โรคภูมิแพ้ที่ตา
โรคภูมิแพ้ที่ตา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา เครื่องสำอาง นอกจากนี้คอนแทคเลนส์ ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นโรคที่ไม่อันตราย เพียงรบกวนการมองเห็น แต่หากขาดการดูแลที่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
โรคภูมิแพ้ที่ตา เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีความไวผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ สารภูมิแพ้มีมากมายหลายชนิด เช่น เกสรดอกไม้ วัชพืช ขนสัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง น้ำหอม ตัวไรฝุ่นในที่นอน เชื้อราในที่อับชื้น เป็นต้น
โรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดที่ตาชั้นนอก เป็นโรคตาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง โดยพบได้ประมาณ 10-20 % ของคนปกติทั่วไป ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ หรือเขตชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคภูมิแพ้ที่ตาเป็นโรคที่ไม่อันตราย เพียงแค่ก่อให้เกิดความรำคาญ แต่ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดความพิการของตาได้
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ควบคู่ไปกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ดี รวมถึงได้รับการติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ จะสามารถลดอัตราการเกิดการแพ้ และการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
สาเหตุ
• พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ จะมีโอกาสเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ได้มากกว่าคนปกติ
• สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้โดยตรง ได้แก่ เกสรดอกไม้ ขนของสัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง ตัวไรฝุ่นที่นอน เป็นต้น
• ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง แต่เป็นปัจจัยเสริมให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ได้แก่ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศที่มีมากเกินไป เป็นต้น
ประเภทของโรคภูมิแพ้ที่ตา
แบ่งตามกลุ่มอาการแพ้ที่แสดงอาการที่ตาชั้นนอก ได้แก่
• เยื่อบุตาขาวอักเสบจากการแพ้ชนิดไม่รุนแรง โรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น โรคลมพิษ โรคหวัดแพ้อากาศ การแพ้อาหาร การแพ้ยา เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง คันตา น้ำตาไหล แสบตา เคืองตา ตาบวมแดง มักเกิดกับตาสองข้างพร้อมๆ กัน ในรายที่เป็นมากมีอาการตาสู้แสงไม่ได้
• โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากคอนแทคเลนส์ (Giant Papillary Conjunctivitis) เป็นอาการแพ้ที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน พบได้มากถึงร้อยละ 40 ของผู้ใช้คอนแทคเลนส์มานานกว่า 5 ปี โดยผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายตาเมื่อสวมใส่คอนแทคเลนส์ พบตุ่มนูนแดงเป็นเม็ดเล็กๆ จำนวนมากที่เยื่อบุตาด้านบน มีอาการแสบตา และระคายตาอยู่ตลอดเวลา
• อะโทปิค เคอระโทค็อนจังคทิไวทิส (Atopic Keratoconjunctivitis) เป็นลักษณะอาการภูมิแพ้ที่ตาที่มีอาการทางผิวหนังร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และมักพบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง คันตามาก เปลือกตาหนา มักพบการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
• เวอนัล เคอระโทค็อนจังคทีไวทิส (Vernal Keratoconjunctivitis) สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มักเกิดในช่วงอายุ 11-20 ปี และมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อย่างอื่นร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการคันตาและแสบตามาก เยื่อบุหนังตาอักเสบนูนแดงเป็นตุ่มใหญ่รูปหกเหลี่ยมเรียงกันคล้ายกระเบื้อง อาจพบกระจกตาเป็นแผลฝ้าขาว ซึ่งทำให้สายตามัวลง
การรักษาการเกิดภูมิแพ้ที่ตา
• หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือสารกระตุ้นที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น
• บรรเทาอาการแพ้ด้วยการใช้ความเย็น เมื่อเกิดอาการแพ้ ตาบวม คันตา ควรใช้น้ำสะอาด น้ำตาเทียม หรือน้ำเกลือล้างตาเพื่อล้างเอาสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ออก และประคบด้วยความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการระคายเคืองตาให้ดีขึ้น
• การรักษาโดยการใช้ยา ควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตรงกับอาการของโรคและมีความปลอดภัยในการใช้ยา
- ใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน ควรใช้ในกรณีที่มีอาการแพ้มาก หรือเสริมประสิทธิภาพการรักษากับยาหยอดตาแก้แพ้
- การใช้ยาหยอดตาในการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตาเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากให้ผลในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นยาใช้เฉพาะที่ ทำให้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยกว่ายาชนิดรับประทาน
ยาหยอดตาในการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตามีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ยาหยอดตาต้านอีสตามีนผสมยาหดเส้นเลือด ช่วยลดอาการคันที่เกิดจากสารฮีสตามีน และลดอาการบวมแดงที่ตา ผลที่ได้จะเกิดค่อนข้างเร็ว โดยทั่วไปใช้หยอดตาครั้งละ 1 - 2 หยด วันละ 3 - 4 ครั้ง
ยาหยอดตากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ให้ผลในการรักษาได้ดี แต่มีข้อควรระวังในการใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกช้อนของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคภูมิแพ้ที่ตา เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีความไวผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ สารภูมิแพ้มีมากมายหลายชนิด เช่น เกสรดอกไม้ วัชพืช ขนสัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง น้ำหอม ตัวไรฝุ่นในที่นอน เชื้อราในที่อับชื้น เป็นต้น
โรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดที่ตาชั้นนอก เป็นโรคตาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง โดยพบได้ประมาณ 10-20 % ของคนปกติทั่วไป ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ หรือเขตชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคภูมิแพ้ที่ตาเป็นโรคที่ไม่อันตราย เพียงแค่ก่อให้เกิดความรำคาญ แต่ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดความพิการของตาได้
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ควบคู่ไปกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ดี รวมถึงได้รับการติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ จะสามารถลดอัตราการเกิดการแพ้ และการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
สาเหตุ
• พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ จะมีโอกาสเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ได้มากกว่าคนปกติ
• สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้โดยตรง ได้แก่ เกสรดอกไม้ ขนของสัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง ตัวไรฝุ่นที่นอน เป็นต้น
• ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง แต่เป็นปัจจัยเสริมให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ได้แก่ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศที่มีมากเกินไป เป็นต้น
ประเภทของโรคภูมิแพ้ที่ตา
แบ่งตามกลุ่มอาการแพ้ที่แสดงอาการที่ตาชั้นนอก ได้แก่
• เยื่อบุตาขาวอักเสบจากการแพ้ชนิดไม่รุนแรง โรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น โรคลมพิษ โรคหวัดแพ้อากาศ การแพ้อาหาร การแพ้ยา เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง คันตา น้ำตาไหล แสบตา เคืองตา ตาบวมแดง มักเกิดกับตาสองข้างพร้อมๆ กัน ในรายที่เป็นมากมีอาการตาสู้แสงไม่ได้
• โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากคอนแทคเลนส์ (Giant Papillary Conjunctivitis) เป็นอาการแพ้ที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน พบได้มากถึงร้อยละ 40 ของผู้ใช้คอนแทคเลนส์มานานกว่า 5 ปี โดยผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายตาเมื่อสวมใส่คอนแทคเลนส์ พบตุ่มนูนแดงเป็นเม็ดเล็กๆ จำนวนมากที่เยื่อบุตาด้านบน มีอาการแสบตา และระคายตาอยู่ตลอดเวลา
• อะโทปิค เคอระโทค็อนจังคทิไวทิส (Atopic Keratoconjunctivitis) เป็นลักษณะอาการภูมิแพ้ที่ตาที่มีอาการทางผิวหนังร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และมักพบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง คันตามาก เปลือกตาหนา มักพบการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
• เวอนัล เคอระโทค็อนจังคทีไวทิส (Vernal Keratoconjunctivitis) สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มักเกิดในช่วงอายุ 11-20 ปี และมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อย่างอื่นร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการคันตาและแสบตามาก เยื่อบุหนังตาอักเสบนูนแดงเป็นตุ่มใหญ่รูปหกเหลี่ยมเรียงกันคล้ายกระเบื้อง อาจพบกระจกตาเป็นแผลฝ้าขาว ซึ่งทำให้สายตามัวลง
การรักษาการเกิดภูมิแพ้ที่ตา
• หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือสารกระตุ้นที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น
• บรรเทาอาการแพ้ด้วยการใช้ความเย็น เมื่อเกิดอาการแพ้ ตาบวม คันตา ควรใช้น้ำสะอาด น้ำตาเทียม หรือน้ำเกลือล้างตาเพื่อล้างเอาสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ออก และประคบด้วยความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการระคายเคืองตาให้ดีขึ้น
• การรักษาโดยการใช้ยา ควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตรงกับอาการของโรคและมีความปลอดภัยในการใช้ยา
- ใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน ควรใช้ในกรณีที่มีอาการแพ้มาก หรือเสริมประสิทธิภาพการรักษากับยาหยอดตาแก้แพ้
- การใช้ยาหยอดตาในการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตาเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากให้ผลในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นยาใช้เฉพาะที่ ทำให้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยกว่ายาชนิดรับประทาน
ยาหยอดตาในการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตามีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ยาหยอดตาต้านอีสตามีนผสมยาหดเส้นเลือด ช่วยลดอาการคันที่เกิดจากสารฮีสตามีน และลดอาการบวมแดงที่ตา ผลที่ได้จะเกิดค่อนข้างเร็ว โดยทั่วไปใช้หยอดตาครั้งละ 1 - 2 หยด วันละ 3 - 4 ครั้ง
ยาหยอดตากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ให้ผลในการรักษาได้ดี แต่มีข้อควรระวังในการใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกช้อนของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคตา
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 23/12/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. ชญาณี อิงคากุล
ความถนัดเฉพาะทาง
จักษุแพทย์ทางด้านต้อหิน