ขี้หูอุดตัน เกิดขึ้นได้อย่างไร
ขี้หูอุดตันเป็นภาวะที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนที่ชอบใช้คอตตอนบัด (Cotton Bud) เช็ดหู หรือแหย่เข้าไปในรูหู อาจทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้ ปัญหาเรื่องขี้หูอุดตันที่เกิดขึ้นจะมีอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาบอก
ขี้หูอุดตัน คือ ภาวะที่เกิดจากการสะสมของขี้หูบริเวณหูชั้นนอก หรือร่างกายสร้างขี้หูมากเกินไป และสาเหตุชักนำที่พบบ่อยที่สุดจากการใช้คอตตอนบัด (Cotton Bud) แคะหู หรือทำความสะอาดรูหูบ่อย ๆ ทำให้ขี้หูถูกดันเข้าไปในหู ก่อให้เกิดอาการขี้หูอุดตันได้ นอกจากนั้นผู้ที่ชอบใส่หูฟังหรือใส่ที่อุดหูเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการอุดตันของขี้หูได้ ซึ่งเป็นการทำให้ขี้หูไม่สามารถหลุดออกมาได้ตามปกติและทำให้เกิดการอุดตันในที่สุด
อาการ มาด้วยหูอื้อ อาจจะมีอาการอื่น เช่น
• ปวดหู การได้ยินเสียงลดลง
• คันในรูหู
• รู้สึกแน่น ๆ ในหูข้างที่เกิดการอุดตัน
• ได้ยินเสียงดังภายในหู
การรักษา
การรักษาจะพิจารณาตามอาการที่พบ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรแคะขี้หูออกด้วยตนเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้เอาออกให้ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บภายในช่องหู ซึ่งแพทย์จะนำขี้หูออกให้โดยเครื่องมือ เช่น การคีบออกการดูดออก แต่ถ้าขี้หูแห้งและอุดแน่นจนไม่สามารถเอาออกได้ด้วยวิธีเบื้องต้น แพทย์จะสั่งยาละลายขี้หูให้ไปหยอด ซึ่งจะทำให้ขี้หูอ่อนตัวมากขึ้น และเอาออกได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยไปหยอดยาละลายขี้หูประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนัดมาดูดขี้หูออกอีกครั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ขี้หูอุดตัน คือ ภาวะที่เกิดจากการสะสมของขี้หูบริเวณหูชั้นนอก หรือร่างกายสร้างขี้หูมากเกินไป และสาเหตุชักนำที่พบบ่อยที่สุดจากการใช้คอตตอนบัด (Cotton Bud) แคะหู หรือทำความสะอาดรูหูบ่อย ๆ ทำให้ขี้หูถูกดันเข้าไปในหู ก่อให้เกิดอาการขี้หูอุดตันได้ นอกจากนั้นผู้ที่ชอบใส่หูฟังหรือใส่ที่อุดหูเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการอุดตันของขี้หูได้ ซึ่งเป็นการทำให้ขี้หูไม่สามารถหลุดออกมาได้ตามปกติและทำให้เกิดการอุดตันในที่สุด
อาการ มาด้วยหูอื้อ อาจจะมีอาการอื่น เช่น
• ปวดหู การได้ยินเสียงลดลง
• คันในรูหู
• รู้สึกแน่น ๆ ในหูข้างที่เกิดการอุดตัน
• ได้ยินเสียงดังภายในหู
การรักษา
การรักษาจะพิจารณาตามอาการที่พบ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรแคะขี้หูออกด้วยตนเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้เอาออกให้ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บภายในช่องหู ซึ่งแพทย์จะนำขี้หูออกให้โดยเครื่องมือ เช่น การคีบออกการดูดออก แต่ถ้าขี้หูแห้งและอุดแน่นจนไม่สามารถเอาออกได้ด้วยวิธีเบื้องต้น แพทย์จะสั่งยาละลายขี้หูให้ไปหยอด ซึ่งจะทำให้ขี้หูอ่อนตัวมากขึ้น และเอาออกได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยไปหยอดยาละลายขี้หูประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนัดมาดูดขี้หูออกอีกครั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหู คอ จมูก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 19/06/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. กรีฑา ม่วงทอง
ความถนัดเฉพาะทาง
โสต-ศอ-นาสิกแพทย์