• banner

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบสู่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เกิดจากไขมันและพังผืดสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ในขณะที่การอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันเกิดจากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออก และกลายเป็นลิ่มเลือดลอยไปอุดหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

   
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  • การสูบบุหรี่
  • มีประวัติครอบครัว เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • น้ำหนักเกินและอ้วน
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • การรับประทานผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป
  • ความเครียด
อาการบ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อาการแน่นที่บริเวณกลางอกหรือด้านซ้าย ลักษณะจะต้องเป็นอาการเหมือนมีอะไรมาบีบรัด หรือมีของหนักๆ มาทับหน้าอกอยู่ อาจมีอาการร้าวไปที่บริเวณไหล่ซ้าย แขนซ้าย หรือกรามทั้ง 2 ข้าง และที่สำคัญมักจะสัมพันธ์กับการออกแรงหรือออกกำลังกาย มักเป็นนาทีขึ้นไป และเมื่อพักแล้วอาการดีขึ้น
  • มีอาการเหนื่อยง่ายขณะออกแรงหรือออกกำลังกาย
 

หากมีอาการต้องสงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบควรทำอย่างไร

ปรึกษาแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และพิจารณาเลือกการตรวจพิเศษให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละบุคคล เช่น
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
  • การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (chest X-ray)
  • การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (cardiac biomarker)
  • การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
  • การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomographic angiography)
  • การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (cardiac catheterization or coronary angiogram)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โทร. 0 2265 7777

ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 06/06/2017

แพทย์ผู้เขียน

นพ. ชนินทร์ พีระบูล

img

ความถนัดเฉพาะทาง

Cardiologist

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา