โรคอัลไซเมอร์ ภัยเงียบของผู้สูงวัย
โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะหนึ่งของโรคสมองเสื่อม พบมากในผู้สูงวัย โดยมีอาการสูญเสียความทรงจำแบบค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้มีปัญหาในเรื่องของความคิด ความจำ พฤติกรรม และการใช้ภาษาที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากครอบครัวหรือญาติสังเกตเห็นความผิดปกติได้เร็ว ก็จะสามารถยืดระยะเวลาและช่วยชะลอการดำเนินโรคหรือความเสื่อมของสมองได้
ในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าอัตราความชุกของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักย่อมพบมากขึ้นตามไปด้วย ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มักมาปรึกษาแพทย์ คือ มีอาการหลงลืม โดยเฉพาะความจำใหม่ๆ เรื่องราวใหม่ๆ จะไม่สามารถจำได้ เช่น ลืมของ ลืมกุญแจ ทำของหาย ถามซ้ำ-พูดซ้ำ คิดช้า การตัดสินใจลดลง นึกชื่อคน/สิ่งของไม่ออก แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยยังสามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้ดี ประเด็นที่มักมีปัญหากับครอบครัว คือ ในระยะแรกของโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอาจยังไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความจำที่ผิดปกติ ไม่ยอมรับในอาการเจ็บป่วย/หลงลืมของตนเอง จนในบางครั้งเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว โดยญาติมักจะเป็นผู้สังเกตเห็นความผิดปกติก่อน และเป็นฝ่ายพาผู้ป่วยมาพบแพทย์
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ 2 ชนิด คือโปรตีนอมัยลอยด์ (amyloid) และโปรตีนทาว (tau) ทำให้เกิดการอักเสบและกระตุ้นการหลั่งไซโตไคน์ต่างๆ จนเกิดการลดลงของการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ นำไปสู่การตายของเซลล์สมองในที่สุด โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมสามารถทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทั้งแบบแอโรบิกและการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเข้าร่วมสังคมบ่อยๆ การควบคุมโรคประจำตัวโดยเฉพาะโรคที่มีความเสี่ยงต่อหลอดเลือด (cardiovascular risks) เช่น ความดันในเลือดสูง ให้อยู่ในระดับปกติ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่ การทำ Cognitive training ซึ่งหมายถึงการฝึกสมองในการแก้ปัญหา ความจำ กระบวนการคิดวิเคราะห์ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ก็พบว่าได้ประโยชน์เช่นกัน และหากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีความผิดปกติในเรื่องของความจำ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่ถ้ามารักษาในระยะเริ่มต้น จะสามารถยืดระยะเวลาและชะลอความเสื่อมของสมองได้มากกว่า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าอัตราความชุกของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักย่อมพบมากขึ้นตามไปด้วย ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มักมาปรึกษาแพทย์ คือ มีอาการหลงลืม โดยเฉพาะความจำใหม่ๆ เรื่องราวใหม่ๆ จะไม่สามารถจำได้ เช่น ลืมของ ลืมกุญแจ ทำของหาย ถามซ้ำ-พูดซ้ำ คิดช้า การตัดสินใจลดลง นึกชื่อคน/สิ่งของไม่ออก แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยยังสามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้ดี ประเด็นที่มักมีปัญหากับครอบครัว คือ ในระยะแรกของโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอาจยังไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความจำที่ผิดปกติ ไม่ยอมรับในอาการเจ็บป่วย/หลงลืมของตนเอง จนในบางครั้งเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว โดยญาติมักจะเป็นผู้สังเกตเห็นความผิดปกติก่อน และเป็นฝ่ายพาผู้ป่วยมาพบแพทย์
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ 2 ชนิด คือโปรตีนอมัยลอยด์ (amyloid) และโปรตีนทาว (tau) ทำให้เกิดการอักเสบและกระตุ้นการหลั่งไซโตไคน์ต่างๆ จนเกิดการลดลงของการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ นำไปสู่การตายของเซลล์สมองในที่สุด โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ
- อายุ ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบมากในคนอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และพบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปี สำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 85 ปี พบความเสี่ยงประมาณ 1 ใน 3
- ประวัติครอบครัว จากการศึกษาพบว่าถ้ามีบิดามารดา หรือพี่น้องสายตรงเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่มีประวัติครอบครัว 3.5 เท่า
- พันธุกรรม การมีพันธุกรรมที่ผิดปกติบางอย่าง เช่น APP, PSEN1, PSEN2 mutation จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น โดยถ้ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมของยีนเหล่านี้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการของโรคตั้งแต่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 60 ปี) นอกจากนี้การมี APOE4 genotype ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
- ประวัติการกระทบกระเทือนที่ศีรษะบ่อยๆเป็นประจำ เช่น นักมวย นักรักบี้ พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เมื่อนักกีฬาเหล่านั้นมีอายุมากขึ้น
- โรคประจำตัว โรคร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน ประวัติการสูบบุหรี่ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมสามารถทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทั้งแบบแอโรบิกและการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเข้าร่วมสังคมบ่อยๆ การควบคุมโรคประจำตัวโดยเฉพาะโรคที่มีความเสี่ยงต่อหลอดเลือด (cardiovascular risks) เช่น ความดันในเลือดสูง ให้อยู่ในระดับปกติ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่ การทำ Cognitive training ซึ่งหมายถึงการฝึกสมองในการแก้ปัญหา ความจำ กระบวนการคิดวิเคราะห์ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ก็พบว่าได้ประโยชน์เช่นกัน และหากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีความผิดปกติในเรื่องของความจำ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่ถ้ามารักษาในระยะเริ่มต้น จะสามารถยืดระยะเวลาและชะลอความเสื่อมของสมองได้มากกว่า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบประสาท
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 25/11/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. ลักษนันท์ ชีวะเกรียงไกร
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบประสาท