เลือดออกตามไรฟัน เกิดจากอะไร
เคยไหม? ในบางครั้งที่เวลาแปรงฟันแล้วมีเลือดติดอยู่บริเวณขอบแปรง หรือบ้วนปากแล้วมีเลือดปนออกมาด้วย นั่นเป็นอาการของเลือดออกตามไรฟัน หากใครที่กำลังมีปัญหาเลือดออกตามไรฟัน อย่าคิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ มาดูสาเหตุและการรักษาโรคนี้กันดีกว่าค่ะ
เลือดออกตามไรฟัน เป็นอาการที่มีเลือดไหลออกมาจากเหงือกและไรฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เหงือกอักเสบ โรคเหงือก ลักปิดลักเปิด แปรงฟันแรงเกินไป เครื่องมือจัดฟันรัดแน่นเกินไป หรืออาจเป็นอาการแสดงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการเหงือกบวม หรือปวดตามเหงือก และไรฟัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเหงือกและฟัน เพื่อที่จะสามารถป้องกัน และรักษาปัญหาสุขภาพฟันได้อย่างทันท่วงที
สาเหตุ
การป้องกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
เลือดออกตามไรฟัน เป็นอาการที่มีเลือดไหลออกมาจากเหงือกและไรฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เหงือกอักเสบ โรคเหงือก ลักปิดลักเปิด แปรงฟันแรงเกินไป เครื่องมือจัดฟันรัดแน่นเกินไป หรืออาจเป็นอาการแสดงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการเหงือกบวม หรือปวดตามเหงือก และไรฟัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเหงือกและฟัน เพื่อที่จะสามารถป้องกัน และรักษาปัญหาสุขภาพฟันได้อย่างทันท่วงที
สาเหตุ
- ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็งแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟันแรงเกินไป
- การสะสมของคราบแบคทีเรียหรือคราบหินน้ำลาย (หินปูน) ตามแนวร่องเหงือก อาจทำให้เหงือกอักเสบ เหงือกบวมเป็นโรคปริทันต์อักเสบ และมีเลือดออกตามไรฟันได้
- เป็นโรคลักปิดลักเปิดจากการขาดวิตามินซีและวิตามินเค ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง
- ใส่ฟันปลอม หรือเครื่องมือจัดฟันไม่พอดีกับฟัน มีการกดเหงือกมากเกินไป หรือหลวมเกินไป
- เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายระหว่างที่ตั้งครรภ์
- เป็นภาวะเลือดออกผิดปกติ ขาดเกล็ดเลือดหรือขาดโปรตีนที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
- ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ต้านการทำงานของเกล็ดเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) แอสไพริน (Aspirin) หรือเฮพาริน (Heparin)
- ป่วยด้วยโรคลูคีเมีย ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง
- โรคมะเร็งในไขกระดูก
การป้องกัน
- ทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีตามที่ทันตแพทย์แนะนำ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อขจัดคราบหินน้ำลาย (หินปูน)
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- สำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอมและจัดฟัน หมั่นสังเกตเครื่องมือที่ใส่ว่าพอดีกับฟันหรือไม่ ต้องไม่หลวมหรือแน่นจนบีบรัดเหงือกจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยวหรือของหวาน ที่อาจทำให้เกิดการสะสมและก่อตัวของคราบแบคทีเรียจากน้ำตาลได้
- ทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม สัปปะรด เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับสุขภาพช่องปากและฟัน และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย
- พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก และขูดหินน้ำลาย (หินปูน)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์ทันตกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 23/05/2024
แพทย์ผู้เขียน
ทพญ. หัทยา ศิริสวย
ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล