รู้จักอาการ นิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นโรคที่แสดงอาการน้อยมากในช่วงแรก ส่วนใหญ่แล้วจะรู้ว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีก็ต่อเมื่อได้ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะเป็นอย่างไรบ้าง เรามีข้อมูลมาบอก
นิ่วในถุงน้ำดี หรือ Gall Stone มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกายอย่างคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี รวมถึงการติดเชื้อบริเวณถุงน้ำดี ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนผลึกในถุงน้ำดี ซึ่งการตกผลึกของสารเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนนิ่ว โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่กว่านั้น มีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนจนถึงหลายร้อยก้อนก็ได้
นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิดหลัก ได้แก่
• เกิดจากคอเลสเตอรอล เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี จึงไปเกาะจับกันจนทำให้ถุงน้ำดีทำงานผิดปกติ
• เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน พบได้น้อยกว่าชนิดแรก โดยก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและมีสีคล้ำกว่า มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจาง
อาการ
• มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ
• เสียดท้อง แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงด้านขวา
• ตัวเหลือง ตาเหลือง
• ปวดท้องอย่างรุนแรงบริเวณช่วงท้องส่วนบนด้านขวา อาจปวดร้าวไปกลางหลังหรือไล่ข้างขวา
• หากมีถุงน้ำดีติดเชื้อจะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา และมีไข้ร่วมด้วย
การรักษา
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีมีหลายวิธี รักษาโดยการใช้ยาละลายนิ่ว แต่การใช้ยาละลายใช้ได้เฉพาะนิ่ว บางชนิดเท่านั้น ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาอาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก โดยมี 2 วิธี ดังนี้
• ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Open Surgery) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบอย่างรุนแรง ถุงน้ำดีมีการแตกทะลุ
• ผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy) เรียกกันสั้นๆว่า LC วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และอาการเจ็บปวดของบาดแผล ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นกว่าเดิม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
นิ่วในถุงน้ำดี หรือ Gall Stone มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกายอย่างคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี รวมถึงการติดเชื้อบริเวณถุงน้ำดี ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนผลึกในถุงน้ำดี ซึ่งการตกผลึกของสารเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนนิ่ว โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่กว่านั้น มีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนจนถึงหลายร้อยก้อนก็ได้
นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิดหลัก ได้แก่
• เกิดจากคอเลสเตอรอล เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี จึงไปเกาะจับกันจนทำให้ถุงน้ำดีทำงานผิดปกติ
• เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน พบได้น้อยกว่าชนิดแรก โดยก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและมีสีคล้ำกว่า มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจาง
อาการ
• มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ
• เสียดท้อง แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงด้านขวา
• ตัวเหลือง ตาเหลือง
• ปวดท้องอย่างรุนแรงบริเวณช่วงท้องส่วนบนด้านขวา อาจปวดร้าวไปกลางหลังหรือไล่ข้างขวา
• หากมีถุงน้ำดีติดเชื้อจะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา และมีไข้ร่วมด้วย
การรักษา
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีมีหลายวิธี รักษาโดยการใช้ยาละลายนิ่ว แต่การใช้ยาละลายใช้ได้เฉพาะนิ่ว บางชนิดเท่านั้น ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาอาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก โดยมี 2 วิธี ดังนี้
• ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Open Surgery) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบอย่างรุนแรง ถุงน้ำดีมีการแตกทะลุ
• ผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy) เรียกกันสั้นๆว่า LC วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และอาการเจ็บปวดของบาดแผล ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นกว่าเดิม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 16/06/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. เกษม แสงหิรัญวัฒนา
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร