• banner

ไฟโบรสแกน เทคโนโลยีตรวจตับ แบบไม่เจ็บตัว

ไฟโบรสแกน (FibroScan) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสม การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บใดๆกับร่างกาย เป็นการตรวจที่รวดเร็ว สามารถประเมินความเสี่ยงของโรคตับแข็ง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับได้

เครื่องตรวจไฟโบรสแกน (Fibroscan)
เป็นเทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่ต้องเจ็บตัวหรือเจ็บปวดใดๆกับร่างกาย ลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนเมื่อเทียบกับการเจาะตับ (Liver biopsy)

หลักการทำงานของเครื่องตรวจไฟโบรสแกน
• การตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยการปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในเนื้อตับและใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในการตรวจวัดความเร็วของคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับ เพื่อประเมินค่าความนิ่มหรือแข็งของเนื้อตับ โดยใช้หลักการที่ว่า หากตับเริ่มแข็งคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะเดินทางได้เร็ว ค่าที่ได้ก็จะสูงตาม โดยหน่วยที่วัดใช้เป็น kPa (กิโลพาสคาล)
• การตรวจประเมินไขมันสะสมในตับ (Controlled Attenuation Parameter-CAP) โดยใช้หลักการปล่อยคลื่นอัลตราซาวด์เข้าไปในเนื้อตับและวัดค่าความต้านทานนั้นๆ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมในตับมากก็จะมีแรงต้านทานมาก ค่าที่ได้ก็จะสูงตาม โดยหน่วยที่วัดใช้เป็น dB/m
(เดซิเบล/เมตร)

ประโยชน์ของการตรวจไฟโบรสแกน
• ช่วยในการติดตามผลการดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็งเพื่อเช็คการตอบสนองและวางแผนการรักษา
• ใช้ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับ
• ใช้ประเมินปริมาณไขมันสะสมในตับของผู้ป่วยที่มีโรคไขมันเกาะตับ (Fatty liver)
• ใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม หรือปฎิเสธการเจาะตับ
• ช่วยในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งระยะแรกๆ

ข้อดีของการตรวจ

• ไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย กรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย
• ง่าย รวดเร็ว ทราบผลทันที
• ไม่เกิดความเจ็บปวด ขณะตรวจจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อย
• การเตรียมตัวตรวจไม่ยุ่งยาก ให้งดน้ำและอาหารเพียง 3 ชั่วโมง

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจ
• ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือซี
• ผู้ที่เป็นตับอักเสบและตับแข็งจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ไวรัส
• ผู้ที่มีไขมันสะสมในตับ
• ดื่มเหล้าเป็นเวลานาน
• ผู้ป่วยเบาหวานหรือมีภาวะอ้วน
• ค่าการทำงานของตับผิดปกติ
• ทานยาหรือสมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานาน

ขั้นตอนในการตรวจไฟโบรสแกน
• นอนหงายยกแขนขวาไว้เหนือศีรษะ
• วางหัวตรวจที่ผิวหนังบริเวณชายโครงด้านขวา
• ทำการตรวจวัดผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับ ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ

คำแนะนำในการตรวจไฟโบรสแกน
• งดอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

ข้อห้ามในการตรวจไฟโบรสแกน
• ผู้ที่มีภาวะท้องมาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 16/08/2024

แพทย์ผู้เขียน

นพ. ภูริกร เฟื่องวรรธนะ

img

ความถนัดเฉพาะทาง

แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา