• banner

ไปต่ออย่างไร เมื่อต้องเจอกับภาวะมีบุตรยาก

แต่งงานทั้งทีส่วนใหญ่ต้องอยากมีลูก แต่การมีลูกจะยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับทั้งวัย ความถี่ในการร่วมเพศและแม้กระทั่งสุขภาพ ทั้งนี้จำนวนผู้ที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากมีแนวโน้มสูงมากขึ้นทุกๆ ที ซึ่งหากพบปัญหานั้น แต่ละคู่ควรมีทัศนคติที่ดี เมื่อรู้ว่าคู่ของเรา ‘มีบุตรยาก’ เราควรปรับทัศนคติกันสักหน่อย

" ทัศนคติที่ควรมี เมื่อรู้ว่าคู่ของเรา ‘มีบุตรยาก’ "
คนมีบุตรยากเมื่อไปพบแพทย์ส่วนใหญ่มีข้อสงสัยมากมายว่าการมีบุตรยากนั้นเกิดจากสิ่งใดได้บ้าง สิ่งเราก็ได้กล่าวไปแล้วในหลายบทความ เช่น เกิดจากอะไร ใครเป็นสาเหตุ และแน่นอนสิ่งนี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แถมบางกรณียังหาสาเหตุไม่ได้ด้วยซ้ำไป

ต่อมาด้วยคำถาม “คู่มีบุตรยากส่วนมากอยากมีลูกเร็วแค่ไหน”
โดยปกติแล้ว หากเป็นคู่รักที่มีบุตรยาก และเข้ารักษาอย่างทันท้วงที และเป็นเคสที่ไม่หนักจะสามารถมีบุตรได้ภายใน 1-3 ปี จากนั้นก็จะลดลงตามลำดับ ซึ่งในแต่ละคู่ต้องเตรียมตัวทั้งร่างกายและจิตใจมาเป็นอย่างดี มิเช่นนั้น คงยากยิ่งขึ้น ยิ่งหากทัศนคติลบ ไม่พร้อมที่จะทำตามแพทย์แนะนำ ก็อาจจะส่งผลต่อการมีบุตรได้  ทั้งนี้เราขอแนะนำวิธีเลี่ยงสิ่งที่จะลดโอกาสตั้งครรภ์ เมื่อรู้ว่าฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมีบุตรยาก ดังนี้
  1. ห้ามเครียด
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ  นอนน้อยเป็นเหตุ
  3. ทำน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่สมดุล BMI= น้ำหนักตัว (kg) / ส่วนสูง m2 และ ค่า BMI มาตรฐานเอเชียอยู่ระหว่าง 18.5–22.9
สุดท้าย อย่าเครียดและหมั่นให้กำลังใจกันอย่างสม่ำเสมอ หรือพูดคุยกับคู่ของคุณในทัศนคติที่ดีๆ จะได้ลดแรงกดดัน ทำให้พร้อมมากขึ้นได้

" การสนับสนุนซึ่งกันและกันของคู่มีบุตรยาก "
หากประสบปัญหามีบุตรยากแล้ว แต่ละคู่แต่ละคน ก็จะได้รับการรักษที่แตกต่างกันไป ทั้งเพศและสาเหตุที่พบ เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติการรักษาและการมีเพศสัมพันธ์ของแต่ละคู่ ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงอันก่อให้เกิดภาวะมีลูกยาก และการวินิจฉัยปัจจัยอีกหลายอย่าง ดังนี้
  1. อายุของฝ่ายหญิงซึ่งส่งผลให้การสร้างฟองไข่ และการเจริญของฟองไข่ผิดปกติ
  2. วิธีที่ใช้ในการทำหมันครั้งก่อน
  3. ความยาวของท่อนำไข่ที่เหลือภายหลังจากการทำหมัน
  4. การติดเชื้อในภายในอุ้งเชิงกรานจากการผ่าตัด
  5. ปริมาณความเข้มข้นของเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย

เมื่อมีบุตรยาก การดูแลสุขภาพตนเองและคู่ของตนถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ตั้งแต่การปรับพฤติกรรม จนถึงการดูแลตนเองในด้านของสุขภาพ อาหารการกิน โดยสิ่งที่สามารถทำได้ก็จะสอดคล้องกับปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยากข้างต้น คือ ร่างกาย และจิตใจ

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านั้น หลายคน หลายคู่ คงคิดว่า ทำคนเดียวก็ได้ แต่บอกเลยว่ามันไม่ใช่ เพราะสิ่งนั้น คือ สิ่งที่แต่ละคู่ควรทำร่วมกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายกับคู่ การช่วยกันคัดเลือกสรรอาหารการกิน เป็นต้น สุดท้ายอย่าลืมอยู่ข้างๆ และให้กำลังใจกันและกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

การรับมือกับภาวะการมีบุตรยาก "step by step"
พูดถึงการให้กำลังซึ่งกันและกันเมื่อเข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก เพื่อก้าวผ่านปัญหาได้อย่างดี เรามารับมือกับภาวะมีบุตรยากนี้ แบบ Step by Step กันดีกว่า

เมื่อทราบว่าตนเองมีบุตรยาก ควรเตรียมตัวแบบนี้…
  1. พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  4. รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัย ที่ทำให้เกิดความเครียดเ
  6. งด การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพย์ติด

แม้การรักษาการมีบุตรยากนั้นอาจจะไม่ 100% แต่ก็สามารถรักษาได้ ด้วยการพิจารณารักษาจากแพทย์ตรวจพบ ซึ่งการรักษาภาวะมีบุตรยากจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือในการรักษา คู่สมรสต้องมีความอดทน และเข้าใจในวิธีการรักษาของแพทย์ ที่สำคัญอย่าลืมเด็ดดขาด แต่ละคู่ไม่ควรลืมที่จะใช้เวลากับคู่สมรสที่จะพูดคุยกัน ให้กำลังใจกัน เพื่อผลที่ดีที่สุดในการรักษา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022

แพทย์ผู้เขียน

พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

img

ความถนัดเฉพาะทาง

แพทย์ทางด้านรักษาผู้มีบุตรยาก

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา