หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เรื่องสุขภาพที่ผู้ชายไม่ควรมองข้าม
ผู้ชายที่มีอายุมากขึ้น บางคนมีภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่องหรือผลิตน้อยลง ส่งผลทำให้ความต้องการทางเพศลดลง และมีผลต่อการแข็งตัวได้ไม่นานพอ ปัจจุบันพบได้บ่อย ซึ่งสร้างความกังวลทำให้มีปัญหาทางกายและจิตใจตามมาได้ เช่น มีปัญหาเรื่องชีวิตคู่ ความมั่นใจในตัวเองลดลง
หลายๆคนเริ่มสังเกตว่าเมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพทางเพศของตนเองเริ่มลดลง หลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติตามอายุที่เพิ่มขึ้น บางคนก็อาจจะไม่สนใจปัญหานี้ที่เกิดกับตัวเองมากนัก บางคนอาจละเลยหรือปล่อยผ่านไป แต่ในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ซ่อนอยู่ได้ ในทางการแพทย์อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศจัดเป็นอาการหนึ่ง ไม่ใช่โรค โดยนิยามอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คือ การที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้มากพอหรือนานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย
ปัจจุบันพบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปีนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆร่วมกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ เป็นต้น การมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ ทำให้มีไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาต ทำให้กลไกการขยายตัวของหลอดเลือดเสียไป ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศตามมา และด้วยขนาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาตมีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ มักมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศนำมาก่อนที่จะมีอาการต่างๆของโรคหัวใจและหลอดเลือด ตรงจุดนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าผู้ป่วยให้การดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ให้ดีขึ้น เช่น การหยุดสูบบุหรี่ การลดน้ำหนัก ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยให้อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น และที่สำคัญยังจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ลักษณะการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มที่ผู้ชายจะมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้มากขึ้นและเร็วขึ้น อายุที่เริ่มมีอาการน้อยลงกว่าสมัยก่อน เริ่มมีผู้ชายอายุประมาณ 40 ปีมาตรวจและรักษาภาวะนี้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์จิตใจ ความเครียดสะสมจากการทำงาน ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากขึ้น การพักผ่อนไม่พอ โรคทางระบบประสาทอื่นๆ รวมถึงภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย การรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศจึงจำเป็นต้องพยายามลดหรือแก้ไขสาเหตุต่างๆ ที่เป็นไปได้ควบคู่กันไปให้มากที่สุด สำหรับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยวัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในกระแสเลือด ซึ่งควรทำการเจาะเลือดตรวจช่วงเช้าก่อนเวลา 11.00 น. ในผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถให้การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทนได้ แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เพราะจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากและความต้องการในการมีบุตรก่อนให้การรักษา
จะเห็นได้ว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอาการที่มีความสำคัญและอาจเป็นอาการเตือนของภาวะอื่นๆที่ซ่อนอยู่ ในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือไม่ หรือต้องการตรวจเพิ่มเติมสามารถปรึกษาศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
หลายๆคนเริ่มสังเกตว่าเมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพทางเพศของตนเองเริ่มลดลง หลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติตามอายุที่เพิ่มขึ้น บางคนก็อาจจะไม่สนใจปัญหานี้ที่เกิดกับตัวเองมากนัก บางคนอาจละเลยหรือปล่อยผ่านไป แต่ในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ซ่อนอยู่ได้ ในทางการแพทย์อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศจัดเป็นอาการหนึ่ง ไม่ใช่โรค โดยนิยามอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คือ การที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้มากพอหรือนานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย
ปัจจุบันพบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปีนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆร่วมกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ เป็นต้น การมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ ทำให้มีไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาต ทำให้กลไกการขยายตัวของหลอดเลือดเสียไป ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศตามมา และด้วยขนาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาตมีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ มักมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศนำมาก่อนที่จะมีอาการต่างๆของโรคหัวใจและหลอดเลือด ตรงจุดนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าผู้ป่วยให้การดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ให้ดีขึ้น เช่น การหยุดสูบบุหรี่ การลดน้ำหนัก ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยให้อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น และที่สำคัญยังจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ลักษณะการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มที่ผู้ชายจะมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้มากขึ้นและเร็วขึ้น อายุที่เริ่มมีอาการน้อยลงกว่าสมัยก่อน เริ่มมีผู้ชายอายุประมาณ 40 ปีมาตรวจและรักษาภาวะนี้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์จิตใจ ความเครียดสะสมจากการทำงาน ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากขึ้น การพักผ่อนไม่พอ โรคทางระบบประสาทอื่นๆ รวมถึงภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย การรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศจึงจำเป็นต้องพยายามลดหรือแก้ไขสาเหตุต่างๆ ที่เป็นไปได้ควบคู่กันไปให้มากที่สุด สำหรับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยวัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในกระแสเลือด ซึ่งควรทำการเจาะเลือดตรวจช่วงเช้าก่อนเวลา 11.00 น. ในผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถให้การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทนได้ แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เพราะจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากและความต้องการในการมีบุตรก่อนให้การรักษา
จะเห็นได้ว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอาการที่มีความสำคัญและอาจเป็นอาการเตือนของภาวะอื่นๆที่ซ่อนอยู่ ในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือไม่ หรือต้องการตรวจเพิ่มเติมสามารถปรึกษาศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์ศัลยกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 10/02/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. เปรมสันติ์ สังฆ์คุ้ม

ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยแพทย์ทางด้านระบบปัสสาวะ