• banner

แม่ที่มีลูกเมื่ออายุมากส่งผลอย่างไร ?

สำหรับคู่สมรสที่อยากมีลูกแต่ก็ยากเหลือเกิน เนื่องจากกกว่าจะคิดได้ก็สายอายุก็ล่วงเลยจนเข้าสู่ช่วงมีบุตรยากเสียแล้ว แต่หากตั้งครรภ์ได้ในวัย 30+ จะส่งผลกระทบอะไรบ้างกับทั้งแม่และลูกบ้าง

"ความเสี่ยงทางด้านร่างกายของคุณแม่"
ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากเท่าไร ระบบต่างๆ ในร่างกายก็ยิ่งเสื่อมถอยลง แถมยังสามารถส่งผลไปยังพันธุกรรมต่างๆ ที่จะถ่ายทอดไปยังลูกได้อีกด้วย โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุเกิน 35 ปี ยิ่งมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์หลากหลายสาเหตุขึ้นไปอีก โดยเราเข้าใจคุณแม่ทุกคนว่า...ขึ้นชื่อว่าเป็นแม่แล้วเมื่อตั้งครรภ์คงจะไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าลูกน้อยที่รอมานาน แต่ถ้ารักลูกแล้วคุณแม่ก็ควรดูแลตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะหากดูแลตัวเองไม่ดีอาจส่งผลต่อลูกน้อยได้ไม่น้อย

ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มีลูกเมื่ออายุมากแล้วต้องวางแผน รวมถึงดูแลร่างกายตัวเองอย่างดี หมั่นพากันไปปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยโรคที่เสี่ยงและพบมากในผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไป ตัวอย่างเช่น
  1. โรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง
  2. ภาวะการแท้งบุตร
  3. ภาวะรกเกาะต่ำ หรือภาวะที่รกเกิดการฝังตัวและเกาะอยู่ใกล้ปากมดลูก
  4. ทารกในครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น ดาวน์ซินโดรมสูง
  5. การคลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าปกติ
  6. ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์มารดา

จะเห็นได้ว่ามีหลายอย่างที่ส่งผลถึงลูกน้อยด้วยซึ่งมาถึงตรงนี้เราขอยกตัวอย่างเรื่องที่คนสงสัยมากเป็นอันดับต้นๆ คือความเสี่ยงเป็น “ดาวน์ซินโดรม” ของลูกน้อย

"มีลูกตอนอายุมากส่งผลให้ลูกปัญญาอ่อนไหม"
จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่ายิ่งคุณแม่อายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้ลูกเป็น “ดาวน์ซินโดรมสูงขึ้น” ซึ่งสิ่งที่ผู้อ่านต้องเข้าใจ คือ การเป็นดาวน์ซินโดรมนั้นเกิดจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกติ โดยมีจำนวนเกินมา 1 ตัว จึงทำให้กระบวนการควบคุมการสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนไป ส่งผลให้มีความบกพร่องทางสติปัญญาและมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้น จะมีลักษณะเตี้ย ศีรษะเล็ก ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูก ท้ายทอยและใบหน้าแบน ใบหูเล็กและต่ำเป็นต้น

แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกในท้องของเราเป็นดาวน์ซินโรมหรือไม่ ?
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เราสามารถตรวจคัดกรองเกี่ยวกับความผิดปกติของภาวะดาวน์ซินโดรมที่อาจเกิดกับลูกในครรภ์ได้ดังนี้
  1. ดูจากอายุและประวัติการตั้งครรภ์ของคุณแม่ โดยปกติแล้วความเสี่ยงภาวะดาวน์ซินโดรมในเด็กจะมีความเสี่ยงพอๆ กันแต่ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่อคุณแม่เคยมีประวัติให้กำเนิดลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม หรือตั้งครรภ์ในวัย 35 ปีขึ้นไป
  2. ดูจากการตรวจอัลตร้าซาวน์ วิธีนี้ทำเพื่อดูความหนาของน้ำที่สะสมบริต้นคอทารก ในช่วงครรภ์อายุ 10-14 สัปดาห์ หากหนาผิดปกติก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น หรือดูจากลักษณะเฉพาะบางอย่างในไตรมาสที่สอง เช่น กระดูกและแขนขาสั้น มีหัวใจผิดปกติ เป็นต้น
  3. จากการตรวจเลือด ปัจจุบันมีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจระดับสารเคมีในเลือด หรือชิ้นส่วนของ DNA ทารกในเลือดมารดา เป็นต้น

วิธีที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ถือว่าเป็นการคัดกรองเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อถือได้ 100% ซึ่งหากต้องการตรวจเพื่อวินิจฉัยจะต้องใช้วิธีนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจ เช่น การเจาะน้ำคร่ำ วิธีนี้จะแม่นยำและใช้วินิจฉัยได้ แต่ก็ต้องแลกกับความเสี่ยงในการแท้งบุตร วึ่งก่อนจะตัดสินใจเลือกตรวจวิธีใดนั้น ควรจะปรึกษาแพทย์ที่ดูแลดีที่สุด

"เรามาทำความรู้จักกับข้อดี เมื่อมีลูกตอนอายุมากกันดีกว่า"
ในเรื่องของข้อดีนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบทางการแพทย์เสียทีเดียวแต่เป็นเรื่องของทัศนคติและการใช้ชีวิตเสียมากกว่า โดยเราคงจะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ มาเพียง 3 ข้อ คือ
  1. มีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบและมั่นคงทางการเงิน สิ่งนี้อาจไม่ได้ตอบโจทย์ในทุกๆ ครอบครัวแต่ก็ถือว่ามีผลกับหลายๆ ครอบครัว เนื่องจากคนในวัยนั้นส่วนใหญ่จะมีความมั่นคงทางด้านวัตถุและอารมณ์มาพอสมควรแล้ว
  2. มีความรู้กว้างและมากขึ้นทั้งลูกและพ่อแม่ การที่มีลูกในวัยที่ค่อนข้างสูงนั่นจะทำให้คุณทำให้สามารถสอนอะไรกับลูกได้มากกว่า เพราะมีประสบการณ์และการใช้ชีวิตที่มากกว่าวัยรุ่น รวมถึงเมื่อลูกโตแล้วยังสามารถช่วยให้คุณ

การจะมีลูกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากความตั้งใจที่จะทำให้เขาเกิดมาแล้วเหนือสิ่งอื่นใด กำลังใจของทั้งคุณและคู่รักถือเป็นเรื่องสำคัญในการต่อสู้กับโรคภัยและผลข้างเคียงจากอายุ ดังนั้นเมื่อดูแลร่างกายแล้ว อย่าละเลยเรื่องของจิตใจ เพราะเมื่อสภาพจิตใจดี สุขภาพร่างกายของคุณก็จะดีตามไปด้วย และสามารถผ่านพ้นปัญหา เอาชนะภาวะมีบุตรยาก สร้างครอบครัวได้ตามที่ฝัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022

แพทย์ผู้เขียน

พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

img

ความถนัดเฉพาะทาง

แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา