รู้เท่าทันหูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน (Acute otitis externa หรือ swimmer’s ear) เป็นโรคที่พบบ่อยในทุกช่วงวัย เป็นการอักเสบบริเวณช่องรูหู มักเกิดภายหลังการแคะหู ปั่นหู หรือมีประวัติน้ำเข้าหูแล้วพยายามเช็ดหู โดยเฉพาะหลังการว่ายน้ำ
อาการที่พบบ่อย
• ปวดหู
• ช่องรูหูบวม
• กดเจ็บหน้าใบหู หรือเจ็บเมื่อขยับใบหู
• คัน ระคายเคืองในช่องรูหู
• มีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองมีกลิ่นเหม็นภายในรูหู
• หูอื้อ การได้ยินลดลง
• อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณหน้าหูหรือหลังหูโตได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
• การทำความสะอาดรูหูหรือแคะหูบ่อยเกินไป ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือรอยถลอก และติดเชื้อตามมา
• การว่ายน้ำหรืออาบน้ำ ทำให้ขี้หูถูกละลายออกไป เกิดภาวะเป็นด่างในรูหู ส่งผลให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดี
• การใส่หูฟังไม่สะอาด หรือใส่หูฟังเป็นระยะเวลานานๆ
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการตรวจในช่องหูด้วยอุปกรณ์ตรวจหู (Otoscope) พบช่องรูหูบวม แดง มีน้ำเหลือง/หนองในช่องหู หรือพบผิวในช่องรูหูลอกเป็นขุย
การรักษา
• แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา
• หากช่องรูหูบวมมาก แพทย์จะใส่สำลีชุบยาหยอดหูไว้ในช่องหูร่วมกับใช้ยาหยอดหู เพื่อให้ยาซึมเข้าไปในช่องหูได้ดีขึ้น และนัดเปลี่ยนสำลีทุก 2-3วัน จนกว่าช่องรูหูจะยุบบวม
• รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น dicloxacillin เพื่อครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus หรือ ciprofloxacin เพื่อครอบคลุมเชื้อ Pseudomonas aeruginosa โดยจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 7-14 วัน
• หยอดยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง
• ถ้าปวดมากหรือมีไข้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
การป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการแคะหู ปั่นหูด้วยการใช้นิ้วมือหรือวัตถุใดๆ สามารถเช็ดทำความสะอาดใบหูภายนอกได้ หรือใช้ผ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดเบาๆ รอบรูหู
• ใช้วัสดุอุดหู (ear plug) ขณะว่ายน้ำหรืออาบน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าหู
• รักษาหูให้แห้งอยู่เสมอ
• หลีกเลี่ยงการซื้อยามาหยอดหูเอง หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
อาการที่พบบ่อย
• ปวดหู
• ช่องรูหูบวม
• กดเจ็บหน้าใบหู หรือเจ็บเมื่อขยับใบหู
• คัน ระคายเคืองในช่องรูหู
• มีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองมีกลิ่นเหม็นภายในรูหู
• หูอื้อ การได้ยินลดลง
• อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณหน้าหูหรือหลังหูโตได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
• การทำความสะอาดรูหูหรือแคะหูบ่อยเกินไป ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือรอยถลอก และติดเชื้อตามมา
• การว่ายน้ำหรืออาบน้ำ ทำให้ขี้หูถูกละลายออกไป เกิดภาวะเป็นด่างในรูหู ส่งผลให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดี
• การใส่หูฟังไม่สะอาด หรือใส่หูฟังเป็นระยะเวลานานๆ
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการตรวจในช่องหูด้วยอุปกรณ์ตรวจหู (Otoscope) พบช่องรูหูบวม แดง มีน้ำเหลือง/หนองในช่องหู หรือพบผิวในช่องรูหูลอกเป็นขุย
การรักษา
• แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา
• หากช่องรูหูบวมมาก แพทย์จะใส่สำลีชุบยาหยอดหูไว้ในช่องหูร่วมกับใช้ยาหยอดหู เพื่อให้ยาซึมเข้าไปในช่องหูได้ดีขึ้น และนัดเปลี่ยนสำลีทุก 2-3วัน จนกว่าช่องรูหูจะยุบบวม
• รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น dicloxacillin เพื่อครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus หรือ ciprofloxacin เพื่อครอบคลุมเชื้อ Pseudomonas aeruginosa โดยจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 7-14 วัน
• หยอดยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง
• ถ้าปวดมากหรือมีไข้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
การป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการแคะหู ปั่นหูด้วยการใช้นิ้วมือหรือวัตถุใดๆ สามารถเช็ดทำความสะอาดใบหูภายนอกได้ หรือใช้ผ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดเบาๆ รอบรูหู
• ใช้วัสดุอุดหู (ear plug) ขณะว่ายน้ำหรืออาบน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าหู
• รักษาหูให้แห้งอยู่เสมอ
• หลีกเลี่ยงการซื้อยามาหยอดหูเอง หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหู คอ จมูก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 06/02/2025
แพทย์ผู้เขียน
พญ. เกล็ดดาว ภัทรภิญโญ

ความถนัดเฉพาะทาง
โสต-ศอ-นาสิกแพทย์