รู้จักโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
สำหรับผู้ที่มีอาการชาและปวดที่มือรวมไปถึงอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มือไม่มีแรง ทำให้หยิบจับของไม่ถนัด นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเข้าข่ายเป็น “พังผืดทับเส้นประสาท” ได้ โดยโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมในการใช้มือกับการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำกันเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้กันมากขึ้น
ผู้ป่วยโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ มักมีอาการชาบริเวณฝ่ามือ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการชานั้นจะเป็นเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนางด้านที่ติดกับนิ้วกลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาทมีเดียนที่เลี้ยงมือรับสัมผัส อย่างไรก็ตาม อาการในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะทางกายวิภาค และความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกัน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดร่วมด้วย อาการต่างๆ เหล่านี้มักจะเป็นมากขึ้นหลังจากการทำงานที่ใช้ข้อมือมากๆ โดยเฉพาะท่างอและกระดกมือ การวางมือในท่าคว่ำมือลง และข้อมือถูกกดทับเป็นเวลานานๆ อาจเป็นมากในเวลากลางคืนจนต้องตื่นขึ้นมาสะบัดข้อมือ ในผู้ป่วยบางรายที่อาการเป็นมาก อาจทำให้หยิบจับของไม่ถนัด เนื่องจากอาการชาที่มาก หรือมีอาการอ่อนแรงจากกล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือนั้นฝ่อลงไป เนื่องจากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงนั้นถูกกดทับ
สาเหตุ
การเกิดโรคมาจากการที่พังผืดบริเวณข้อมือที่ทำหน้าที่ห่อเอ็น และเส้นประสาทบริเวณข้อมือมีการหนาตัวขึ้นนั้น อาจมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การใช้งานข้อมือมากๆ ข้อมือถูกทับนานๆ ทำให้พังผืดนั้นไปกดเบียดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณฝ่ามือ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ หรือเคยมีกระดูกข้อมือหัก หรือเลื่อนหลุดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ อาจพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ก็สามารถหายได้เองหลังจากฮอร์โมนนั้นกลับมาสู่ภาวะปกติ
เนื่องด้วยสาเหตุในผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากการใช้ข้อมือที่มาก หรือข้อมือถูกกดทับ การรักษาเบื้องต้นจึงเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือไม่ให้ทำงานหนักหรือกดทับ การใส่เฝือกอ่อนดามข้อมือในเวลากลางคืน และทานยาแก้อักเสบลดบวม ในผู้ป่วยที่อาการไม่ทุเลาลงจากการรักษาเบื้องต้น อาจรักษาด้วยการฉีดยาสเตอรอยด์ และยาชาเข้าไปในบริเวณข้อมือเพื่อลดอาการบวมและปวด แต่อย่างไรก็ดีการฉีดยาเข้าไปที่ข้อมือก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท และการฉีดยาบ่อยครั้งจนเกินไปอาจทำให้เอ็นบริเวณข้อมือนั้นเปื่อยยุ่ยได้
ในผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการรักษาแบบประคับประคอง อาจรักษาด้วยการผ่าตัดคลายพังผืดที่ข้อมือ ซึ่งมักให้ผลการรักษาที่ดี แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยการผ่าตัดก็มีความเสี่ยง เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการช้ำใหม่หลังจากการผ่าตัด หรืออาการนั้นไม่หายหลังจากการผ่าตัดเลย ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขซ้ำอีกหลายครั้ง
โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการใช้ข้อมือที่มากเกินไป การรักษาด้วยการประคับประคองให้ผลดี หากผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในโรค และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ผู้ป่วยโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ มักมีอาการชาบริเวณฝ่ามือ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการชานั้นจะเป็นเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนางด้านที่ติดกับนิ้วกลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาทมีเดียนที่เลี้ยงมือรับสัมผัส อย่างไรก็ตาม อาการในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะทางกายวิภาค และความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกัน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดร่วมด้วย อาการต่างๆ เหล่านี้มักจะเป็นมากขึ้นหลังจากการทำงานที่ใช้ข้อมือมากๆ โดยเฉพาะท่างอและกระดกมือ การวางมือในท่าคว่ำมือลง และข้อมือถูกกดทับเป็นเวลานานๆ อาจเป็นมากในเวลากลางคืนจนต้องตื่นขึ้นมาสะบัดข้อมือ ในผู้ป่วยบางรายที่อาการเป็นมาก อาจทำให้หยิบจับของไม่ถนัด เนื่องจากอาการชาที่มาก หรือมีอาการอ่อนแรงจากกล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือนั้นฝ่อลงไป เนื่องจากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงนั้นถูกกดทับ
สาเหตุ
การเกิดโรคมาจากการที่พังผืดบริเวณข้อมือที่ทำหน้าที่ห่อเอ็น และเส้นประสาทบริเวณข้อมือมีการหนาตัวขึ้นนั้น อาจมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การใช้งานข้อมือมากๆ ข้อมือถูกทับนานๆ ทำให้พังผืดนั้นไปกดเบียดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณฝ่ามือ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ หรือเคยมีกระดูกข้อมือหัก หรือเลื่อนหลุดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ อาจพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ก็สามารถหายได้เองหลังจากฮอร์โมนนั้นกลับมาสู่ภาวะปกติ
เนื่องด้วยสาเหตุในผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากการใช้ข้อมือที่มาก หรือข้อมือถูกกดทับ การรักษาเบื้องต้นจึงเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือไม่ให้ทำงานหนักหรือกดทับ การใส่เฝือกอ่อนดามข้อมือในเวลากลางคืน และทานยาแก้อักเสบลดบวม ในผู้ป่วยที่อาการไม่ทุเลาลงจากการรักษาเบื้องต้น อาจรักษาด้วยการฉีดยาสเตอรอยด์ และยาชาเข้าไปในบริเวณข้อมือเพื่อลดอาการบวมและปวด แต่อย่างไรก็ดีการฉีดยาเข้าไปที่ข้อมือก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท และการฉีดยาบ่อยครั้งจนเกินไปอาจทำให้เอ็นบริเวณข้อมือนั้นเปื่อยยุ่ยได้
ในผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการรักษาแบบประคับประคอง อาจรักษาด้วยการผ่าตัดคลายพังผืดที่ข้อมือ ซึ่งมักให้ผลการรักษาที่ดี แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยการผ่าตัดก็มีความเสี่ยง เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการช้ำใหม่หลังจากการผ่าตัด หรืออาการนั้นไม่หายหลังจากการผ่าตัดเลย ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขซ้ำอีกหลายครั้ง
โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการใช้ข้อมือที่มากเกินไป การรักษาด้วยการประคับประคองให้ผลดี หากผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในโรค และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 15/10/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์
ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยแพทย์ทางด้านโรคกระดูกและข้อ