• banner

การติดตามโรคหลอดเลือดสมองด้วยการอัลตราซาวด์

ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หรือชาครึ่งซีก มาพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัย โรคที่เป็นไปได้มีหลากหลาย ตามความรู้ของแพทย์ระบบประสาท ตัวอย่างได้แก่
  1. โรคที่พบบ่อยเป็นโรคที่ไม่อันตราย ไม่ถึงกับความพิการ เช่น ไมเกรน โรคปวดศีรษะที่มีสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง หรือ บางโรคที่ยังแยกไม่ออกระหว่าง โรคเวียนศีรษะจากโรคของหูชั้นใน กับโรคหลอดเลือดสมอง โรคที่ยังแยกไม่ออกระหว่างปวดศีรษะปวดต้นคอ กับโรคเวียนศีรษะ เป็นต้น
  2. โรคที่พบไม่บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดสมองหดตัวชั่วคราว มาพบแพทย์ด้วยอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ชาแขนขาครึ่งซีก ชารอบปาก ในขณะเดียวกันอาการที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเช่นกัน
  3. โรคที่มีอันตราย และมีโอกาสเกิดความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคที่มีการอักเสบของเนื้อสมอง ก้อนเนื้องอกในกะโหลก หรือในเนื้อสมอง


การตรวจหลอดเลือดด้วยการอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดสมอง ใช้ตรวจในกรณีใด

  1. ใช้ตรวจประกอบกับภาพ CT หรือ MR สมอง
  2. ใช้ยืนยันภาวะหลอดเลือดตีบ หรือยังหาไม่พบจาก MR หลอดเลือดสมอง
  3. ใช้ติดตามสัญญาณหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน การไหลเวียนที่ผิดปกติ เพื่อติดตามการรักษา

ในรายที่ต้องติดตามหลังการรักษา ในช่วงถี่ๆ เช่นในระยะ 3 เดือน หรือ 6 เดือน แต่ประสบปัญหากลัวที่แคบในการเข้าตรวจ MR หลอดเลือดสมอง บางทีใช้การติดตามด้วยอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแทน

การอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดสมอง แพทย์ทำการตรวจที่ข้างเตียง ใช้คลื่นอัลตร้าซาวนด์ผ่านกะโหลกศีรษะ โดยส่วนมากจะเข้าตรวจหลอดเลือดได้ครบตามมาตรฐาน แต่มีข้อจำกัดในบางรายที่มีกะโหลกขมับหนาคลื่นอัลตร้าซาวนด์ผ่านเข้าไม่ได้

ส่วนในรายที่สงสัยหลอดเลือดสมองตีบทางด้านท้ายทอย ที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะ มีอาการเวลาเงยศีรษะ ยังแยกไม่ออกจากโรคเวียนศีรษะจากโรคหูชั้นใน แยกไม่ออกจากอาการไมเกรนที่เป็นบ่อย ๆ แยกไม่ออกจากอาการปวดคอที่มีอยู่

ความเห็นส่วนตัว มีประโยชน์มากในรายที่มีอาการดังกล่าว เนื่องจากใช้เสียงผ่านช่องกะโหลกด้านท้ายทอย ที่มีช่องอยู่ตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นข้อจำกัดในการตรวจ

เมื่อได้ผลการตรวจ พบสัญญาณหลอดเลือดตีบ จะเป็นแนวทางในการรักษา เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันร่วมกับโรคหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เป็นต้น

เพื่อเป็นแนวทางในการปรับยา โรคหลอดเลือดสมองหดตัวอื่น ๆ เช่น ไมเกรน เป็นต้น จากข้อมูลกรมควบคุมโรค ปี 2559 ประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 17 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5 ล้านคน ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากโรคหลอดเลือดสมองได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เราจึงให้ความสำคัญในการป้องกันโรคนี้

การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน
โดยยังไม่มีอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (Asymtomatic carotid stenosis screening)
  • ตรวจคัดกรองในกลุ่มอายุตั้งแต่ 65 ปี มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่)
  • ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด
    - ได้รับการรักษาด้วยยา ที่มีหลักฐานทางวิชาการ ช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือดแดง ได้แก่ ยากลุ่มลดความดันโลหิต ยาลดไขมัน ยาต้านเกร็ดเลือด และการเลิกสูบบุหรี่

การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ (Symptomatic peripheral vascular diseases)
  • ตรวจคัดกรอง ในผู้ที่มีอาการและตรวจพบว่ามีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงที่ขาผิดปกติ
  • มีโอกาสพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดบ่อยขึ้น ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 อย่าง ได้แก่ อายุตั้งแต่ 70 ปี โรคเบาหวาน สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาผิดปกติ ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย และยังสูบบุหรี่ต่อเนื่อง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อโรคสมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด
    - ลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
    - ควบคุมปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงที่ขา ได้แก่ โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่

การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน  ในผู้ป่วยที่มีโรคจอประสาทตาขาดเลือด (Retinal ischemic syndrome)
  • ตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่พบจักษุแพทย์ ด้วยอาการของตาข้างใดข้างหนึ่งมืดมัวไปชั่วขณะ หรือลานสายตาของตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติไป
  • ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ
    - ลดโอกาสเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยการรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ที่ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery bypass surgery)
  • ตรวจคัดกรองในผู้ที่ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด
  • ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด สัมพันธ์กับภาวะสมองขาดเลือดหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (Postoperative stroke after coronary artery bypass surgery)
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด มักเป็นผู้สูงอายุ และมีโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับภาวะหลอดเลือดแดงเสื่อม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ โรคเบาหวาน มีประวัติสูบบุหรี่
  • ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ
    - ผ่าตัด หรือใส่สายสวนหลอดเลือดแดงคาโรติด ก่อนทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือด
    - รักษาโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบประสาท
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022

แพทย์ผู้เขียน

นพ. ชัยธวัช เทียนวิบูลย์

img

ความถนัดเฉพาะทาง

แพทย์ทางด้านโรคระบบประสาท

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา

แพ็กเกจอื่นๆ