โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก เป็นอาการที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก สาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ส่งผลให้หลับตาไม่สนิท มุมปากตกและขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันเถอะ
โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก คือ อาการที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ส่งผลให้หลับตาได้ไม่สนิท ร่วมกับมุมปากตกและขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ โดยเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรค แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อเริมของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่เรียกว่า เส้นประสาทใบหน้า (facial nerve) ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกด้านนั้นเป็นอัมพาต ทั้งนี้แรงของกล้ามเนื้อแขนและขาของผู้ป่วยยังปกติอยู่ ไม่มีอาการอ่อนแรง
อาการ
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก จะมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน และรุนแรงขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คิ้วตก ปิดตาไม่สนิท รอยย่นข้างจมูกหายไป มุมปากตก เคี้ยวหรือดื่มน้ำจะไหลเพราะปิดปากไม่สนิท
การตรวจค้นเพื่อการวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยกระแสไฟฟ้าระบบประสาท (electrodiagnostic studies) ช่วยพยากรณ์โรคและการตรวจทางรังสีวิทยา (imaging studies) นั้นมีความเป็นไปได้ในการบอกสาเหตุของการเกิดใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปการตรวจเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นในผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วยที่มีอาการเฉพาะเจาะจงซึ่งสามารถฟื้นฟูได้เองไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจเหล่านี้
การรักษา
• การรักษาทางยา ถ้าจะให้ได้ผลดีควรรับประทานยาโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกิน 1 สัปดาห์โอกาสฟื้นตัวจะน้อยลง ยาที่จะใช้เป็นในกลุ่มของสเตียรอยด์ เป็นเวลาประมาณ 10 วัน มักจะมีอาการฟื้นและหายได้อย่างดี การใช้ยากลุ่มนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก พิจารณายาฆ่าเชื้อไวรัสในผู้ป่วยที่มีอาการมาก
• การรักษาทางกายภาพบำบัด รักษาโดยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อในขณะที่รอการฟื้นตัวของเส้นประสาท ผู้ป่วยสามารถทำได้บ่อยๆ หลายครั้งต่อวัน
• การรักษาโดยการผ่าตัด ทางศัลยแพทย์จะเข้ามามีบทบาทในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรครุนแรงและไม่หาย คือผู้ป่วยยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่นานเกิน 9 เดือนขึ้นไป เช่น ผ่าตัดแก้ไขหนังตาที่ปิดไม่สนิท
อาการแทรกซ้อน
ผู้ป่วยอาจมีอาการตาอักเสบเนื่องจากการที่ไม่สามารถปิดตาได้สนิท มีอาการตาแห้งต้องอาศัยการหยอดน้ำตาเทียมช่วย
การดูแลตนเองหลังเกิดอาการ
• ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อป้องกันอาการตาแห้ง
• ควรใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอน
• ควรสวมแว่นตาเวลาออกนอกบ้าน เพื่อกันลมและฝุ่นละอองเข้าตา
• บริหารกล้ามเนื้อใบหน้าบ่อยๆ
• เลี่ยงขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท
• มาพบแพทย์ตามนัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก คือ อาการที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ส่งผลให้หลับตาได้ไม่สนิท ร่วมกับมุมปากตกและขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ โดยเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรค แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อเริมของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่เรียกว่า เส้นประสาทใบหน้า (facial nerve) ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกด้านนั้นเป็นอัมพาต ทั้งนี้แรงของกล้ามเนื้อแขนและขาของผู้ป่วยยังปกติอยู่ ไม่มีอาการอ่อนแรง
อาการ
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก จะมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน และรุนแรงขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คิ้วตก ปิดตาไม่สนิท รอยย่นข้างจมูกหายไป มุมปากตก เคี้ยวหรือดื่มน้ำจะไหลเพราะปิดปากไม่สนิท
การตรวจค้นเพื่อการวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยกระแสไฟฟ้าระบบประสาท (electrodiagnostic studies) ช่วยพยากรณ์โรคและการตรวจทางรังสีวิทยา (imaging studies) นั้นมีความเป็นไปได้ในการบอกสาเหตุของการเกิดใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปการตรวจเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นในผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วยที่มีอาการเฉพาะเจาะจงซึ่งสามารถฟื้นฟูได้เองไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจเหล่านี้
การรักษา
• การรักษาทางยา ถ้าจะให้ได้ผลดีควรรับประทานยาโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกิน 1 สัปดาห์โอกาสฟื้นตัวจะน้อยลง ยาที่จะใช้เป็นในกลุ่มของสเตียรอยด์ เป็นเวลาประมาณ 10 วัน มักจะมีอาการฟื้นและหายได้อย่างดี การใช้ยากลุ่มนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก พิจารณายาฆ่าเชื้อไวรัสในผู้ป่วยที่มีอาการมาก
• การรักษาทางกายภาพบำบัด รักษาโดยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อในขณะที่รอการฟื้นตัวของเส้นประสาท ผู้ป่วยสามารถทำได้บ่อยๆ หลายครั้งต่อวัน
• การรักษาโดยการผ่าตัด ทางศัลยแพทย์จะเข้ามามีบทบาทในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรครุนแรงและไม่หาย คือผู้ป่วยยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่นานเกิน 9 เดือนขึ้นไป เช่น ผ่าตัดแก้ไขหนังตาที่ปิดไม่สนิท
อาการแทรกซ้อน
ผู้ป่วยอาจมีอาการตาอักเสบเนื่องจากการที่ไม่สามารถปิดตาได้สนิท มีอาการตาแห้งต้องอาศัยการหยอดน้ำตาเทียมช่วย
การดูแลตนเองหลังเกิดอาการ
• ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อป้องกันอาการตาแห้ง
• ควรใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอน
• ควรสวมแว่นตาเวลาออกนอกบ้าน เพื่อกันลมและฝุ่นละอองเข้าตา
• บริหารกล้ามเนื้อใบหน้าบ่อยๆ
• เลี่ยงขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท
• มาพบแพทย์ตามนัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบประสาท
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 18/07/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. สุรัตน์ สิงห์มณีสกุลชัย
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบประสาท