• banner

เด็กหลอดแก้ว คืออะไร?

"รู้จักกับการรักษาการมีบุตรยาก ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว"
การทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เป็นวิธีการรักษาโรคมีบุตรยากด้วยวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในหลอดทดลอง จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่ได้มาเพาะเลี้ยงต่อจนอายุ 3-5 วัน จึงนำกลับเข้าสู่ร่างกายฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ต่อไป

IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว ก็เป็นนวัตกรรมที่มีความทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้อย่างที่ต้องการ แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นมากที่สุด ได้แก่
  1. รังไข่บวม เนื่องจากได้รับฮอร์โมนกระตุ้นมากเกินไป
  2. ตั้งครรภ์นอกมดลูก เพราะไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะเป็นมดลูก
  3. เกิดความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง
  4. ได้รับผลข้างเคียงจากยา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบและอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย
  5. เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก
  6. เสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น การติดเชื้อ เลือดออก
  7. มีโอกาสตั้งครรภ์แฝด ซึ่งหากสุขภาพของคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้

เด็กที่เกิดจากวิธีทำเด็กหลอดแก้ว จะแตกต่างจากเด็กทั่วไปหรือไม่? โดยการวิจัยของ ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย กล่าวคือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน พบว่า ไม่มีความแตกต่างใดจากทารกที่เกิดโดยวิธีธรรมชาติ มีอัตราความพิการแต่กำเนิดไม่แตกต่างกัน แต่อาจจะมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ซึ่งสิ่งนี้คงจะต้องเป็นว่าที่คุณพ่อ คุณแม่ ในการประคบประหงม โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ  50,000 – 100,000 บาทขึ้นไป ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ใน บทความ “รักษาการมีบุตรยาก : เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเงิน”

"โอกาสสำเร็จและความเสี่ยงของการทำเด็กหลอดแก้ว"
บ่อยครั้งที่มีการถามเข้ามากันบ่อยๆ ว่าการทำเด็กหลอดแก้ว จะมีโอกาสสำเร็จจนถึงตั้งครรภ์เพียงใด โดยความเป็นไปได้ของการมีลูกจากการทำเด็กหลอดแก้ว ในกลุ่มผู้หญิงอายุ 34 ปีลงมา อยู่ที่ 30-40% ในการถ่ายฝากตัวอ่อนครั้งแรก และอัตราการเกิดลดต่ำลงมากในกลุ่มผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะคุณภาพของไข่ในฝ่ายหญิงจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ และอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น ฝ่ายหญิงมีมดลูกไม่แข็งแรงหรือมดลูกทำงานผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงและเป็นอันตรายหากตั้งครรภ์

ทั้งนี้หากเป็นเช่นนั้น แน่นอนว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเอง ก็จะมีอีกหนึ่งวิธีที่ผู้อยากมีบุตรทำกัน คือ เก็บไข่และสเปิร์มของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว แล้วใส่กลับเข้าไปให้อาสาสมัครที่ไว้ใจตั้งครรภ์แทนได้ หรือหากไม่สามารถใช้สเปิร์มของฝ่ายชายได้ สามารถเลือกรับสเปิร์มที่มีผู้บริจาคได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามการรักษาการมีบุตรยากมิได้มีแต่เพียง การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เท่านั้น แต่ยังมีวิธีการอื่นๆ ซึ่งเหมาะกับอาการป่วยของแต่ละคู่ ในมุมที่แตกต่างกันไป ซึ่งสามารถเปรียบเทียบ ข้อดี - ข้อเสีย ของการทำเด็กหลอกแก้ว และเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องการมีลูกแบบอื่นๆ ได้ที่ บทความทางเลือกในการรักษาของผู้มีบุตรยาก

"การเตรียมตัวของพ่อแม่ที่ต้องการรักษา  การมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว"
ก่อนที่จะสำเร็จในข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า อนาคตคุณพ่อ คุณแม่ ที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF จนกระทั่งได้เจ้าตัวน้อยมาอุ้มต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

การปฏิบัติตนสำหรับฝ่ายหญิง
  1. เพื่อคุณภาพไข่ที่ดีควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละไม่ต่ำกว่า 2 ลิตร และรับประทานโปรตีน อย่างน้อยวันละประมาณ 60 มิลลิกรัม
  2. ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มการแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  4. ทุกครั้งที่มีการรับยาเพื่อบรรเทาอาการป่วยควรปรึกาาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  5. ออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป
  6. พักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

การปฏิบัติตนสำหรับฝ่ายชาย
  1. หลีกเลี่ยงการลงแช่อ่างน้ำอุ่นและการทำซาวน่า
  2. ไม่สวมใส่กางเกงชั้นในที่แน่นจนเกินไป
  3. งดสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ 3 เดือนขึ้นไปเช่นเดียวกับฝ่ายหญิง
  4. งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 3 วันก่อนการเก็บเชื้ออสุจิ เพื่อตรวจหรือเพื่อนำไปใช้ผสมกับไข่
  5. ออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป
  6. พักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  7. ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียดจนเกินไป

ทั้งนี้สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนคิดทำเด็กหลอดแก้ว คือ อาจไม่สำเร็จในการทำครั้งแรก แต่หากทำครั้งแรกไม่สำเร็จ สามารถทำเด็กหลอดแก้วได้อีกครั้ง ภายในระยะเวลา 1-2 เดือน หรือเตรียมจิตใจ เมื่อพร้อม โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อดูอาการอย่างต่อเนื่อง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022

แพทย์ผู้เขียน

พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

img

ความถนัดเฉพาะทาง

แพทย์ทางด้านรักษาผู้มีบุตรยาก

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา