มีลูกยาก แต่อยากมีลูก ทำไงดี
หากจะเอ่ยถึงความสมบูรณ์ของครอบครัว ก็คงจะต้องการมีเจ้าตัวน้อยที่เปรียบเหมือนโซ่ทองคล้องใจของพ่อแม่มาเติมเต็ม การวางแผนสร้างครอบครัวตั้งแต่แต่งงานตลอดจนการมีลูกนั้น เป็นรูปแบบที่พบได้ในสังคมปกติ แต่ความไม่ปกติของร่างกายก็อาจทำให้เรื่องธรรมดาๆ กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดา อย่างเช่นการจะมีลูกสักคน หลายๆคู่ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องยากได้
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาวะที่เราเรียกว่า “การมีลูกยาก” นั้น เป็นอย่างไร
การมีลูกยาก หมายถึง การที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเวลานานมากกว่า 1 ปี แต่ก็ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
การมีลูกยาก พบได้ในกรณีใดบ้าง การมีลูกยาก พบได้ใน 2 กรณี คือ
เมื่อพบว่ามีลูกยาก หรือสงสัยว่าเข้าข่ายการมีลูกยาก แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร
ทั้ง 2 ฝ่าย คือ สามีและภรรยา เมื่อตัดสินใจแล้วว่าอยากมีลูก ควรทำความตกลงร่วมกัน แล้วนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในศูนย์การรักษาผู้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลก็ตาม ที่ได้เลือกไว้แล้ว ไม่ควรปล่อยไว้นาน เนื่องจากจะมีผลทำให้อัตราสำเร็จของการรักษาลดลงได้
เมื่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก อยากรู้ไหมว่า จะมีขั้นตอนการตรวจรักษาอย่างไร ขั้นตอนการตรวจรักษาผู้มีบุตรยาก
ข.) การช่วยทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ได้แก่ การผสมเทียมโดยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก การทำเด็กหลอดแก้ว การทำอิ๊กซี่ การทำกิ๊ฟท์ การตั้งครรภ์แทน (การอุ้มบุญ) เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุ หรือกรณีที่พบสาเหตุแต่ไม่มีวิธีการรักษา รวมทั้งกรณีที่รักษาสาเหตุมีลูกยากแล้วก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้
อยากรู้ว่า ผลสำเร็จของการรักษามีลูกยากเป็นอย่างไร อัตราการตั้งครรภ์จะสัมพันธ์กับอายุของฝ่ายหญิง คือ ถ้าฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีอัตราสำเร็จสูง โดยที่เมื่ออายุของฝ่ายหญิงมากขึ้น จะมีอัตราการตั้งครรภ์ลดลงไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ ผลสำเร็จของการรักษาก็ยังขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของสาเหตุของการมีลูกยาก รวมทั้งระยะเวลาของการมีลูกยากอีกด้วย โดยทั่วไปอัตราการตั้งครรภ์จากการรักษาโดยการผสมเทียมจะประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว รวมทั้งการทำอิ๊กซี่จะประมาณ 30-35 เปอร์เซนต์
ต้องเตรียมตัวอย่างไร ถ้าจะไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในศูนย์การรักษาผู้มีบุตรยาก
จากที่กล่าวมาข้างต้น โดยสรุปก็คือ การมีลูกยาก แต่อยากมีลูก และพร้อมแล้ว (หมายถึงมีเวลา ไม่มีปัญหาค่าใช้จ่าย ตกลงใจกันทั้งคู่) ก็หาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่ถูกใจ ติดต่อสอบถาม และนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาและตรวจรักษาได้เลย แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาวะที่เราเรียกว่า “การมีลูกยาก” นั้น เป็นอย่างไร
การมีลูกยาก หมายถึง การที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเวลานานมากกว่า 1 ปี แต่ก็ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
การมีลูกยาก พบได้ในกรณีใดบ้าง การมีลูกยาก พบได้ใน 2 กรณี คือ
- กรณีที่ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อนเลย
- กรณีที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว ไม่ว่าจะเคยคลอดลูก หรือเคยแท้งมาก่อน หรือเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกก็ตาม แต่ต่อมาก็ไม่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นอีกเลย ทั้งๆ ที่อยากมีลูกอีก
เมื่อพบว่ามีลูกยาก หรือสงสัยว่าเข้าข่ายการมีลูกยาก แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร
