โรคหัวใจสลาย โรคทางใจที่ส่งผลต่อร่างกาย
โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติของการทำงานของหัวใจที่ถูกกระตุ้นให้เกิดจากความเครียดทางจิตใจ (Emotion Stress) เช่น เสียใจ เศร้า ผิดหวัง อย่างรุนแรง เช่นสูญเสียคนในครอบครัวอย่างกะทันหัน สูญเสียคนรัก หรือตกใจอย่างรุนแรง หรือในบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย (Physical Stress) เช่น การเจ็บปวดอย่างรุนแรง การผ่าตัดใหญ่ ได้รับอุบัติเหตุรุนแรง หลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ แล้วส่งผลให้เกิดภาวการณ์ทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โดยมีความแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงอย่างเฉียบพลัน การทำงานของหัวใจที่ลดลงเฉียบพลันนี้ ส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย น้ำท่วมปอด หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หน้ามืด วูบ ตามมา ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุเฉลี่ย 60-75 ปี คนในอายุน้อยกว่า 50 ปีพบได้ไม่บ่อย
การวินิจฉัย
จะอาศัยอาการของผู้ป่วยที่มีลักษณะเข้าได้กับภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ร่วมกับมีประวัติความเครียดที่รุนแรงทั้งทางร่างกายหรือทางจิตใจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะพบลักษณะคลื่นหัวใจไฟฟ้า (Electrocardiogram) ผิดปกติที่มีลักษณะเหมือนกราฟไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ถ้าตรวจเลือดจะพบว่าค่าผลเลือดที่บ่งชี้ว่ามีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ คือ Troponin จะมีค่าขึ้นสูงกว่าปกติ
การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) จะพบว่ามีลักษณะการบีบตัวของหัวใจที่ผิดปกติ คือ ความแรงในการบีบตัวของหัวใจจะลดลง และหัวใจห้องล่างซ้ายขณะบีบตัวจะมีรูปร่างผิดปกติป่องออกเป็นคล้ายลูกโป่งที่เรียกว่า Apical ballooning หรือคล้ายหม้อใส่ปลาหมึกของชาวญี่ปุ่น
การรักษา
โดยปกติอาการของหัวใจวายจากภาวะ Broken Heart Syndrome จะเกิดขึ้นชั่วคราว และค่อยๆ หายไปได้เอง การรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง โดยให้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ยาขับปัสสาวะ ยาควบคุมการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ในบางรายที่อาการรุนแรงมากมีภาวะหายใจล้มเหลวด้วยอาจจะต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์ นอกจากการให้ยา หรือเครื่องมือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ยังจำเป็นที่ต้องรักษาภาวะเครียดที่เป็นต้นเหตุของภาวะ Broken Heart Syndrome ควบคู่กันไปด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การวินิจฉัย
จะอาศัยอาการของผู้ป่วยที่มีลักษณะเข้าได้กับภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ร่วมกับมีประวัติความเครียดที่รุนแรงทั้งทางร่างกายหรือทางจิตใจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะพบลักษณะคลื่นหัวใจไฟฟ้า (Electrocardiogram) ผิดปกติที่มีลักษณะเหมือนกราฟไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ถ้าตรวจเลือดจะพบว่าค่าผลเลือดที่บ่งชี้ว่ามีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ คือ Troponin จะมีค่าขึ้นสูงกว่าปกติ
การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) จะพบว่ามีลักษณะการบีบตัวของหัวใจที่ผิดปกติ คือ ความแรงในการบีบตัวของหัวใจจะลดลง และหัวใจห้องล่างซ้ายขณะบีบตัวจะมีรูปร่างผิดปกติป่องออกเป็นคล้ายลูกโป่งที่เรียกว่า Apical ballooning หรือคล้ายหม้อใส่ปลาหมึกของชาวญี่ปุ่น
การรักษา
โดยปกติอาการของหัวใจวายจากภาวะ Broken Heart Syndrome จะเกิดขึ้นชั่วคราว และค่อยๆ หายไปได้เอง การรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง โดยให้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ยาขับปัสสาวะ ยาควบคุมการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ในบางรายที่อาการรุนแรงมากมีภาวะหายใจล้มเหลวด้วยอาจจะต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์ นอกจากการให้ยา หรือเครื่องมือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ยังจำเป็นที่ต้องรักษาภาวะเครียดที่เป็นต้นเหตุของภาวะ Broken Heart Syndrome ควบคู่กันไปด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 08/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
นพ. พิรุณ จุฬาโรจน์มนตรี
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคหัวใจ