การตรวจหลอดเลือดสมอง : การประเมินความเสี่ยงอัมพฤกษ์ในโรคหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติดตีบแบบยังไม่เคยมีอาการ
การตรวจหลอดเลือดสมอง ในหัวข้อ
การประเมินความเสี่ยงอัมพฤกษ์ในโรคหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติดตีบแบบยังไม่เคยมีอาการ
หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง ได้รับเลือดมาจากหัวใจ ผ่านหลอดเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจ ได้เป็นแขนงสี่หลอด ผ่านลำคอ แบ่งเป็นระบบหลอดเลือดทางด้านหน้า มีด้านขวาและด้านซ้าย ระบบหลอดเลือดทางด้านหลัง มีด้านขวาและด้านซ้าย
ระบบหลอดเลือดทางด้านหน้า เรียกหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติด ส่งเลือดปริมาณ 8 ใน 10 ส่วน ระบบหลอดเลือดด้านหลัง ส่งเลือดปริมาณ 2 ใน 10 ส่วน
โรคที่เกิดกับหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติด อาจส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตถาวรจากสมองขาดเลือดเป็นบริเวณกว้าง
โรคหลอดแดงใหญ่คาโรติดตีบที่ส่งผลให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เรียกโรคคาโรติดตีบแบบมีอาการ ตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดสมอง พบสัญญาณอนุภาคจากเกล็ดเลือดเกาะคราบไขมันที่หลอดเลือดคอ หลุดลอยขึ้นไปตามกระแสเลือดตรวจพบได้ที่หลอดเลือดสมอง ให้การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด
เนื่องจากมีโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตซ้ำได้ถึง 26% ใน 2 ปี
การรักษาด้วยการผ่าตัดหลอดเลือดแดงคาโรติด Carotid Endarterectomy หรือการสวนหลอดเลือดแดงเพื่อใส่ขดลวดขยายบริเวณหลอดเลือดตีบ Carotid stenting เป็นการรักษามาตรฐานเมื่อพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบแบบมีอาการ
ในบางกรณี ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด แต่ยังไม่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมาก่อน ตรวจพบหลอดเลือดคาโรติดตีบ จะประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลหลายๆ อย่างประกอบกัน ได้แก่
• ลักษณะคราบไขมันที่เกาะหลอดเลือด ประเมินโดยอัลตราซาวด์หลอดเลือดคอ
• โรคหลอดเลือดแดงที่คอด้านตรงข้าม
• Diffusion MRI และ Conventional MRI ตรวจดูร่องรอยเนื้อสมองขาดเลือดเฉียบพลัน และเทียบความแตกต่างของร่องรอยเนื้อสมองขาดเลือด ระหว่างสมองทั้งสองซีก
• CT หรือ MRI Perfusion Scan เพื่อดูการไหลเวียน และปริมาณเลือด ที่เข้าไปเลี้ยงเนื้อสมอง
อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบแบบยังไม่เคยมีอาการ มีโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ประมาณ 1% ต่อปี อุบัติการณ์แตกต่างกันมาก เมื่อเทียบกับโรคหลอดเลือดคาโรติดตีบแบบมีอาการ
ผลการตรวจประเมินความเสี่ยงไว้ใช้พิจารณาร่วมกับข้อดี และผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดตีบ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การประเมินความเสี่ยงอัมพฤกษ์ในโรคหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติดตีบแบบยังไม่เคยมีอาการ
หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง ได้รับเลือดมาจากหัวใจ ผ่านหลอดเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจ ได้เป็นแขนงสี่หลอด ผ่านลำคอ แบ่งเป็นระบบหลอดเลือดทางด้านหน้า มีด้านขวาและด้านซ้าย ระบบหลอดเลือดทางด้านหลัง มีด้านขวาและด้านซ้าย
ระบบหลอดเลือดทางด้านหน้า เรียกหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติด ส่งเลือดปริมาณ 8 ใน 10 ส่วน ระบบหลอดเลือดด้านหลัง ส่งเลือดปริมาณ 2 ใน 10 ส่วน
โรคที่เกิดกับหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติด อาจส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตถาวรจากสมองขาดเลือดเป็นบริเวณกว้าง
โรคหลอดแดงใหญ่คาโรติดตีบที่ส่งผลให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เรียกโรคคาโรติดตีบแบบมีอาการ ตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดสมอง พบสัญญาณอนุภาคจากเกล็ดเลือดเกาะคราบไขมันที่หลอดเลือดคอ หลุดลอยขึ้นไปตามกระแสเลือดตรวจพบได้ที่หลอดเลือดสมอง ให้การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด
เนื่องจากมีโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตซ้ำได้ถึง 26% ใน 2 ปี
การรักษาด้วยการผ่าตัดหลอดเลือดแดงคาโรติด Carotid Endarterectomy หรือการสวนหลอดเลือดแดงเพื่อใส่ขดลวดขยายบริเวณหลอดเลือดตีบ Carotid stenting เป็นการรักษามาตรฐานเมื่อพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบแบบมีอาการ
ในบางกรณี ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด แต่ยังไม่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมาก่อน ตรวจพบหลอดเลือดคาโรติดตีบ จะประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลหลายๆ อย่างประกอบกัน ได้แก่
• ลักษณะคราบไขมันที่เกาะหลอดเลือด ประเมินโดยอัลตราซาวด์หลอดเลือดคอ
• โรคหลอดเลือดแดงที่คอด้านตรงข้าม
• Diffusion MRI และ Conventional MRI ตรวจดูร่องรอยเนื้อสมองขาดเลือดเฉียบพลัน และเทียบความแตกต่างของร่องรอยเนื้อสมองขาดเลือด ระหว่างสมองทั้งสองซีก
• CT หรือ MRI Perfusion Scan เพื่อดูการไหลเวียน และปริมาณเลือด ที่เข้าไปเลี้ยงเนื้อสมอง
อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบแบบยังไม่เคยมีอาการ มีโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ประมาณ 1% ต่อปี อุบัติการณ์แตกต่างกันมาก เมื่อเทียบกับโรคหลอดเลือดคาโรติดตีบแบบมีอาการ
ผลการตรวจประเมินความเสี่ยงไว้ใช้พิจารณาร่วมกับข้อดี และผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดตีบ
รูปที่ 1 ภาพ MRA แบบไม่ฉีดสี
ภาพด้านซ้ายมือ แสดงหลอดเลือดแดงใหญ่ สี่หลอดเลือด ผ่านคอ ขึ้นไปเลี้ยงสมอง
ภาพตรงกลาง แสดงระบบหลอดเลือดสมองทางด้านหน้า มีด้านขวาและด้านซ้าย
ภาพด้านขวามือ แสดงระบบหลอดเลือดสมองทางด้านหลัง
ภาพด้านซ้ายมือ แสดงหลอดเลือดแดงใหญ่ สี่หลอดเลือด ผ่านคอ ขึ้นไปเลี้ยงสมอง
ภาพตรงกลาง แสดงระบบหลอดเลือดสมองทางด้านหน้า มีด้านขวาและด้านซ้าย
ภาพด้านขวามือ แสดงระบบหลอดเลือดสมองทางด้านหลัง
รูปที่ 2 แสดงโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบแบบมีอาการ
ภาพด้านซ้ายมือ เป็นภาพ CTA สามมิติ แสดงหลอดเลือดคาโรติดด้านซ้ายตีบ
ภาพตรงกลาง และภาพด้านขวามือ เป็นภาพ MRI แสดงบริเวณเนื้อสมองขาดเลือด ผู้ป่วยมีอาการแขนขาขวาอ่อนแรง
ภาพด้านซ้ายมือ เป็นภาพ CTA สามมิติ แสดงหลอดเลือดคาโรติดด้านซ้ายตีบ
ภาพตรงกลาง และภาพด้านขวามือ เป็นภาพ MRI แสดงบริเวณเนื้อสมองขาดเลือด ผู้ป่วยมีอาการแขนขาขวาอ่อนแรง
รูปที่ 3 ภาพอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงคาโรติด
แสดงภาพตัดขวางหลอดเลือด มีคราบไขมันที่เปลือกแคปซูลแตกเป็นแผล เรียก ulcerative plaque
แสดงภาพตัดขวางหลอดเลือด มีคราบไขมันที่เปลือกแคปซูลแตกเป็นแผล เรียก ulcerative plaque
รูปที่ 4 ภาพ MRI สมอง
แสดงร่องรอยสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นผู้ป่วยรายเดียวกับรูปที่ 3 สาเหตุเกิดจากอนุภาคเกล็ดเลือดหรือคราบไขมันลอยมาตามกระแสเลือด
อุดตันหลอดเลือดสมองส่วนปลาย ulcerative plaque
ในรูปที่ 3 จัดเป็นคราบไขมันชนิดที่มีความเสี่ยง อาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดเนื้อสมองขาดเลือด
แสดงร่องรอยสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นผู้ป่วยรายเดียวกับรูปที่ 3 สาเหตุเกิดจากอนุภาคเกล็ดเลือดหรือคราบไขมันลอยมาตามกระแสเลือด
อุดตันหลอดเลือดสมองส่วนปลาย ulcerative plaque
ในรูปที่ 3 จัดเป็นคราบไขมันชนิดที่มีความเสี่ยง อาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดเนื้อสมองขาดเลือด
รูปที่5
ภาพด้านซ้ายมือ เป็นภาพ CTA สามมิติ ฉีดสี แสดงหลอดเลือดคาโรติดด้านซ้ายตีบ
เปรียบเทียบกับ ภาพด้านขวามือ เป็นภาพ MRA ไม่ฉีดสี
ภาพด้านซ้ายมือ เป็นภาพ CTA สามมิติ ฉีดสี แสดงหลอดเลือดคาโรติดด้านซ้ายตีบ
เปรียบเทียบกับ ภาพด้านขวามือ เป็นภาพ MRA ไม่ฉีดสี
รูปที่6
ภาพอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแดงคาโรติด แสดงคราบไขมันขนาดใหญ่ มีผลทำให้ทางเดินเลือดตีบ
เหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1.93 มิลลิเมตร คราบไขมันเป็นชนิดที่มีความเสี่ยง
เป็นคราบไขมันขนาดใหญ่และลักษณะเป็นคราบไขมันนิ่ม (soft plaque)
ภาพอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแดงคาโรติด แสดงคราบไขมันขนาดใหญ่ มีผลทำให้ทางเดินเลือดตีบ
เหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1.93 มิลลิเมตร คราบไขมันเป็นชนิดที่มีความเสี่ยง
เป็นคราบไขมันขนาดใหญ่และลักษณะเป็นคราบไขมันนิ่ม (soft plaque)
รูปที่ 7 ภาพ CT perfusion ตรวจโดย CT แบบฉีดสี
ดูการไหลเวียนของเลือดที่เลี้ยงเนื้อสมอง เพื่อวินิจฉัยบริเวณที่สมองขาดเลือด และบริเวณที่การไหลเวียนไปถึงช้า
ในภาพเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองทั้งสองซีกเป็นปกติและปริมาณพอๆกัน
ดูการไหลเวียนของเลือดที่เลี้ยงเนื้อสมอง เพื่อวินิจฉัยบริเวณที่สมองขาดเลือด และบริเวณที่การไหลเวียนไปถึงช้า
ในภาพเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองทั้งสองซีกเป็นปกติและปริมาณพอๆกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบประสาท
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 29/10/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ชัยธวัช เทียนวิบูลย์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบประสาท