สัญญาณเตือน! โรคลมแดด Heat Stroke
ยังไม่ทันเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ประเทศไทยก็เจอกับอากาศที่ร้อนจัดและมีแนวโน้มอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้พบโรคลมแดดได้บ่อยขึ้น ซึ่งสัญญาณเตือนที่ควรสังเกตจะมีอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ
โรคลมแดด (Heat Stroke) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป เกิดจากการสัมผัสกับอากาศที่ร้อนจัด หรือออกกำลังกายเป็นเวลานานโดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ
สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต
• มีไข้สูงมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
• ปวดศีรษะ มึนศีรษะคลื่นไส้ อาเจียน
• เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
• ผิวแห้งไม่มีเหงื่อ ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
• หอบหายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว
• สับสน ตอบสนองช้า ชัก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
การปฐมพยาบาล
• นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก
• ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า พ่น เพื่อระบายความร้อน
• เทน้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
• หากอาการไม่ดีขึ้น ไม่รู้สึกตัว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในช่วงที่อากาศร้อนจัด
• สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ
• สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง
• ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิของร่างกาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคลมแดด (Heat Stroke) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป เกิดจากการสัมผัสกับอากาศที่ร้อนจัด หรือออกกำลังกายเป็นเวลานานโดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ
สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต
• มีไข้สูงมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
• ปวดศีรษะ มึนศีรษะคลื่นไส้ อาเจียน
• เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
• ผิวแห้งไม่มีเหงื่อ ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
• หอบหายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว
• สับสน ตอบสนองช้า ชัก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
การปฐมพยาบาล
• นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก
• ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า พ่น เพื่อระบายความร้อน
• เทน้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
• หากอาการไม่ดีขึ้น ไม่รู้สึกตัว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในช่วงที่อากาศร้อนจัด
• สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ
• สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง
• ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิของร่างกาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์อายุรกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 18/03/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. อรุณศรี แก้วนนท์
ความถนัดเฉพาะทาง
อายุรแพทย์