วิธีเล่นกระตุ้นสายตาลูก (0-1 ขวบ)
การมองเห็นของทารกมีความสำคัญต่อพัฒนาการ โดยธรรมชาติแล้วสายตาของทารกมีความสามารถในการแยะแยกแสงสว่างกับความมืดได้ตั้งแต่กำเนิด ตาดำจะขยายและหดตัวอัตโนมัติ ในช่วงแรกการมองภาพของทารกยังเป็นภาพเบลอ ระยะที่ทารกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดช่วงนี้ อยู่ที่ระยะห่างประมาณ 10-12 นิ้ว วัดจากปลายจมูกของทารกนั้นคือ ระยะห่างเต้านมของคุณแม่เมื่อทารกดูดนมนั่นเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสายตาของลูกง่ายๆ หลายวิธีดังนี้ค่ะ
วิธีที่ 1 การแสดงท่าทางใบหน้าเล่นกับลูก เช่น จ้องตา เคลือบไหวให้ลูกมองตาม ยิ้มให้ กระพริบตา ทำปากออกเสียง อา อี อู การเดาะลิ้น เพื่อเรียกความสนใจจากลูก คุยกับลูกบ่อยๆ
วิธีที่ 2 ของเล่นกรุ๊งกริ๊งสีสันสดใส เขย่าให้มีเสียงเคลื่อนไหวให้มองตาม ลูกจะตื่นตามองหาที่มาของเสียงเป็นการฝึกทักษะการสังเกต
วิธีที่ 3 โมบาย รูปทรงต่างๆ กระตุ้นให้ลูกแหงนมองวัตถุที่เคลื่อนไหวและจดจ่ออยู่กับสิ่งของที่อยู่ด้านหน้า ในการติดให้ห่างจากสายตาของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว
วิธีที่ 4 หนังสือภาพที่มีสีสดใส ภาพแลตัวอักษรใหญ่จะช่วยกระตุ้นการใช้สายตาในการมองของลูกได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่ควรเพิ่มการเล่าเรื่องประกอบตามภาพโดยใช้น้ำเสียงโทนต่ำและสูงสลับกับไปเป็นการช่วยเรื่องระบบการได้ยินและความจำให้ลูกได้ดีขึ้น
วิธีที่ 5 กระจกเงา คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกให้หันหน้ามองสะท้อนกระจก เรียกชื่อของลูกซ้ำๆ พูดคุยกับลูก จะเป็นการช่วยกระตุ้นการมองเห็นไปพร้อมกับพัฒนาการทางสมองในการจดจำชื่อของตนเอง
วิธีที่ 6 เล่นจ๊ะเอ๋ เพื่อกระตุ้นสายตาและเป็นการเพิ่มพัฒนาการทางอารมณ์ (EQ) ทำให้เด็กอารมณ์ดี ช่วยสร้างความมั่นใจ ความใกล้ชิดของคุณพ่อคุณแม่และลูก อีกทั้งช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กเมื่อเด็กงอแง
วิธีที่ 7 ลูกบอลสีสันสดใส ขนาดที่ลูกสามารถหยิบจับและถือได้ โดยการวางลูกบอลไว้ข้างหน้าลูก หรือยื่นให้พร้อมกับการส่งเสียงให้ลูกหยิบจับ และโยนลูกบอล เป็นการกระตุ้นสายตาโดยสี และกระตุ้นทักษะการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย
วิธีที่ 8 เมื่อลูกโตขึ้นอีกหน่อยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องขึ้น อาจเปลี่ยนมาเล่นเกมซ่อนหา จะเป็นการกระตุ้นการใช้สายตาให้ทำงานประสานกับเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ในส่วนขอแขนและขาได้ทำงานดีขึ้น
วิธีต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นการเสริมให้ลูกได้ฝึกทักษะทางสายตาและส่งผลดีต่อทักษะในทุกด้าน ลูกสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้จากคุณพ่อคุณแม่ที่มีความใกล้ชิดที่สุด เพื่อช่วยในการแนะนำ ส่งเสริม และเพิ่มเติมเรียนรู้ให้ครบทุกด้าน เพื่อให้เจริญเติบโตแข็งแรง ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
วิธีที่ 1 การแสดงท่าทางใบหน้าเล่นกับลูก เช่น จ้องตา เคลือบไหวให้ลูกมองตาม ยิ้มให้ กระพริบตา ทำปากออกเสียง อา อี อู การเดาะลิ้น เพื่อเรียกความสนใจจากลูก คุยกับลูกบ่อยๆ
วิธีที่ 2 ของเล่นกรุ๊งกริ๊งสีสันสดใส เขย่าให้มีเสียงเคลื่อนไหวให้มองตาม ลูกจะตื่นตามองหาที่มาของเสียงเป็นการฝึกทักษะการสังเกต
วิธีที่ 3 โมบาย รูปทรงต่างๆ กระตุ้นให้ลูกแหงนมองวัตถุที่เคลื่อนไหวและจดจ่ออยู่กับสิ่งของที่อยู่ด้านหน้า ในการติดให้ห่างจากสายตาของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว
วิธีที่ 4 หนังสือภาพที่มีสีสดใส ภาพแลตัวอักษรใหญ่จะช่วยกระตุ้นการใช้สายตาในการมองของลูกได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่ควรเพิ่มการเล่าเรื่องประกอบตามภาพโดยใช้น้ำเสียงโทนต่ำและสูงสลับกับไปเป็นการช่วยเรื่องระบบการได้ยินและความจำให้ลูกได้ดีขึ้น
วิธีที่ 5 กระจกเงา คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกให้หันหน้ามองสะท้อนกระจก เรียกชื่อของลูกซ้ำๆ พูดคุยกับลูก จะเป็นการช่วยกระตุ้นการมองเห็นไปพร้อมกับพัฒนาการทางสมองในการจดจำชื่อของตนเอง
วิธีที่ 6 เล่นจ๊ะเอ๋ เพื่อกระตุ้นสายตาและเป็นการเพิ่มพัฒนาการทางอารมณ์ (EQ) ทำให้เด็กอารมณ์ดี ช่วยสร้างความมั่นใจ ความใกล้ชิดของคุณพ่อคุณแม่และลูก อีกทั้งช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กเมื่อเด็กงอแง
วิธีที่ 7 ลูกบอลสีสันสดใส ขนาดที่ลูกสามารถหยิบจับและถือได้ โดยการวางลูกบอลไว้ข้างหน้าลูก หรือยื่นให้พร้อมกับการส่งเสียงให้ลูกหยิบจับ และโยนลูกบอล เป็นการกระตุ้นสายตาโดยสี และกระตุ้นทักษะการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย
วิธีที่ 8 เมื่อลูกโตขึ้นอีกหน่อยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องขึ้น อาจเปลี่ยนมาเล่นเกมซ่อนหา จะเป็นการกระตุ้นการใช้สายตาให้ทำงานประสานกับเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ในส่วนขอแขนและขาได้ทำงานดีขึ้น
วิธีต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นการเสริมให้ลูกได้ฝึกทักษะทางสายตาและส่งผลดีต่อทักษะในทุกด้าน ลูกสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้จากคุณพ่อคุณแม่ที่มีความใกล้ชิดที่สุด เพื่อช่วยในการแนะนำ ส่งเสริม และเพิ่มเติมเรียนรู้ให้ครบทุกด้าน เพื่อให้เจริญเติบโตแข็งแรง ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เด็กและพัฒนาการเด็ก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 08/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
พญ. รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์
ความถนัดเฉพาะทาง
กุมารเวชศาสตร์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรม