นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร?
นอนกัดฟันเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น ความเครียด เป็นต้น ว่าแต่การนอนกัดฟันจะมีอาการ และการรักษาอย่างไรบ้าง เรามีข้อมูลมาบอกค่ะ
การนอนกัดฟัน เป็นภาวะเมื่อเกิดการบด กัด หรือขบเน้นฟัน ซึ่งภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันหรือขณะกำลังนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว โดยผู้ที่มีการขบเน้นฟันหรือบดกัดฟันในขณะนอนหลับ มักจะพบว่ามีโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับการนอนหลับ เช่น นอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งสาเหตุของการนอนกัดฟันส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวของกับปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสให้เกิดการนอนกัดฟัน ได้แก่
อาการของการนอนกัดฟัน
การรักษาการนอนกัดฟัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การนอนกัดฟัน เป็นภาวะเมื่อเกิดการบด กัด หรือขบเน้นฟัน ซึ่งภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันหรือขณะกำลังนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว โดยผู้ที่มีการขบเน้นฟันหรือบดกัดฟันในขณะนอนหลับ มักจะพบว่ามีโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับการนอนหลับ เช่น นอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งสาเหตุของการนอนกัดฟันส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวของกับปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสให้เกิดการนอนกัดฟัน ได้แก่
- อายุ การนอนกัดฟันเป็นเรื่องปกติที่เกิดกับเด็ก แต่จะหายไปเองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
- บุคลิกภาพหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เช่น ชอบการแข่งขัน สมาธิสั้น ผู้ที่มีนิสัยก้าวร้าว สามารถเพิ่มโอกาสในการนอนกัดฟันได้
- สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
- การใช้ยารักษาโรค ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ซึ่งรวมไปถึงยาทางจิตเวชที่มีผลกระทบต่ออารมณ์หรือจิตใจ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า และยารักษาอาการทางจิต
อาการของการนอนกัดฟัน
- มีการบดกัดหรือขบเน้นฟัน ซึ่งอาจมีเสียงดังมากพอที่จะทำให้คนข้าง ๆ ตื่นได้
- กล้ามเนื้อที่ขากรรไกรอ่อนล้าหรือเกร็ง
- ปวดศีรษะ
- อ้าปากได้ลำบาก
- เจ็บปวดบริเวณขากรรไกรหรือเจ็บกล้ามเนื้อใบหน้า
- ฟันหลายๆ ซี่ในปากสึกและอาจมีอาการเสียวฟัน เมื่อมีสั่งกระตุ้นหรือไม่มีก็ได้
การรักษาการนอนกัดฟัน
- เฝือกสบฟันหรือฟันยาง ทำจากอะคริลิกแข็งหรือวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการบดเคี้ยวและการขบเน้นฟัน
- การจัดฟัน ทันตแพทย์อาจทำการปรับแต่งพื้นผิวฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวหรือที่มีการครอบฟัน ทันตแพทย์อาจแนะนำให้มีการจัดฟันหรือการผ่าตัดในบางราย
- จัดการกับความเครียด ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาด้วยการพบผู้ให้คำปรึกษา หรือออกกำลังกาย นั่งสมาธิ เพื่อให้ผ่อนคลาย
- ยาคลายกล้ามเนื้อ ในบางรายแพทย์อาจให้ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เป็นระยะเวลาสั้น ๆ
- ฉีดโบทูลินั่มท็อกซินเอ แพทย์จะฉีดโบทูลินั่มท็อกซินเอ ไปที่กล้ามเนื้อเคี้ยว Masseter Muscle ซึ่งหลังฉีดโบทูลินั่มท็อกซินเอไปที่กล้ามเนื้อกรามตัวนี้จะทำให้อ่อนแรงลง พละกำลังในการกัดฟันลดลง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์ทันตกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 23/05/2024
แพทย์ผู้เขียน
ทพญ. หัทยา ศิริสวย
ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล