พันธุกรรมก่อมะเร็ง รู้ก่อนด้วยการตรวจหายีนก่อมะเร็ง
แท้จริงแล้วโรคมะเร็ง ถือว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมประเภทหนึ่ง เกิดจากการที่สารพันธุกรรมหรือยีนมีการกลายพันธุ์ ทำให้เซลล์เจริญเติบอย่างไม่หยุดยั้งจนเกิดเป็นมะเร็ง การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การรับประทานอาหารปิ้งย่าง แต่จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่มียีนกลายพันธุ์ตั้งแต่กำเนิด โดยได้รับมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกกรรม
มะเร็งที่พบบ่อยว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม
• มะเร็งเต้านม
• มะเร็งรังไข่
• มะเร็งลำไส้ใหญ่
• มะเร็งตับอ่อน
• มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
• มะเร็งต่อมลูกหมาก
กรรมพันธุ์ก่อมะเร็ง ใครบ้างที่เสี่ยง
• เป็นมะเร็งอายุน้อยกว่า 50 ปี
• มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
• เป็นมะเร็งหลายๆชนิด เช่น เป็นมะเร็งเต้านมร่วมกับรังไข่
• เป็นมะเร็งหลายๆตำแหน่ง เช่น เป็นมะเร็งเต้านมทั้ง 2 ข้าง
• มะเร็งเต้านมในเพศชาย
• ประวัติครอบครัวเป็นติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่มากกว่า 10 คน
ยีนก่อมะเร็งมีอะไรบ้าง
• ยีนก่อมะเร็งเต้านมและรังไข่ ได้แก่ BRCA1 BRCA2 ซึ่งเป็นยีนก่อมะเร็งที่พบบ่อย ยีนอื่นๆที่พบได้แก่ ATM TP53 RAD50 CDH1 PTEN PALB2
• ยีนก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ Lynch Syndrome หรือ Hereditary Nonpolyposis Colorectal Cancer (HNPCC) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ MLH1 MSH2 MSH6 PMS2
นอกจากนั้นยังมียีนอื่นๆที่ทำให้เกิดมะเร็งพันธุกรรมได้อีกมากมาย ได้แก่ APC MUTYH POLE SMAD4 STK11 TP53
วิธีการตรวจหายีนก่อมะเร็ง
ตรวจจากเลือด ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร และตรวจเพียงครั้งเดียวในชีวิต
ประโยชน์ของการตรวจยีนก่อมะเร็ง
ช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพเพื่อคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งได้แต่เนิ่นๆ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนในครอบครัวมะเร็งรู้ก่อนป้องกันได้ รู้ไวมีโอกาสรักษาหายขาด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
มะเร็งที่พบบ่อยว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม
• มะเร็งเต้านม
• มะเร็งรังไข่
• มะเร็งลำไส้ใหญ่
• มะเร็งตับอ่อน
• มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
• มะเร็งต่อมลูกหมาก
กรรมพันธุ์ก่อมะเร็ง ใครบ้างที่เสี่ยง
• เป็นมะเร็งอายุน้อยกว่า 50 ปี
• มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
• เป็นมะเร็งหลายๆชนิด เช่น เป็นมะเร็งเต้านมร่วมกับรังไข่
• เป็นมะเร็งหลายๆตำแหน่ง เช่น เป็นมะเร็งเต้านมทั้ง 2 ข้าง
• มะเร็งเต้านมในเพศชาย
• ประวัติครอบครัวเป็นติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่มากกว่า 10 คน
ยีนก่อมะเร็งมีอะไรบ้าง
• ยีนก่อมะเร็งเต้านมและรังไข่ ได้แก่ BRCA1 BRCA2 ซึ่งเป็นยีนก่อมะเร็งที่พบบ่อย ยีนอื่นๆที่พบได้แก่ ATM TP53 RAD50 CDH1 PTEN PALB2
• ยีนก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ Lynch Syndrome หรือ Hereditary Nonpolyposis Colorectal Cancer (HNPCC) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ MLH1 MSH2 MSH6 PMS2
นอกจากนั้นยังมียีนอื่นๆที่ทำให้เกิดมะเร็งพันธุกรรมได้อีกมากมาย ได้แก่ APC MUTYH POLE SMAD4 STK11 TP53
วิธีการตรวจหายีนก่อมะเร็ง
ตรวจจากเลือด ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร และตรวจเพียงครั้งเดียวในชีวิต
ประโยชน์ของการตรวจยีนก่อมะเร็ง
ช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพเพื่อคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งได้แต่เนิ่นๆ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนในครอบครัวมะเร็งรู้ก่อนป้องกันได้ รู้ไวมีโอกาสรักษาหายขาด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เคมีบำบัดและโลหิตวิทยา
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 14/06/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. คัคนานต์ เทียนไชย

ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านมะเร็งบำบัด