในการรักษาของผู้มีบุตรยาก” โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
ด้วยปัจจุบันแนวโน้มผู้มีบุตรยากสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คงต้องประเมินหาสาเหตุกันต่อไป ทั้งนี้ สิ่งที่จะช่วยลดปัญหาการมีบุตรยากได้ง่ายที่สุด คือ การมีบุตรในช่วงวัยที่เหมาะสม โดยฝ่ายหญิง มีอายุระหว่าง 21-25 ปี หลังจากนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ลดลง หากมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ก็อาจควรได้รับการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยากได้ และฝ่ายชาย ควรอยู่ในวัยที่มีอายุไม่เกิน 55 ปี มิเช่นนั้นจะมีความผิดปกติของอสุจิมากขึ้นตามลำดับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
"ความรุนแรงของการมีบุตรยาก ระดับที่ 1 "
ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไม่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาก่อน พูดง่ายว่าร่างกายอาจพร้อมมีบุตรแต่เพียงรุกไม่ถูกวิธี ซึ่งคนเดี๋ยวนี้แต่งงานเร็ว แต่มักรีรอ จนกลายเป็นลูกช้า โดยช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมกับการมีลูกอยู่ในช่วง 20-30 ปี ทั้งนี้หากอยากเปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เรามีเทคนิคมาบอกกัน
- วางแผนตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งต้องเป็นช่วงอายุที่เหมาะสมนะจ๊ะ
- ฝึกฝนการนับวันไข่ตกใหเ้ถูกต้อง
- ห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด อันนี้เราบอกในทุกบทความ
- รักษรูปร่าง สุขภาพ ร่างกายให้พอดี คือไม่อ้วน ไม่ผอมจนเกินไปนั่นเอง
- กินอาหารอย่างสมดุล
- ขยันทำการบ้าน แต่ก็ไม่ใช่ถี่จนเกินไป แนะนำช่วงก่อนหรือหลังวันไข่ตกไม่เกิน 3 ด้วย
- สนใจอาหารการกินว่ามีสารอาหารใดบ้าง เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟลิก และวิตามิน D หรือคู่ที่กินมังสวิรัติ หรือไม่ชอบทานเนื้อสัตว์ ควรกินวิตามิน B12 หรือวิตามินรวมร่วม
- ออกกำลังกายแต่พอเหมาะ
- ไม่ดื่มหนัก
"ความรุนแรงของการมีบุตรยาก ระดับที่ 2 "
การหาสาเหตุของการมีบุตรยาก มีความจำเป็นต้องตรวจทั้ง 2 ฝ่าย อันพบสาเหตุจากฝ่ายหญิง คือ อายุมากภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน เนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และสาเหตุจากฝ่ายชาย เช่น อสุจิน้อย ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เป็นต้น สำหรับปัญหาที่ถือเป็นขั้นแรกของการมีบุตรยาก และมีแนวทางการรักษาได้ง่าย สัดส่วนที่ทำให้เกิดภาวะนี้มักจะมีส่วนทั้งหญิงและชายคนละ 30% ส่วนที่เหลืออีก 40% อาจเป็นปัญหาที่มีร่วมกันหรือที่ไม่ทราบสาเหตุ
ในผู้หญิง เกิดจาก อายุ ที่อายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ 35 ปีไปแล้ว หรือโรคประจำตัว เช่น ปัญหาการตกไข่ พังผืดในอุ้งเชิงกราน หรือท่อนำไข่อุดตัน จากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ในผู้ชาย เกิดจากพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อัณฑะค้าง เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ (หลอดเลือดอัณฑะขอด)
หากเป็นเพียงระดับที่ 1 ให้ลองปฏิบัติตนตามนี้
- มีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเพิ่มความถี่เป็น 2 วัน/ครั้ง ในช่วงที่ไข่ตก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติด
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและจัดการความเครียด
- ปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์
โดยไม่ควรหักโหมในการมีเพศสัมพันธ์บ่อยเกินกว่าที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากอาจส่งผลให้จำนวนอสุจิน้อยลง แต่ในทางกลับกันการมีเพศสัมพันธ์น้อยเกินไป เช่น น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง ก็สามารถทำให้อสุจิไม่เคลื่อนไหวได้
"ความรุนแรงของการมีบุตรยาก ระดับที่ 3 "
ความรุนแรงขั้นสุดท้ายที่เราอยากนำเสนอเกี่ยวกับการมีบุตรยาก อาจไม่ใช้ความรุนแรงในเรื่องของสภาพร่างกาย จิตใจ หรือเงินทอง แต่เป็นการที่ เราไม่สามารถหาสาเหตุในการมีบุตรยากของคุณและคู่ได้ สิ่งนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันอีกนาน และคงต้องลองผิดลองถูกเพื่อให้คู่ที่ประสบปัญหาการมีบุตรยาก ได้มีลูกอย่างสมใจ ซึ่งวิธีรักษาก็มีมากมาย คุณสามารถเลือกที่เหมาะสมกับตัวคุณ คู่ของคุณ และเงินกระเป๋าของคุณได้ โดยสิ่งนี้คุณสามารถศึกษาได้ ในบาทความ “ทางเลือกในการรักษาของผู้มีบุตรยาก” โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
ด้วยปัจจุบันแนวโน้มผู้มีบุตรยากสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คงต้องประเมินหาสาเหตุกันต่อไป ทั้งนี้ สิ่งที่จะช่วยลดปัญหาการมีบุตรยากได้ง่ายที่สุด คือ การมีบุตรในช่วงวัยที่เหมาะสม โดยฝ่ายหญิง มีอายุระหว่าง 21-25 ปี หลังจากนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ลดลง หากมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ก็อาจควรได้รับการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยากได้ และฝ่ายชาย ควรอยู่ในวัยที่มีอายุไม่เกิน 55 ปี มิเช่นนั้นจะมีความผิดปกติของอสุจิมากขึ้นตามลำดับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านรักษาผู้มีบุตรยาก