สังเกตอาการและวิธีป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
โรคยอดฮิตที่พบบ่อยในเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังในช่วงหน้าฝนแบบนี้คือ โรคมือ เท้า ปาก เพราะสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักวิธีสังเกตอาการ และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคมือเท้าปาก
โรคมือ เท้า ปาก มักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71) และ Coxsackievirus A16 พบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งโรคนี้สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำ และอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค ส่วนใหญ่มักพบการแพร่ระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก สามารถเป็นซ้ำได้อีก ถ้าได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิด
สังเกตอาการ
• มีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
• เจ็บปาก มีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
• มีผื่นเป็นตุ่มน้ำใส หรือจุดแดงๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือรอบทวารหนัก
• อาเจียน ถ่ายเหลวร่วมด้วย
วิธีป้องกัน
• สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
• หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ หรือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
• ใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
• ทำความสะอาดของใช้ ของเล่น
• หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า
• ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า
• หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยก เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้าน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคมือ เท้า ปาก มักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71) และ Coxsackievirus A16 พบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งโรคนี้สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำ และอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค ส่วนใหญ่มักพบการแพร่ระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก สามารถเป็นซ้ำได้อีก ถ้าได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิด
สังเกตอาการ
• มีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
• เจ็บปาก มีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
• มีผื่นเป็นตุ่มน้ำใส หรือจุดแดงๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือรอบทวารหนัก
• อาเจียน ถ่ายเหลวร่วมด้วย
วิธีป้องกัน
• สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
• หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ หรือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
• ใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
• ทำความสะอาดของใช้ ของเล่น
• หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า
• ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า
• หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยก เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้าน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เด็กและพัฒนาการเด็ก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 23/05/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ร่มฉัตร วงศาโรจน์
ความถนัดเฉพาะทาง
กุมารแพทย์