รู้เท่าทันโรคลำไส้แปรปรวน
โรคลำไส้แปรปรวน หนึ่งในโรคระบบทางเดินทางอาหารที่ถึงแม้ว่าจะไม่อันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง และมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นอีก อาการหลัก คือ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย หรือท้องผูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงานที่มีชีวิตเร่งรีบ เคร่งเครียด โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
โรคลำไส้แปรปรวน หรือ (irritable bowel syndrome-IBS) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยซี่งส่งผลกระทบต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ อาการประกอบด้วยอาการปวดท้อง ท้องอืด แก๊ส ท้องเสีย หรือท้องผูก หรือทั้งสองอย่าง IBS เป็นภาวะเรื้อรังที่ต้องการการรักษาในระยะยาว มีเพียงจำนวนน้อยของผู้ป่วย IBS ที่มีอาการรุนแรง บางคนสามารถควบคุมอาการได้โดยการควบคุมอาหาร ปรับพฤติกรรมและความเครียด ในกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้นสามารถรักษาได้ด้วยยา และการปรึกษาส่งต่อ IBS ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อลำไส้ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการ
อาจแตกต่างกันไปแต่ปกติแล้วจะเป็นมานาน อาการที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่
• ปวดท้อง ท้องอืด หรือท้องเสียที่สัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระ
• การเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุจจาระ
• การเปลี่ยนแปลงในความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
อาการอื่นๆ ที่มักเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความรู้สึกขับถ่ายไม่หมด และแก๊สหรือมูกที่เพิ่มขึ้นในอุจจาระ
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์
หากมีพฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงอย่างเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ของ IBS ที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยอาการที่น่ากังวล คือ
• น้ำหนักลด
• ท้องเสียขณะนอนหลับ
• เลือดออกทางทวารหนัก
• โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
• อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ
• ปวดท้องที่ไม่หายหลังจากผายลม หรือขับถ่าย
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
• การบีบตัวของลำไส้ ผนังของลำไส้บุด้วยชั้นของกล้ามเนื้อที่บีบตัวเพื่อเคลื่อนอาหารผ่านทางเดินอาหาร การบีบตัวที่แรง และยาวนานกว่าปกติอาจทำให้เกิดแก๊ส ท้องอืด และท้องเสีย การบีบตัวที่เบาลงอาจทำให้อาหารเคลื่อนช้า และทำให้เกิดอุจจาระแข็งและแห้ง
• ระบบประสาท ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทในระบบย่อยอาหารอาจทำให้เกิดความไม่สบายเมื่อหน้าท้องของท่านขยายจากแก๊สหรืออุจจาระ การส่งสัญญาณระหว่างสมองและลำไส้ที่ไม่ประสานกันอาจทำให้ร่างกายของท่านตอบสนองต่อการทำงานย่อยอาหารมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด ท้องเสีย หรือท้องผูก
• การติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดขึ้นหลังจากโรคลำไส้อักเสบรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส IBS ยังอาจเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้มากเกินไป
• ความเครียดในวัยเด็ก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตึงเครียดโดยเฉพาะในวัยเด็กมักจะมีอาการของ IBS มากกว่า
• การเปลี่ยนแปลงในจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสซึ่งปกติอาศัยอยู่ในลำไส้ และมีบทบาทสำคัญในร่างกาย มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์ในผู้ที่มี IBS อาจแตกต่างจากผู้ที่ไม่มี IBS
ตัวกระตุ้น
อาการของ IBS สามารถถูกกระตุ้นได้โดย
• อาหาร บทบาทของการแพ้อาหารใน IBS ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ซี่งการแพ้อาหารจริงๆ มักไม่ทำให้เกิด IBS แต่หลายคนมีอาการ IBS แย่ลงเมื่อกินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว กะหล่ำปลี นม และน้ำอัดลม
• ความเครียด คนส่วนใหญ่ที่มี IBS มักมีอาการแย่ลง หรือเกิดบ่อยขึ้นในช่วงที่มีความเครียดเพิ่มขึ้น แต่ถึงแม้ความเครียดอาจทำให้อาการแย่ลง แต่มันไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการ
ปัจจัยเสี่ยง
หลายคนมีอาการ IBS เป็นครั้งคราว แต่มีแนวโน้มที่จะมีอาการนี้มากขึ้นหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
• อายุน้อย มักเกิดขึ้นบ่อยในคนที่อายุต่ำกว่า 50 ปี
• เป็นผู้หญิง พบได้บ่อยในผู้หญิง การบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนหรือหลังวัยหมดประจำเดือนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับ IBS
• มีประวัติครอบครัวของ IBS พันธุกรรมอาจมีผล หรืออาจเป็นสิ่งแวดล้อมในครอบครัว หรือการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
• มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ประวัติของการถูกทารุณกรรมทางเพศ ทางร่างกาย หรือทางอารมณ์ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยง
ภาวะแทรกซ้อน
การท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรังสามารถทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้
นอกจากนี้ IBS ยังเกี่ยวข้องกับ
• คุณภาพชีวิตที่แย่ลง ผู้ที่มี IBS ระดับปานกลางถึงรุนแรงระบุว่าคุณภาพชีวิตแย่ลง มีงานวิจัยต่างประเทศชี้ให้เห็นว่าคนที่มี IBS ขาดงานมากกว่าคนที่ไม่มีอาการถึงสามเท่า