ทั้ง 2 ฝ่าย คือ สามีและภรรยา เมื่อตัดสินใจแล้วว่าอยากมีลูก ควรทำความตกลงร่วมกัน แล้วนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในศูนย์การรักษาผู้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลก็ตาม ที่ได้เลือกไว้แล้ว ไม่ควรปล่อยไว้นาน เนื่องจากจะมีผลทำให้อัตราสำเร็จของการรักษาลดลงได้
เมื่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก อยากรู้ไหมว่า จะมีขั้นตอนการตรวจรักษาอย่างไร ขั้นตอนการตรวจรักษาผู้มีบุตรยาก
- ขั้นตอนแรก เป็นการตรวจประเมินสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสภาพแวดล้อมของทั้งสามีและภรรยา โดยมีการซักถามประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดของทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนี้ยังมีการตรวจอัลตราซาวด์ และการเอกซเรย์ดูหลอดมดลูกในฝ่ายหญิง รวมทั้งการตรวจน้ำเชื้ออสุจิในฝ่ายชาย โดยในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาในการตรวจมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยปัญหาของการมีลูกยาก
- ขั้นตอนที่สอง เป็นการวางแผนการดูแลรักษาร่วมกันระหว่างคู่สามีภรรยาที่มีลูกยากและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีแนวทางการดูแลรักษาดังนี้
ข.) การช่วยทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ได้แก่ การผสมเทียมโดยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก การทำเด็กหลอดแก้ว การทำอิ๊กซี่ การทำกิ๊ฟท์ การตั้งครรภ์แทน (การอุ้มบุญ) เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุ หรือกรณีที่พบสาเหตุแต่ไม่มีวิธีการรักษา รวมทั้งกรณีที่รักษาสาเหตุมีลูกยากแล้วก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้
อยากรู้ว่า ผลสำเร็จของการรักษามีลูกยากเป็นอย่างไร อัตราการตั้งครรภ์จะสัมพันธ์กับอายุของฝ่ายหญิง คือ ถ้าฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีอัตราสำเร็จสูง โดยที่เมื่ออายุของฝ่ายหญิงมากขึ้น จะมีอัตราการตั้งครรภ์ลดลงไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ ผลสำเร็จของการรักษาก็ยังขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของสาเหตุของการมีลูกยาก รวมทั้งระยะเวลาของการมีลูกยากอีกด้วย โดยทั่วไปอัตราการตั้งครรภ์จากการรักษาโดยการผสมเทียมจะประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว รวมทั้งการทำอิ๊กซี่จะประมาณ 30-35 เปอร์เซนต์
ต้องเตรียมตัวอย่างไร ถ้าจะไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในศูนย์การรักษาผู้มีบุตรยาก
- ตรวจสอบรายชื่อและเลือกศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ที่ต้องการไปใช้บริการ สอบถามวันและเวลาที่ให้บริการ การเตรียมตัว ค่าใช้จ่าย เป็นต้น
- หาเวลาว่างที่สะดวกจะไปตรวจรักษาได้พร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย แล้วนัดหมายวันและเวลากับศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก
- การปรึกษาและตรวจรักษา มักต้องใช้เวลาและต้องมีการติดตาม จึงควรจัดหาช่วงเวลาให้เหมาะสมโดยไม่ต้องกังวลกับการทำงาน
- ทุกขั้นตอนของการตรวจรักษา ต้องการความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผนการดูแลรักษา รวมทั้งการใส่ใจติดตามการดูแลรักษา แต่ต้องไม่คาดหวังมากเกินความเป็นจริง จนเกิดความเครียดและความกดดัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จ
จากที่กล่าวมาข้างต้น โดยสรุปก็คือ การมีลูกยาก แต่อยากมีลูก และพร้อมแล้ว (หมายถึงมีเวลา ไม่มีปัญหาค่าใช้จ่าย ตกลงใจกันทั้งคู่) ก็หาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่ถูกใจ ติดต่อสอบถาม และนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาและตรวจรักษาได้เลย แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ภาระการมีบุตรยากและการช่วยการเจริญพันธุ์ เจริญไชย เจียมจรรยา, 2554
- แนวทางการตรวจประเมินและหลักการดูแลรักษาภาระมีบุตรยาก เจริญไชย เจียมจรรยา. ในความก้าวหน้าทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ สุภักดี จุลวิจิตรพงศ์ บรรณาธิการ 2555; หน้า 1-24
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
นพ. เจริญไชย เจียมจรรยา
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านรักษาผู้มีบุตรยาก