How to ดูแลตัวเองที่บ้าน เมื่อเสี่ยงโควิด-19
จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากนั้น ในกรณีกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ แต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ที่บ้านเพื่อรอเข้ารับการรักษารอเตียง วันนี้เรามีวิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลตัวเองที่บ้านจาก นพ. ดำเกิง ตันธรรมจาริก อายุรแพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ มาบอกค่ะ
สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน
มารู้จัก Home Isolation กัน Home Isolation คือการทำให้ผู้ป่วยบางส่วนซึ่งมีอาการน้อยและไม่มีปัจจัยเสี่ยง ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน เนื่องจากการที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก จนระบบสาธารณสุขเกิดความแออัดและตึงตัว Home Isolation เหมาะกับใคร?
อาการบ่งชี้ “เมื่อโควิดมาเยือน” และวิธีปฏิบัติตน คำแนะนำท่านอนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ในกรณีมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำหรือมีอาการหอบเหนื่อย ของติดบ้าน เตรียมรับมือโควิด-19
ข้อห้าม:
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน
- มากกว่า 60% ของเชื้อที่ตรวจพบในกรุงเทพและปริมณฑล เป็นสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
- เชื้อสายพันธุ์เดลต้ามีการแพร่กระจายติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา จะสังเกตว่าในการระบาดรอบนี้ มักมีการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆ ติดกันแบบยกครอบครัว
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตรวจพบเชื้อในปริมาณที่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แพร่เชื้อได้ง่ายและก่อโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น มีปอดอักเสบได้เร็วและรุนแรง โดยจะเริ่มมีปอดอักเสบได้ตั้งแต่วันที่ 3 เทียบกับเดิมที่มักจะเกิดปอดอักเสบในวันที่ 7-8 และพบผู้ป่วยอายุน้อยมีปอดอักเวบรุนแรงได้บ่อยขึ้น
- ประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งทั้งหมดผลิตจากเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง โดยต้องมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงมากๆ จึงจะมีประสิทธิภาพป้องกันได้บ้าง
มารู้จัก Home Isolation กัน Home Isolation คือการทำให้ผู้ป่วยบางส่วนซึ่งมีอาการน้อยและไม่มีปัจจัยเสี่ยง ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน เนื่องจากการที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก จนระบบสาธารณสุขเกิดความแออัดและตึงตัว Home Isolation เหมาะกับใคร?
- ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยและไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง (ผู้ป่วยสีเขียว) สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำสุขภาพได้ ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินเบื้องต้นโดยแพทย์ และจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ประเมินความรุนแรง เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดออกซิเจน
- ลักษณะที่พักอาศัยมีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกจากผู้อื่น เช่น มีห้องส่วนตัว ห้องน้ำแยก
- มีผู้จัดหาอาหารและของใช้ที่จำเป็น โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องออกจากที่พักเอง และผู้ให้การช่วยเหลือไม่ควรเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง
- สามารถติดต่อและเดินทางมาโรงพยาบาลได้ หากมีอาการเปลี่ยนแปลง
อาการบ่งชี้ “เมื่อโควิดมาเยือน” และวิธีปฏิบัติตน คำแนะนำท่านอนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ในกรณีมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำหรือมีอาการหอบเหนื่อย ของติดบ้าน เตรียมรับมือโควิด-19
- เครื่องวัดอุณหภูมิ
- เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด
- ฟ้าทะลายโจร ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และเป็นการรักษาเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้ป้องกันโควิด-19ได้ ควรใช้เฉพาะตำรับยาที่มีการควบคุมปริมาณสาร Andrographolide ขนาดยาที่ใช้: 180 mg ของสาร Andrographolide ต่อวัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง ใช้ 5 วัน เว้น 2 วัน
ข้อห้าม:
- ห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร
- ห้ามใช้ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด และยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ห้ามใช้ต่อเนื่องเกิน 3 เดือน เพราะเป็นพิษต่อปลายประสาท ทำให้เกิดอาการปวด ชา แขนขาอ่อนแรง
- ระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีการกำจัดโดยผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (Cyp1A2, Cyp2c9, Cyp3A4)
- กระชายขาว มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสในห้องทดลอง แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงมาก และยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ ยังไม่มีการศึกษาถึงขนาดยาที่ต้องใช้เท่าใดจึงจะมีฤทธิ์เพียงพอต่อการรักษา และจะเกิดผลข้างเคียงใดหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นการรักษาหลัก
- เบอร์โทรติดต่อหลักเมื่อต้องการความช่วยเหลือ 1668, 1669, 1330
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์อายุรกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 08/02/2022
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ดำเกิง ตันธรรมจาริก
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