• ภาวะทางอารมณ์ IBS อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวล โรคซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลก็อาจทำให้ IBS แย่ลงได้เช่นกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคลำไส้แปรปรวน หรือ (irritable bowel syndrome-IBS) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยซี่งส่งผลกระทบต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ อาการประกอบด้วยอาการปวดท้อง ท้องอืด แก๊ส ท้องเสีย หรือท้องผูก หรือทั้งสองอย่าง IBS เป็นภาวะเรื้อรังที่ต้องการการรักษาในระยะยาว มีเพียงจำนวนน้อยของผู้ป่วย IBS ที่มีอาการรุนแรง บางคนสามารถควบคุมอาการได้โดยการควบคุมอาหาร ปรับพฤติกรรมและความเครียด ในกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้นสามารถรักษาได้ด้วยยา และการปรึกษาส่งต่อ IBS ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อลำไส้ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการ
อาจแตกต่างกันไปแต่ปกติแล้วจะเป็นมานาน อาการที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่
• ปวดท้อง ท้องอืด หรือท้องเสียที่สัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระ
• การเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุจจาระ
• การเปลี่ยนแปลงในความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
อาการอื่นๆ ที่มักเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความรู้สึกขับถ่ายไม่หมด และแก๊สหรือมูกที่เพิ่มขึ้นในอุจจาระ
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์
หากมีพฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงอย่างเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ของ IBS ที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยอาการที่น่ากังวล คือ
• น้ำหนักลด
• ท้องเสียขณะนอนหลับ
• เลือดออกทางทวารหนัก
• โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
• อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ
• ปวดท้องที่ไม่หายหลังจากผายลม หรือขับถ่าย
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
• การบีบตัวของลำไส้ ผนังของลำไส้บุด้วยชั้นของกล้ามเนื้อที่บีบตัวเพื่อเคลื่อนอาหารผ่านทางเดินอาหาร การบีบตัวที่แรง และยาวนานกว่าปกติอาจทำให้เกิดแก๊ส ท้องอืด และท้องเสีย การบีบตัวที่เบาลงอาจทำให้อาหารเคลื่อนช้า และทำให้เกิดอุจจาระแข็งและแห้ง
• ระบบประสาท ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทในระบบย่อยอาหารอาจทำให้เกิดความไม่สบายเมื่อหน้าท้องของท่านขยายจากแก๊สหรืออุจจาระ การส่งสัญญาณระหว่างสมองและลำไส้ที่ไม่ประสานกันอาจทำให้ร่างกายของท่านตอบสนองต่อการทำงานย่อยอาหารมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด ท้องเสีย หรือท้องผูก
• การติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดขึ้นหลังจากโรคลำไส้อักเสบรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส IBS ยังอาจเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้มากเกินไป
• ความเครียดในวัยเด็ก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตึงเครียดโดยเฉพาะในวัยเด็กมักจะมีอาการของ IBS มากกว่า
• การเปลี่ยนแปลงในจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสซึ่งปกติอาศัยอยู่ในลำไส้ และมีบทบาทสำคัญในร่างกาย มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์ในผู้ที่มี IBS อาจแตกต่างจากผู้ที่ไม่มี IBS
ตัวกระตุ้น
อาการของ IBS สามารถถูกกระตุ้นได้โดย
• อาหาร บทบาทของการแพ้อาหารใน IBS ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ซี่งการแพ้อาหารจริงๆ มักไม่ทำให้เกิด IBS แต่หลายคนมีอาการ IBS แย่ลงเมื่อกินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว กะหล่ำปลี นม และน้ำอัดลม
• ความเครียด คนส่วนใหญ่ที่มี IBS มักมีอาการแย่ลง หรือเกิดบ่อยขึ้นในช่วงที่มีความเครียดเพิ่มขึ้น แต่ถึงแม้ความเครียดอาจทำให้อาการแย่ลง แต่มันไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการ
ปัจจัยเสี่ยง
หลายคนมีอาการ IBS เป็นครั้งคราว แต่มีแนวโน้มที่จะมีอาการนี้มากขึ้นหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
• อายุน้อย มักเกิดขึ้นบ่อยในคนที่อายุต่ำกว่า 50 ปี
• เป็นผู้หญิง พบได้บ่อยในผู้หญิง การบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนหรือหลังวัยหมดประจำเดือนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับ IBS
• มีประวัติครอบครัวของ IBS พันธุกรรมอาจมีผล หรืออาจเป็นสิ่งแวดล้อมในครอบครัว หรือการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
• มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ประวัติของการถูกทารุณกรรมทางเพศ ทางร่างกาย หรือทางอารมณ์ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยง
ภาวะแทรกซ้อน
การท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรังสามารถทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้
นอกจากนี้ IBS ยังเกี่ยวข้องกับ
• คุณภาพชีวิตที่แย่ลง ผู้ที่มี IBS ระดับปานกลางถึงรุนแรงระบุว่าคุณภาพชีวิตแย่ลง มีงานวิจัยต่างประเทศชี้ให้เห็นว่าคนที่มี IBS ขาดงานมากกว่าคนที่ไม่มีอาการถึงสามเท่า
• ภาวะทางอารมณ์ IBS อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวล โรคซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลก็อาจทำให้ IBS แย่ลงได้เช่นกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 28/10/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ภูริกร เฟื่องวรรธนะ
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร