มะเร็งมรดกตกทอดทางพันธุกรรม รู้ก่อนป้องกันได้ รู้ไวมีโอกาสรักษาหายขาด
แท้จริงแล้วมะเร็งถือเป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายเกิดการกลายพันธ์ของสารพันธุกรรมหรือยีน ทำให้เซลล์แบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งจนเกิดเป็นมะเร็ง โดยส่วนมากการกลายพันธ์ของยีนเกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ อาหารปิ้งย่าง รวมถึงการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส HPV ที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้เราทราบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มหนึ่งมีการกลายพันธ์ของยีนตั้งแต่กำเนิด ได้รับจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น
มะเร็งที่มีโอกาสถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก
กลุ่มคนที่สงสัย หรือเสี่ยงโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ ตนเอง หรือคนในครอบครัว
มีประวัติดังต่อไปนี้
1. เป็นมะเร็งตอนอายุน้อย ก่อนอายุ 50 ปี
2. เป็นมะเร็งหลายๆชนิดในบุคคลเดียวกัน
3. เป็นมะเร็งหลายๆตำแหน่ง เช่น เป็นมะเร็งเต้านมทั้ง 2 ข้าง
4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งหลายๆคน (>3 คน)
5. เพศชายเป็นมะเร็งเต้านม
การตรวจยีนเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งพันธุกรรม
ทำได้โดยการตรวจเลือด ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร นำเลือดไปสกัด DNA เพื่อค้นหาการกลายพันธ์ของยีนก่อมะเร็งและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตรวจโดยใช้เทคนิคแบบ Next generation sequencing หรือ NGS ทำให้เราสามารถตรวจการกลายพันธ์ของยีนมะเร็งที่พบบ่อยได้หลายยีนพร้อมกันอย่างแม่นยำ ซึ่งการตรวจในคนที่มีข้อบ่งชี้ หรือข้อสงสัยว่าผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งจากพันธุกรรม จะช่วยพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอนาคต เพื่อประโยชน์ในการตวจคัดกรอง เฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างยีนที่พบบ่อยและสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมถึง 80% และมะเร็งรังไข่ถึง 30% คือ BRCA gene คนที่ตรวจพบว่ามียีน BRCA ผิดปกติ ควรได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมและมะเร็งรังไข่บ่อยกว่าคนทั่วไป และมีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในอนาคต ได้แก่ การผ่าตัดเต้านมแบบสงวนเต้า และหรือรวมถึงการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ในคนที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว เป็นต้น
การที่เรารู้ก่อนว่าเรามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ทำให้เราสามารถวางแผนการใช้ชีวิต การดูแล ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น เพราะโรคมะเร็ง รู้ก่อน ป้องกันได้ รู้ไว มีโอกาสรักษาหายขาด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้เราทราบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มหนึ่งมีการกลายพันธ์ของยีนตั้งแต่กำเนิด ได้รับจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น
มะเร็งที่มีโอกาสถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก
กลุ่มคนที่สงสัย หรือเสี่ยงโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ ตนเอง หรือคนในครอบครัว
มีประวัติดังต่อไปนี้
1. เป็นมะเร็งตอนอายุน้อย ก่อนอายุ 50 ปี
2. เป็นมะเร็งหลายๆชนิดในบุคคลเดียวกัน
3. เป็นมะเร็งหลายๆตำแหน่ง เช่น เป็นมะเร็งเต้านมทั้ง 2 ข้าง
4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งหลายๆคน (>3 คน)
5. เพศชายเป็นมะเร็งเต้านม
การตรวจยีนเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งพันธุกรรม
ทำได้โดยการตรวจเลือด ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร นำเลือดไปสกัด DNA เพื่อค้นหาการกลายพันธ์ของยีนก่อมะเร็งและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตรวจโดยใช้เทคนิคแบบ Next generation sequencing หรือ NGS ทำให้เราสามารถตรวจการกลายพันธ์ของยีนมะเร็งที่พบบ่อยได้หลายยีนพร้อมกันอย่างแม่นยำ ซึ่งการตรวจในคนที่มีข้อบ่งชี้ หรือข้อสงสัยว่าผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งจากพันธุกรรม จะช่วยพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอนาคต เพื่อประโยชน์ในการตวจคัดกรอง เฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างยีนที่พบบ่อยและสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมถึง 80% และมะเร็งรังไข่ถึง 30% คือ BRCA gene คนที่ตรวจพบว่ามียีน BRCA ผิดปกติ ควรได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมและมะเร็งรังไข่บ่อยกว่าคนทั่วไป และมีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในอนาคต ได้แก่ การผ่าตัดเต้านมแบบสงวนเต้า และหรือรวมถึงการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ในคนที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว เป็นต้น
การที่เรารู้ก่อนว่าเรามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ทำให้เราสามารถวางแผนการใช้ชีวิต การดูแล ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น เพราะโรคมะเร็ง รู้ก่อน ป้องกันได้ รู้ไว มีโอกาสรักษาหายขาด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เคมีบำบัดและโลหิตวิทยา
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 03/04/2023
แพทย์ผู้เขียน
พญ. คัคนานต์ เทียนไชย
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านมะเร็งบำบัด