ไข้ในเด็ก เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้
ไข้ในเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอันตรายอะไรนอกจากไข้จะสูงมาก การดูแลเด็กจึงเป็นเรื่องที่มีข้อควรระวังอยู่มาก โดยเฉพาะช่วงที่ลูกตัวร้อนเป็นไข้คุณพ่อคุณแม่ต้องควรดูแลอย่างใกล้ชิด หากสังเกตไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ควรพามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาต่อไป
สาเหตุ
• ไข้เฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัส มักหายได้เองภายใน 2-3 วัน
• สาเหตุของไข้ในเด็กเล็กที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด หูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ส่าไข้
• เด็กที่เป็นหวัดจะมีอาการไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ เสียงแหบและไอ อาจมีอาการอาเจียนและถ่ายเหลวร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ หูชั้นกลางอักเสบร่วมด้วย เด็กมักมีอาการปวดหูรุนแรงหรืออาจมีปอดอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้ ไอ และหายใจเหนื่อยหอบ
• เด็กที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือส่าไข้ จะมีไข้สูงเป็นอาการสำคัญ ในกรณีแรก เด็กบางคนอาจปัสสาวะแล้วร้อง เนื่องจากมีอาการแสบขัด ส่วนกรณีหลัง เด็กจะปรากฏผื่นเมื่ออาการไข้ลดลง
• โรคไข้เลือดออกมักพบในเด็กโตและวัยรุ่น มีอาการไข้สูงลอย อาการหวัดไม่ปรากฏชัดเจน มีอาการอาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและอาจมีภาวะเลือดออก
• ไข้เรื้อรังพบได้น้อยในเด็กเล็ก และส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ
เมื่อใดที่ต้องพบแพทย์
• เด็กเล็กที่มีไข้สูงลอย ร้องกวน ซึมลง ชัก ไอมาก หรือหายใจหอบเหนื่อย
• หากไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และให้การรักษาต่อไป
• กรณีสงสัยว่าเด็กเป็นไข้เลือดออก ให้ติดตามการตรวจอย่างใกล้ชิด และหากสังเกตว่าเด็กมีอาการแย่ลงในระยะที่ไข้ลดลง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล
การดูแล
• เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ หากมีไข้สูงอาจเกิดอาการชักได้ จึงควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้ร่วมกับการให้ยาลดไข้ และควรวัดไข้เมื่อเช็ดตัวเสร็จหรือหลังรับประทานยาลดไข้ 30 นาที
• ยาลดไข้ ควรเลือกใช้ยาพาราเซตามอล เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ใช้ทุก 4-6 ชั่วโมง และไม่จำเป็นต้องใช้หลังอาหาร ขนาดของยาที่ใช้ควรคำนวณจากน้ำหนักตัวของเด็กมากกว่าการใช้ตามอายุของเด็ก
• ยาลดไข้ไอบูโพรเฟน หรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาลดไข้สูง” บางครั้งทำให้ไข้ลดลงได้ดีกว่ายาพาราเซตามอล แต่พบอาการข้างเคียงได้บ่อยกว่า เช่น ปวดท้อง อาเจียน หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ในกรณีจำเป็น เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลแล้วไม่ได้ผล ไม่แนะนำให้ใช้ยาลดไข้ชนิดซอง และกลุ่มแอสไพริน
วิธีเช็ดตัว
1. ถอดเสื้อผ้าเด็กออก ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
2. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำในอ่างแล้วบิดหมาดๆ เช็ดตามผิวออกแรงพอประมาณตามขั้นตอน
• เช็ดบริเวณหน้าและพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู นาน 2-3 นาทีแล้วนำผ้ามาชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดบริเวณหน้าผากและศีรษะ แล้วพักผ้าไว้ที่หน้าผากนาน 2-3 นาที ทำสลับกัน
• เช็ดบริเวณแขนทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าหาตัว เช็ดซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ นาน 2-3 นาที แล้วชุบน้ำอีกครั้งเช็ดตามลำตัว แล้วพักผ้าไว้บริเวณหน้าอกนาน 2-3 นาที ทำสลับกัน
• เช็ดขาทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายขาเข้าหาลำตัวซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้ที่ข้อเข่าหรือขาหนีบ นาน 2-3 นาที
• เช็ดด้านหลัง โดยตะแคงตัวเด็ก เช็ดซ้ำหลายๆ ครั้ง ตั้งแต่คอจนถึงบริเวณก้น
3. รองตัวเด็กด้วยผ้าแห้ง เพื่อลดความไม่สบายตัว
4. เปลี่ยนน้ำใหม่เมื่อน้ำในอ่างเย็นลง
5. เช็ดตัวแต่ละรอบนานประมาณ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าตัวเด็กเย็นลง
6. ใช้ผ้าเช็ดตัวให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งระบายความร้อนได้ดี
7. ให้วัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ หลังจากเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที แล้วให้เช็ดซ้ำเมื่อมีไข้สูง
การป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปในสถานที่ซึ่งมีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น นำไปฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก เดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า หรือนำเด็กเข้าโรงเรียนก่อนวัยอันควร เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้
• การปราบยุงลายและลูกน้ำควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมความเสี่ยงการเกิดโรคไข้เลือดออก
• ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
สาเหตุ
• ไข้เฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัส มักหายได้เองภายใน 2-3 วัน
• สาเหตุของไข้ในเด็กเล็กที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด หูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ส่าไข้
• เด็กที่เป็นหวัดจะมีอาการไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ เสียงแหบและไอ อาจมีอาการอาเจียนและถ่ายเหลวร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ หูชั้นกลางอักเสบร่วมด้วย เด็กมักมีอาการปวดหูรุนแรงหรืออาจมีปอดอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้ ไอ และหายใจเหนื่อยหอบ
• เด็กที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือส่าไข้ จะมีไข้สูงเป็นอาการสำคัญ ในกรณีแรก เด็กบางคนอาจปัสสาวะแล้วร้อง เนื่องจากมีอาการแสบขัด ส่วนกรณีหลัง เด็กจะปรากฏผื่นเมื่ออาการไข้ลดลง
• โรคไข้เลือดออกมักพบในเด็กโตและวัยรุ่น มีอาการไข้สูงลอย อาการหวัดไม่ปรากฏชัดเจน มีอาการอาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและอาจมีภาวะเลือดออก
• ไข้เรื้อรังพบได้น้อยในเด็กเล็ก และส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ
เมื่อใดที่ต้องพบแพทย์
• เด็กเล็กที่มีไข้สูงลอย ร้องกวน ซึมลง ชัก ไอมาก หรือหายใจหอบเหนื่อย
• หากไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และให้การรักษาต่อไป
• กรณีสงสัยว่าเด็กเป็นไข้เลือดออก ให้ติดตามการตรวจอย่างใกล้ชิด และหากสังเกตว่าเด็กมีอาการแย่ลงในระยะที่ไข้ลดลง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล
การดูแล
• เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ หากมีไข้สูงอาจเกิดอาการชักได้ จึงควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้ร่วมกับการให้ยาลดไข้ และควรวัดไข้เมื่อเช็ดตัวเสร็จหรือหลังรับประทานยาลดไข้ 30 นาที
• ยาลดไข้ ควรเลือกใช้ยาพาราเซตามอล เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ใช้ทุก 4-6 ชั่วโมง และไม่จำเป็นต้องใช้หลังอาหาร ขนาดของยาที่ใช้ควรคำนวณจากน้ำหนักตัวของเด็กมากกว่าการใช้ตามอายุของเด็ก
• ยาลดไข้ไอบูโพรเฟน หรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาลดไข้สูง” บางครั้งทำให้ไข้ลดลงได้ดีกว่ายาพาราเซตามอล แต่พบอาการข้างเคียงได้บ่อยกว่า เช่น ปวดท้อง อาเจียน หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ในกรณีจำเป็น เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลแล้วไม่ได้ผล ไม่แนะนำให้ใช้ยาลดไข้ชนิดซอง และกลุ่มแอสไพริน
วิธีเช็ดตัว
1. ถอดเสื้อผ้าเด็กออก ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
2. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำในอ่างแล้วบิดหมาดๆ เช็ดตามผิวออกแรงพอประมาณตามขั้นตอน
• เช็ดบริเวณหน้าและพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู นาน 2-3 นาทีแล้วนำผ้ามาชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดบริเวณหน้าผากและศีรษะ แล้วพักผ้าไว้ที่หน้าผากนาน 2-3 นาที ทำสลับกัน
• เช็ดบริเวณแขนทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าหาตัว เช็ดซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ นาน 2-3 นาที แล้วชุบน้ำอีกครั้งเช็ดตามลำตัว แล้วพักผ้าไว้บริเวณหน้าอกนาน 2-3 นาที ทำสลับกัน
• เช็ดขาทั้งสองข้าง โดยเริ่มเช็ดจากปลายขาเข้าหาลำตัวซ้ำๆ แล้วพักผ้าไว้ที่ข้อเข่าหรือขาหนีบ นาน 2-3 นาที
• เช็ดด้านหลัง โดยตะแคงตัวเด็ก เช็ดซ้ำหลายๆ ครั้ง ตั้งแต่คอจนถึงบริเวณก้น
3. รองตัวเด็กด้วยผ้าแห้ง เพื่อลดความไม่สบายตัว
4. เปลี่ยนน้ำใหม่เมื่อน้ำในอ่างเย็นลง
5. เช็ดตัวแต่ละรอบนานประมาณ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าตัวเด็กเย็นลง
6. ใช้ผ้าเช็ดตัวให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งระบายความร้อนได้ดี
7. ให้วัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ หลังจากเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที แล้วให้เช็ดซ้ำเมื่อมีไข้สูง
การป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปในสถานที่ซึ่งมีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น นำไปฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก เดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า หรือนำเด็กเข้าโรงเรียนก่อนวัยอันควร เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้
• การปราบยุงลายและลูกน้ำควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมความเสี่ยงการเกิดโรคไข้เลือดออก
• ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เด็กและพัฒนาการเด็ก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 02/01/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ร่มฉัตร วงศาโรจน์
ความถนัดเฉพาะทาง
กุมารแพทย์